ข้ามไปเนื้อหา

อูร์รากาแห่งกัสติยา สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูร์รากา
พระราชินีคู่สมรสแห่งโปรตุเกส
ครองราชย์26 มีนาคม ค.ศ. 1212 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1220
สิ้นพระชนม์3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1220
ฝังพระศพอารามอัลกูบาซา
พระสวามีพระเจ้าอาฟงซูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
พระบุตรพระเจ้าซังูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
พระเจ้าอาฟงซูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
ลียูโนร์แห่งโปรตุเกส สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ฟือนังดู ลอร์ดแห่งแซร์ปา
ราชวงศ์บูร์กอญของกัสติยา
พระบิดาพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา
พระมารดาเอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งกัสติยา

อูร์รากาแห่งกัสติยา (สเปน: Urraca de Castilla) เป็นพระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา[1] กับเอเลนอร์แห่งอังกฤษ[2] มีพระอัยกาและพระอัยกีทางฝั่งมารดาคือพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษและอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน

ประวัติ

[แก้]

อูร์รากาเสด็จพระราชสมภพเมื่อ ค.ศ. 1186 หรือไม่ก็ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1187 เดิมถูกหมายตาให้เป็นเจ้าสาวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส แต่เอเลนอร์ไม่โปรดชื่อของพระองค์ (อูร์รากาในภาษากัสติยาแปลว่านกสาลิกาปากดำ) และโปรดชื่อของบลังกา (พระขนิษฐาของอูร์รากา) มากกว่า[3]

ในปี ค.ศ. 1206 อูร์รากาอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอาฟงซูที่ 2 แห่งโปรตุเกส ซึ่งมีพระชนมายุ 21 พรรษา[4][5] และขณะนั้นเป็น "อิงฟังตึ" หรือทายาทในบัลลังก์

ในปี ค.ศ. 1212 พระสวามีของพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์และพระองค์กลายเป็นพระราชินี พระเจ้าอาฟงซูที่ 2 ระบุไว้ในพินัยกรรมของพระองค์ในปี ค.ศ. 1214 ให้อูร์รากาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของทายาทของพระองค์ หากพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนพระราชินี ทว่าอูร์รากาสิ้นพระชนม์ก่อนพระองค์ตั้งแต่ยังสาวในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1220[6] พระศพของอูร์รากาถูกฝังที่อารามอัลกูบาซา

ทายาท

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gonzalo Martínez Diez, Alfonso VIII, rey de Castilla y Toledo (1158-1214)
  2. Chronica Albrici Monachi Trium Fontium
  3. Seward, Desmond (1978). Eleanor of Aquitaine: The Mother Queen. New York: Dorset Press. p. 233. ISBN 0-88029-055-2.
  4. H. Salvador Martínez, Alfonso X, the Learned: A Biography, page 29
  5. Roderici Toletani Archiepiscopi De Rebus Hispaniæ
  6. Shadis, Miriam (2010). Berenguela of Castile (1180–1246) and Political Women in the High Middle Ages. Palgrave Macmillan. p. 4. ISBN 978-0-312-23473-7.