ข้ามไปเนื้อหา

ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟ

พิกัด: 54°36′29″N 5°54′03″W / 54.6080°N 5.9008°W / 54.6080; -5.9008
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์)
บริษัท ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟกรุปโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน)
Harland & Wolff Group Holdings plc
ประเภทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
LSEHARL
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง
ผู้ก่อตั้งเซอร์ เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์,
กุสตาฟ วิลเฮล์ม โวล์ฟ
สำนักงานใหญ่ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
บุคลากรหลักจอห์น วูด (CEO),
อารูน รามัน (CFO)
พนักงาน
800 (2023)
เว็บไซต์www.harland-wolff.com
รูปปั้นของเซอร์เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์ (Sir Edward James Harland) ในบริเวณศาลาว่าการเมืองเบลฟาสต์

ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟ (อังกฤษ: Harland & Wolff) เป็นบริษัทต่อเรือและการผลิตของอังกฤษ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอน โดยมีที่ตั้งในเบลฟาสต์, อาร์นิช, แอปเปิลดอร์ และเมทิล บริษัทนี้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมและการต่อเรือ และการก่อสร้างนอกชายฝั่ง มีชื่อเสียงจากการสร้างเรือเดินสมุทรส่วนใหญ่ให้กับสายกานเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ รวมถึงเรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิก ซึ่งประกอบด้วยเรืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic), อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) และเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) [1] ประวัติอย่างเป็นทางการของฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟอยู่ในหนังสือชื่อ "Shipbuilders to the World" ตีพิมพ์ในปี 1986[2]

ปัจจุบัน บริษัทให้ความสำคัญกับการสนับสนุน 6 ภาคส่วน ได้แก่ กลาโหม พลังงาน เรือสำราญ เรือข้ามฟาก พลังงานทดแทน และการพาณิชย์ รวมถึงให้บริการด้านเทคนิค การแปรรูปและการก่อสร้าง การซ่อมแซมและบำรุงรักษา การสนับสนุนระหว่างบริการ การแปลงสภาพและการรื้อถอน

ช่วงต้น

[แก้]
คนงานออกจากอู่ต่อเรือที่ถนนควีนส์เมื่อต้นปี 1911 โดยมีอาร์เอ็มเอส ไททานิก อยู่ข้างหลัง

ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟก่อตั้งขึ้นในปี 1861 โดยเซอร์เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์ (Sir Edward James Harland; 1831–1895) และกุสตาฟ วิลเฮล์ม โวล์ฟ (Gustav Wilhelm Wolff; 1834–1913) เกิดในฮัมบูร์ก เยอรมัน และเดินทางมายังสหราชอาณาจักรเมื่ออายุ 14 ปี ในปี 1858 ฮาร์แลนด์ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้จัดการทั่วไป ได้ซื้ออู่ต่อเรือเล็ก ๆ บนเกาะควีนส์จากโรเบิร์ต ฮิกสัน (Robert Hickson) นายจ้างของเขา

ห้องเขียนแบบของฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟในเบลฟาสต์ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

หลังจากซื้ออู่ต่อเรือจากฮิกสันแล้ว ฮาร์แลนด์ได้แต่งตั้งให้โวล์ฟผู้ช่วยของเขาเป็นหุ้นส่วนในบริษัท โวล์ฟเป็นหลานชายของกุสตาฟ ชวาบ (Gustav Schwabe) ซึ่งลงทุนมหาศาลในสายการเดินเรือบิ๊บบี้ (Bibby Line) และเรือสามลำแรกของสายการเดินเรือถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือนี้ ฮาร์แลนด์ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วยนวัตกรรมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนวัสดุตัวเรือส่วนบนที่ทำจากไม้มาเป็นเหล็กซึ่งเพิ่มความแข็งแกร่งของเรือ และทำให้ตัวเรือมีส่วนล่างที่เรียบขึ้นและมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งสามารถเพิ่มความจุของเรือให้มากขึ้น

เมื่อฮาร์แลนด์ถึงแก่กรรมในปี 1895 วิลเลียม เจมส์ เพียร์รี (William James Pirrie)ได้กลายเป็นประธานบริษัทจนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี 1924 ทอมัส แอนดรูส์ (Thomas Andrews) ได้เป็นผู้จัดการทั่วไปและหัวหน้าแผนกเขียนแบบในปี 1907 ในช่วงเวลานี้เองที่บริษัทได้สร้างเรืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก และอีกสองลำในชั้นเดียวกันคือไททานิก และบริแทนนิก ระหว่างปี 1909 ถึง 1914 และได้มอบหมายให้บริษัทเซอร์ วิลเลียม อาร์รอล จำกัด (Sir William Arrol & Co.) สร้างทางเลื่อนคู่ขนาดใหญ่และโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่สำหรับการสร้างเรือในโครงการนี้

