ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรต้าหลี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรต้าหลี่

大理國
Dablit Guaif
แผนที่อาณาจักรต้าหลี่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12
แผนที่อาณาจักรต้าหลี่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12
สถานะรัฐบรรณาการของราชวงศ์ซ่ง (982–1253)
เมืองหลวงYangjumie (ปัจจุบันคือต้าหลี่ มณฑลยูนนาน)
ภาษาทั่วไปเขียนด้วยภาษาจีนคลาสสิก
ภาษาไป๋
ศาสนา
พุทธ
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 937–944
ต้วน ซือผิง
• 1081–1094
ต้วน เจิ้งหมิง
• 1096–1108
ต้วน เจิ้งฉุน
• 1172–1200
ต้วน จื้อซิง
• 1251–1254
ต้วน ซิงจื้อ
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
937
1094
• สถาปนาใหม่
1096
• ถูกจักรวรรดิมองโกลเข้าพิชิต
1253
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรต้าอี้หนิง
ต้าจง
ต้าจง
จักรวรรดิมองโกล
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
ลาว
พม่า
อาณาจักรต้าหลี่
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม大理
อักษรจีนตัวย่อ大理
ความหมายตามตัวอักษรรัฐต้าหลี่
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม後大理
後理國
อักษรจีนตัวย่อ后大理
后理国
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือVương quốc Đại Lý
ฮ้าน-โนม王國大理
ชื่อภาษาไป๋
ภาษาไป๋Dablit Guaif

อาณาจักรต้าหลี่ หรือ รัฐต้าหลี่ (จีนตัวย่อ: 大理国; จีนตัวเต็ม: 大理國; พินอิน: Dàlǐ Guó; ไป๋: Dablit Guaif) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่ ค.ศ. 937 จนถึง 1253 โดยอาณาจักรนี้ถูกมองโกลเข้าพิชิตในปี 1253 และสมาชิกของราชวงศ์ในอดีตยังปกครองพื้นที่ในฐานะถู่ซือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์หยวน จนกระทั่งการพิชิตมณฑลยูนนานของราชวงศ์หมิงใน ค.ศ. 1382[1]

ชื่อ

[แก้]

อาณาจักรต้าหลี่นำชื่อมาจากนครต้าหลี่ที่มีชื่อเสียงจากหินอ่อนคุณภาพสูง คำว่าต้าหลี่ (dàlǐ 大理) ในภาษาจีนหลายถึง "หินอ่อน"[2]

ประวัติ

[แก้]
รูปปั้นครุฑ เนื้อเงินปิดทอง ฝังด้วยลูกปัดคริสตัล พบที่ฉงเชิ่งซี่ซานถ่า จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนาน

ต้นกำเนิด

[แก้]

อาณาจักรน่านเจ้าถูกโค่นล้มใน ค.ศ. 902 จากนั้นมีสามราชวงศ์เข้ามาปกครองอย่างรวดเร็จ จนกระทั่งต้วน ซือผิงยึดครองอำนาจ แล้วสถาปนาตนเองที่ต้าหลี่ใน ค.ศ. 937[3] ตระกูลต้วนอ้างว่าตนมีเชื้อสายฮั่น[4] บันทึกราชวงศ์หยวนระบุว่าตระกูลต้วนมาจากอู่เวย์ที่มณฑลกานซู่:

บันทึกราชวงศ์หยวนอ้างว่าผู้นำต้วนของอาณาจักรต้าหลี่เดิมมาจากอู่เวย์จฺวิ้นในมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน แต่ข้อมูลนี้ไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลของราชวงศ์ซ่งหรือต้าหลี่ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากน่านเจ้าปรากฏชัดเจนในแนวปฏิบัติในการตั้งชื่อของผู้ปกครองต้าหลี่ ซึ่งโดยทั่วไปไม่เป็นไปตามระบบการเชื่อมโยงชื่อสกุลของบิดา สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าชนชั้นสูงต้าหลี่แสดงตนว่าเป็น "คนจีน" มากกว่าน่านเจ้า[5]

