ออบซิเดียนเอนเตอร์เทนเมนต์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Obsidian Entertainment เป็น video game developer สัญชาติอเมริกา ซึ่งมีบริษัทหลักตั้งอยู่ที่ Irvine, California ก่อตั้งเมื่อปี 2003 โดยอดีตพนักงานของ Black Isle Studios ประกอบไปด้วย Feargus Urquhart, Chris Avellone, Chris Parker, Darren Monahan และ Chris Jones หลังจากการปิดตัวของ Black Isle Studios
ถึงแม้ว่า Obsidian Entertainment จะมีการสร้างเกมที่จดสิทธิบัตรด้วยตัวเองบ้าง แต่ว่าหลายๆเกมของบริษัทนั้นก็ได้สร้างโดยใช้ลิขสิทธิ์จากหลายๆสื่อ. อย่างเกมแรกๆที่พวกเขาสร้างเช่น Star Wars: Knights of the Old Republic II: The Sith Lords และ Neverwinter Nights 2, ที่เป็นเกมภาคต่อโดยเป็นลิขสิทธิ์ของ BioWare ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
โดยทางบริษัทได้ทำการสร้างเกมที่เป็นสิทธิ์บัตรของพวกเขาเองจริงๆเกมแรกคือ Alpha Protocol ในปี 2010 ซึ่งก็ได้คะแนนเสียงตอบรับในแบบทั้งด้านบวกและด้านลบรวมๆกัน. เกมอื่นๆที่ทำให้ Obsidian Entertainment เป็นที่รู้จักก็ได้แก่ Fallout: New Vegas, Dungeon Siege III และ South Park: The Stick of Truth ซึ่งเกมทั้งหมดนั้นถือว่าเป็นเกมที่ได้รับการขอลิขสิทธิ์ในการสร้างอย่างถูกต้องแล้ว.
ซึ่งตลอดเวลาของสตูดิโอนั้น ก็ได้มีหลายๆโปรเจกต์ได้แก่ Futureblight, Dwarves, Aliens: Crucible, และโปรเจกต์ที่มีโค้ดเนมว่า North Carolina ก็ถูกยกเลิกการสร้างไป เป็นเพราะการที่ถูกยกเลิกโปรเจกต์หลายๆงานกลางคันทำให้, ทำให้บริษัทได้ประสบวิกฤตการเงินอย่างหนักในปี 2012. ซึ่งจากเหตุการณ์นั้นเองทำให้บริษัทตัดสินใจ เปิดการระดมทุนเพื่อสร้างเกมถัดไปของพวกเขาที่มีชื่อว่า Pillars of Eternity เกมแนว role-playing game ซึ่งมาพร้อมกับมุมมองแบบ isometric perspective ก็ได้รับความสำเร็จอย่างสุดขีดทำให้ช่วยบริษัทจากการต้องถูกปิดตัวลงไปได้. ซึ่งจากเหตุการณ์นั้นมาทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะสร้างเกมโดยใช้สิทธิบัตรที่ตนเองคิดขึ้นแทนที่. Obsidian Entertainment นั้นยังมีความสัมพันธ์ที่ดีแน่นแฟ้นต่ออีกสตูดิโออีกด้วย ที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของ Interplay Entertainment โดยสตูดิโอนี้มีชื่อว่า inXile Entertainment. ซึ่งในเวลานี้ทาง Obsidian Entertainment ก็กำลังทำการสร้างเกมใหม่ที่มีชื่อว่า Tyranny เกมแนวสวมบทบาท ที่มีโครงเรื่องอยู่ในโลกที่มีสงครามระหว่างความดีกับความชั่ว ซึ่งผลลัพธ์คือความชั่วนั้นเอาชนะเหนือความดีไปได้ พร้อมกับอีกเกมที่ชื่อว่า Armored Warfare เป็นเกม massively multiplayer online game ซึ่งเน้นในด้านการควบคุมรถถัง
ปัจจุบัน Obsidian Entertainment เป็นหนึ่งในฐานะสตูดิโอลูกของ Xbox Game Studios ภายหลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2018
ประวัติ
[แก้]2003 : ก่อตั้ง