ในปี 1912 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในไอร์แลนด์ บริษัทได้ซื้ออู่ต่อเรืออีกแห่งที่โกแวน ในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งได้ซื้ออู่ต่อเรือใหม่ของมิดเดิลตันแอนด์โกแวน (Middleton and Govan) ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหม่ของ London & Glasgow Engineering & Iron Shipbuilding Co. ในโกแวน และโกแวนโอลด์ยาร์ด ของแมกกีแอนด์ทอมสัน (Mackie & Thomson) ซึ่งเคยเป็นของวิลเลียม เบียร์ดมอร์ แอนด์ คอมปานี (William Beardmore and Company) มาก่อน อู่ต่อเรือทั้ง 3 แห่ง ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันและพัฒนาใหม่เพื่อให้มีท่าเทียบเรือทั้งหมด 7 แห่ง, อู่แห้งสำหรับตกแต่งเรือ และโรงงานที่กว้างขวาง อู่ต่อเรือเอ. แอนด์ เจ. อิงกลิส (A. & J. Inglis) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงก็ถูกซื้อโดยฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ในปี 1919 พร้อมกับถือหุ้นในเดวิด โคลวิลล์ แอนด์ ซันส์ (David Colville & Sons) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของบริษัท ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟยังได้ก่อตั้งอู่ต่อเรือที่บูเทิล ในลิเวอร์พูล,[3] นอร์ทวูลวิช ในลอนดอน[4] และเซาแทมป์ตัน[5] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 อู่ต่อเรือเหล่านี้ก็ถูกปิดตัวทั้งหมด เมื่อบริษัทเลือกที่จะรวมการดำเนินงานในเบลฟาสต์

ช่วงสงคราม

[แก้]
คนงานทำงานตอนกลางคืน บนดาดฟ้าเรือที่ลานต่อเรือในลิเวอร์พูล ของฮาร์แลนด์แอนด์ลูวฟฟฺ (27 ตุลาคม 1944)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟได้สร้างเรือรบขนาดเล็กชั้นอเบอร์ครอมบี (Abercrombie-class monitors) และเรือลาดตระเวน รวมถึงเรือลาดตระเวนเบาขนาดใหญ่ เอชเอ็มเอส กลอเรียส (HMS Glorious)

ในปี 1918 บริษัทได้เปิดอู่ต่อเรือแห่งใหม่บนฝั่งตะวันออกของช่องแคบมัสเกรฟ ซึ่งมีชื่อว่า "ลานตะวันออก" (East Yard) ลานนี้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเรือจำนวนมากที่มีการออกแบบมาตรฐานซึ่งพัฒนาขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 1

ในช่วงทศวรรษที่ 1920 คนงานคาทอลิกถูกไล่ออกจากงานในอู่ต่อเรือเป็นประจำ[6][7]

ในปี 1936 บริษัทได้ก่อตั้งบริษัทสาขาการผลิตเครื่องบินร่วมกับชอร์ต บราเธอร์ส (Short Brothers) ชื่อว่า ชอร์ตแอนด์ฮาร์แลนด์ จำกัด (Short & Harland Limited) คำสั่งซื้อครั้งแรกคือ เครื่องบินทิ้งระเบิดแฮนลีย์ เพจ เฮียร์ฟอร์ด (Handley Page Hereford) จำนวน 189 ลำ ที่สร้างขึ้นภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัทแฮนด์ลีย์ เพจ (Handley Page) สำหรับกองทัพอากาศสหรสชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานแห่งนี้ได้สร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดชอร์ตสเตอร์ลิง (Short Stirling bombers) เมื่อเฮียร์ฟอร์ดถูกปลดประจำการ

อู่ต่อเรือวุ่นวายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสร้างเรือบรรทุกอากาศยาน 6 ลำ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือเดินทะเล 131 ลำ และซ่อมแซมเรือกว่า 22,000 ลำ นอกจากนี้ยังผลิตชิ้นส่วนรถถัง และปืนใหญ่ อีกด้วย ในช่วงเวลานี้เองที่พนักงานของบริษัทมียอดสูงสุดที่ประมาณ 35,000 คน อย่างไรก็ตาม เรือจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ได้รับการว่าจ้างทันทีเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากฮาร์แลนด์แอนด์โวล์ฟมุ่งเน้นไปที่การซ่อมแซมเรือในช่วง 3 ปีแรกของสงคราม ลานต่อเรือบนเกาะควีนส์ถูกกองทัพอากาศเยอรมันทิ้งระเบิดอย่างหนักในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 1941 ระหว่างเบลฟาสต์บลิทซ์ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการต่อเรือและทำลายโรงงานผลิตเครื่องบิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Titanic – Home". nmni.com. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2018.
  2. Moss, M; Hume, J.R. (1986). Shipbuilders to the World: 125 years of Harland and Wolff, Belfast 1861–1986. Belfast: Blackstaff Press. pp. xvii, 601 p. ISBN 0-85640-343-1.
  3. Weston, Alan (18 กุมภาพันธ์ 2013). "Former Liverpool head office of Titanic builders Harland & Wolff to be demolished". liverpoolecho.
  4. "Britain From Above – The Harland and Wolff Ltd Works at Gallions Point, North Woolwich, 1947". britainfromabove.org.uk.
  5. "Britain From Above – Harland & Wolff Ltd Shipbuilding and Engineering Works and the docks, Southampton, 1947". britainfromabove.org.uk.
  6. "Sectarianism and the shipyard". The Irish Times.
  7. "BELFAST RIOTS. (Hansard, 31 July 1912)". api.parliament.uk.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

54°36′29″N 5°54′03″W / 54.6080°N 5.9008°W / 54.6080; -5.9008