— Megan Bryson

ความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่ง

[แก้]

อาณาจักรต้าจง (1094-1096)

[แก้]

การแทรกแซงในดั่ยเหวียต

[แก้]

ล่มสลาย

[แก้]

มณฑลยูนนานในราชวงศ์หยวน

[แก้]

การพิชิตมณฑลยูนนานโดยราชวงศ์หมิง

[แก้]

รัฐบาล

[แก้]

เนื่องจากอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชสำนักจีนที่มีอยู่ตั้งแต่สมัยแรก[6] ชนชั้นสูงต้าหลี่จึงใช้อักษรจีนที่เสริมด้วยอักษรไป๋ ซึ่งสร้างขึ้นเองโดยใช้อักษรจีน[7] ราชสำนักต้าหลี่มอบที่ดินศักดินาเชิงพันธุกรรมให้กับหัวหน้าตระกูลที่มีมาก่อน โดยเฉพาะตระกูลต้วน เกา หยาง และตง เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน หน่วยบริหารบางแห่งถูกกำหนดให้เป็นเขตทหารกึ่งปกครองตนเอง กองทัพต้าหลี่ประกอบด้วยกองทัพประจำการ ทหารชาวนาชาวเมือง และกองกำลังอาสาสมัครของชนพื้นเมือง เช่นเดียวกับกองทัพน่านเจ้า[8]

ภาษาและเชื้อชาติ

[แก้]
เอกสาตัวเขียนของชาวไป๋ที่เขียนด้วยภาษาจีนคลาสสิก.

แหล่งข้อมูลที่มีอยู่จากน่านเจ้าและอาณาจักรต้าหลี่แสดงให้เห็นว่าชนชั้นสูงใช้อักษรจีน[9] ข้อมูลต้าหลี่ส่วนใหญ่เขียนในภาษาจีนคลาสสิก[10] อย่างไรก็ตาม ชนชั้นนำก็ใช้ภาษาไป๋ในการสื่อสาร แต่ไม่มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานหรือเผยแพร่อักษรนี้ และยังคงเป็นระบบการเขียนอย่างไม่เป็นทางการ[11]

ปัจจุบัน ชาวไป๋ส่วนใหญ่สืบบรรพบุรุษถึงน่านเจ้าและอาณาจักรต้าหลี่ แต่บันทึกจากอาณาจักรเหล่านั้นไม่ได้กล่าวถึงชาวไป๋ อ้างอิงแรกสุดที่กล่าวถึง "ชาวไป๋" หรือ "Bo" มาจากราชวงศ์หยวน โดยในสมัยราชวงศ์หมิง ชาวไป๋เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ "Minjia" (พลเมือง) และมีการกล่าวถึงการใช้อักษรจีนสำหรับภาษาไป๋[12]

Stevan Harrell รายงานว่า ในขณะที่อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติของชนชั้นนำในน่านเจ้ายังคงเป็นที่พิพาท ตระกูลหยางและต้วนที่ปรากฏในยุคหลังเป็นชาวไป๋อย่างแน่นอน[13]

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาพุทธในแบบลัทธิอาจาลี่ปรากฏในมณฑลยูนนานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งน่านเจ้าจัดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำรัฐ และกษัตริย์ต้าหลี่หลายพระองค์ยังคงสืบทอดธรรมเนียมนี้ต่อไป กษัตริย์ต้าหลี่ 10 พระองค์จากทั้ง 22 พระองค์สละราชสมบัติอุปสมบทเป็นพระสงฆ์[14]