[แก้]Obsidian Entertainment ก่อตั้งโดย Feargus Urquhart, Chris Avellone, Chris Parker, Darren Monahan และ Chris Jones. ซึ่งก่อนหน้าที่จะทำการก่อตั้ง Obsidian พวกเขาเป็นพนักงานของบริษัทย่อยในเครือ Interplay Entertainment คือ Black Isle Studios. โดยในเวลานั้น Black Isle ได้สร้างเกมสวมบทบาทหลายๆเกมเช่น Icewind Dale, Planescape: Torment, Fallout 2, และร่วมมือกับ BioWare ด้วยเช่นกันในเกม Neverwinter Nights, Baldur's Gate และBaldur's Gate II. ซึ่งเกมทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดทั้งด้านคำวิจารณ์และการขายทำเงินเช่นกัน แต่กระนั้นด้วยสถานะการเงินที่ไม่สู้ดีของ Interplay ทำให้พวกเขาต้องเสียลิขสิทธิ์ของเกมที่อิงเนื้อหาบน Dungeons & Dragons [lower-alpha 1][1] ไป ด้วยเหตุนี้จึงให้เกิดการยกเลิกของเกมภาคต่ออย่าง Baldur's Gate III: The Black Hound[2] ในเวลาต่อมา Urquhart และทีมงานอีกหลายๆคนได้ไม่พอใจและผิดหวังอย่างมากกับการถูกยกเลิกโปรเจกต์ครั้งนี้เพราะตัวเกมได้ทำการพัฒนามาถึง 1 ปีครึ่งกว่าๆแล้ว Urquhart จึงรู้แล้วว่าการทำงานต่อไปที่ Interplay นั้นคงยากที่จะทำงานต่อไปได้เขาและทีมงานจึงตัดสินใจลาออกจากบริษัท. ซึ่งในตอนนั้นเองเขาก็ได้มีอายุ 30 ปีต้นๆแล้ว และคิดว่าถ้าหากเขาไม่เริ่มหาบริษัทใหม่เริ่มทำงานเขาอาจจะแก่เกินไปที่จะหางานใหม่แล้วด้วย Urquhart จึงตัดสินใจออกจาก Interplay อย่างเป็นทางการในปี 2003 พร้อมกับ Avellone, Parker, Monahan, และ Jones จากนั้นทำการก่อตั้ง Obsidian Entertainment ในปีนั้นเอง.[3]
ในช่วงเวลาที่ก่อตั้งบริษัทใหม่นั้นเขาก็มีพนักงานทั้งหมด 7 คนรวมตัวพวกเขาอีก 5 คนเองด้วยที่เป็นคนก่อตั้งบริษัทนี้. Parker, Urquhart, และ Monahan ได้ลงเงินทุนไปถึง $100,000 - $125,000 เหรียญ เพื่อที่จะก่อตั้งบริษัทใหม่ของพวกเขานี้ขึ้นมา.[1] เมื่อตอนก่อตั้งบริษัทนั้นพวกเขาเองก็ได้ทำการเลือกชื่อมาได้แก่ "Scorched Earth" และ "Three Clown Software". สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ตกลงใจเลือกชื่อ "Obsidian Entertainment" ที่พวกเขารู้สึกว่าคล้ายคลึงกับชื่อสตูดิโอเก่าคือ Black Isle[4]
เมื่อได้เริ่มการก่อตั้งแล้วสตูดิโอยิ่งต้องการเงินทุนในการดำเนินงานต่างๆที่จะสร้างเกม, และด้วยเหตุนั้นเขาจึงต้องการแรงสนับสนุนจากผู้จัดจำหน่ายเกม.พวกเขาเลยตัดสินใจไปหา Electronic Arts (EA) แต่ดูเหมือนว่า EA ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่. สตูดิโอจึงไปติดต่อ Ubisoft looking to make a Might & Magic game, but Ubisoft ต่อไป ซึ่งสุดท้ายแล้วไปจบอยู่ที่ Arkane Studios โดยในโปรเจกต์เกมที่ชื่อว่า Dark Messiah of Might & Magic. Obsidian ได้ไปเสนอเกมให้ Take-Two Interactive โดยเกมมีชื่อว่า Futureblight ซึ่งบรรยายตัวเกมไว้ว่าจะมีความเหมือน Fallout โดยใช้ engine ของเกม Neverwinter Nights . ซึ่งผลลัพธ์ก็เหมือน EA และ Ubisoft โปรเจกต์ Futureblight ก็ยังไม่สำเร็จอยู่ดีนั่นเอง.[5]
ปลายปี 2003-2008 : The Sith Lords and Neverwinter Nights 2
[แก้]ในช่วงใกล้ปี 2003 the ทางทีมก็ได้ทำสัญญากับ LucasArts โดยผู้บริหาร Simon Jeffrey, ได้ขอให้ Obsidian สร้างเกม action role-playing game ใช้ธีมเรื่อง Star Wars เป็นจักรวาลของเกมหลัก. โดยทีมงานของ Obsidian ก็ได้เสนอว่าเป็นเกมแนว first-person ใช้ดาบ lightsaber ในการตะลุมบอนระยะใกล้กัน และรวมถึงการใช้ตัวละครอย่าง R2-D2. ซึ่งไอเดียนั้นก็ถูกปฏิเสธไป และJeffrey ได้เสนอให้ Obsidian สร้างเกมตามแบบ BioWare ที่สร้างเกม Star Wars: Knights of the Old Republic ซึ่งในทีม Obsidian เองก็คุ้นเคยการระบบต่างๆที่เกมของ Bioware ได้สร้างไว้จึงเริ่มต้นรับคำสร้าง[5] ซึ่งทั้งสองก็ได้ตกลงสัญญากันในปลายปี 2003 และสุดท้ายได้ออกมาเป็นเกม Star Wars Knights of the Old Republic II: The Sith Lords โดยงานนี้เริ่มในตุลาคมปี 2003.