พระราชพงศาวลี

[แก้]
พระราชพงศาวลีจักรพรรดิต้าหลี่
ต้วน เป่าหลง
段寶龍
ต้วน ซือผิง 段思平
พระราชสมภพ ประมาณ ค.ศ. 894 – สวรรคต ประมาณ ค.ศ. 944
Taizu 太祖 ครองราชย์ ค.ศ. 937–9441
ต้วน ซือโจ้ว 段思胄 (สวรรคต ค.ศ. 951)
Taizong 太宗 (ครองราชย์ ค.ศ. 945–951)3
ต้วน ซืออิง 段思英
Wénjīng huángdì 文經皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 944–9452
ต้วน ซือชง 段思聰 สวรรคต ค.ศ. 968
Zhìdàoguǎngcí huángdì
至道廣慈皇帝 ครองราชย์ ค.ศ. 952–9684
ต้วน ซู่ซุ่น 段素順 สวรรคต ค.ศ. 985
Yīngdào huángdì 應道皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 968–9855
ต้วน จื้อซือ 段智思ต้วน ซู่อิง 段素英
Zhāomíng huángdì 昭明皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 985–10096
ต้วน ซือเหลียน 段思廉
Xìngzōng 興宗
ครองราชย์ ค.ศ. 1044–107511
ต้วน ซู่เหลียน 段素廉 สวรรคต ค.ศ.1022
Xuānsù huángdì 宣肅皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1009–10227
ต้วน เหลียนอี้ 段廉義 สวรรคต ค.ศ. 1080
Xìngzōng 興宗
ครองราชย์ ค.ศ. 1075–108012
ต้วน ซู่เจิน 段素真
Shèngdé huángdì 聖德皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1026–10419
ต้วน ซู่หลง 段素隆
Bǐngyì huángdì 秉義皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1022–10268
ต้วน โซ่วฮุย 段壽輝
Shàngmíng huángdì
上明皇帝 ครองราชย์ ค.ศ. 1080–108113
ต้วน เจิ้งหมิง 段正明
Bǎodìng huángdì 保定皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1081–109414
ต้วน เจิ้งฉุน 段正淳
Zhongzong 中宗
ครองราชย์ ค.ศ. 1096–110815
ต้วน เหออวี้ 段和譽
Xianzong 憲宗
ครองราชย์ ค.ศ. 1108–114716
ต้วน ซู่ซิง 段素興
Tiānmíng huángdì 天明皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1041–104410
ต้วน เจิ้งซิง 段正興
ครองราชย์ ค.ศ. 1147–117117
ต้วน จื้อซิง 段智興
Xuanzong 宣宗
ครองราชย์ ค.ศ. 1171–120018
ต้วน จื้อเสียง 段智祥
ครองราชย์ ค.ศ. 1204–123820
ต้วน จื้อเหลียน 段智廉
ครองราชย์ ค.ศ. 1200–120419
ต้วน เสียงซิง 段祥興
Xiàoyì huángdì 孝義皇帝
ครองราชย์ ค.ศ. 1238–125121
ต้วน ซิงจื้อ 段興智
ครองราชย์ ค.ศ. 1251–1254;
1257–126022

อ้างอิง

[แก้]
  1. Theobald, Ulrich (17 August 2012), "Dali 大理", China Knowledge.
  2. West 2009, p. 79.
  3. Yang 2008a.
  4. Frederick W. Mote (2003). Imperial China 900-1800. Harvard University Press. pp. 710–. ISBN 978-0-674-01212-7.
  5. Bryson 2016, p. 41.
  6. Heirman, Ann; Meinert, Carmen; Anderl, Christoph (2018). Buddhist Encounters and Identities Across East Asia. BRILL. p. 105. ISBN 978-9004366152.
  7. Craig Alan Volker; Fred E. Anderson (2015). Education in Languages of Lesser Power: Asia-Pacific Perspectives. John Benjamins Publishing Company. pp. 54–55. ISBN 978-9027269584.
  8. Anderson, James A.; Whitmore, John K. (2014). China's Encounters on the South and Southwest: Reforging the Fiery Frontier Over Two Millennia. BRILL. pp. 109–110. ISBN 978-9004282483.
  9. Bryson 2013, p. 7.
  10. Bryson 2016, p. 40-41.
  11. Wang 2004, p. 280.
  12. Bryson 2013, p. 6-7.
  13. Harrell 1995, p. 87.
  14. "Nanzhao State and Dali State". City of Dali. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-03.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Dali Kingdom

แม่แบบ:5d10k