[6] Obsidian มีเวลา 15 เดือนในการสร้างเกมThe Sith Lords. ซึ่งตามเดิมแล้วตัวเกมต้องออกในปี 2004 ช่วงวันหยุดยาว แต่ LucasArts ได้ให้เวลาเพิ่มไปจนถึงปี 2005, แต่สุดท้ายแล้วก็เปลี่ยนกลับมาในปี 2004 ช่วงวันหยุดยาวเหมือนเดิมอีกที โดยจากภายในงาน Electronic Entertainment Expo.[6] ขณะที่ LucasArts ได้ส่งพนักงานของบริษัทไปช่วยให้เกมได้ออกทันตามเวลา,[7] จากเหตุการณ์นั้นทำให้หลายๆฟีเจอร์ของเกมได้ถูกตัดออกไปเพราะเวลาประชั้นชิดตัว. และจากผลของการเปลี่ยนกำหนดเวลาปล่อยเกม ทำให้ Obsidian ไม่มีทดสอบแก้บั้คในเกมทำให้ The Sith Lords ต้องพบกับบั้คและปัญหาการ crash ของเกมจากทางปัญหาเทคนิค.[5][8] แต่ถึงจะมีปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้น The Sith Lords ก็ยังได้รับคะแนนตอบรับอย่างดีในแง่บวก.[5] ซึ่งฟีเจอร์ที่ถูกตัดไปของเกมสุดท้ายแล้วก็ได้มี modders มานำฟีเจอร์ต่างๆกลับมาในเกมใหม่โดยใช้เวลาตั้งแต่ปี in 2009 และเสร็จในปี 2012.[9]
ในช่วงก่อนการเปิดตัวเกมThe Sith Lords, Obsidian ได้รับคำขอจาก Atari. ซึ่ง Atari เองได้ครองลิขสิทธิ์ Dungeons & Dragons อยู่และต้องการให้ Obsidian สร้างภาคต่อของ Neverwinter Nights, ซึ่งออกมาเป็นเกม Neverwinter Nights 2. โดยการสร้างเกมเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนปี 2005 ด้วยทีมงานจำนวน 10 คน.[9][10][11] ซึ่งการพัฒนาเกมครั้งนี้มีหัวหน้าทีมโดย Monahan และ Avellone. ซึ่ง Obsidian ได้กลายมาเป็นผู้สร้างเกมหลักในช่วงที่ BioWare ผู้พัฒนาเกม Neverwinter Nights คอยให้คำแนะนำทางเทคนิคแทน[12] ขณะที่ดำเนินการสร้างนั้นทีมของ Obsidian ก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวน 50 คน.[1] ซึ่งด้วยจำนวนคนนี้ทำให้ทีมมีคนเพียงพอทั้งเวลาและจำนวนคนที่จะสร้างเกม โดย Atari เองยังเต็มใจที่จะเลื่อนเวลาส่งโปรเจกต์เกมจากคริสต์มาสปี 2005 มาเป็น 31 ตุลาคม ปี 2006 แทน.[10] ซึ่ง Neverwinter Nights 2 ก็ได้รับคะแนนวิจารณ์ในช่วงที่ค่อนข้างดี.[13] โดยภาคเสริมได้แก่, Mask of the Betrayer และ Storm of Zehir ได้ออกมาในปี 2007 ตามลำดับ 2008.[14][15]
ในช่วง Neverwinter Nights 2 กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนา, ทางทีม การได้เข้าไปหาผู้จัดจำหน่ายเกมรายใหม่ เพื่อที่จะขอทำงานเพิ่มเติมอีกโปรเจกต์หนึ่ง. โดย Disney Interactive Studios ได้มอบมายให้ Obsidian สร้างเกมภาคปฐมบทของ Snow White and the Seven Dwarves โดยมีขื่อว่า Dwarves, ซึ่งเป็นเกมในรูปแบบมุมมองบุคคลที่สาม action game สำหรับ PlayStation 3 และ Xbox 360.[16] ซึ่งทางทีมเองก็ได้สร้างตัวต้นแบบของเกมมา ในขณะที่ CEO ของ Disney ได้ถูกเปลี่ยนคนใหม่เข้ามา. การเปลี่ยน CEO ทำให้ Disney ได้เปลี่ยนแนวทางที่แตกต่างไปจากทางเดิมอย่างสิ้นเชิง, ซึ่งทำให้ Snow White franchise "ห้ามดัดแปลง" และผลก็คือยกเลิกโปรเจกต์ที่พวกเขากำลังทำอยู่นั่นเอง.[17] ทำให้ Urquhart และทีมที่สร้างเกมได้รับกับประสบการณ์ "หัวใจสลาย"สำหรับผู้เขาของจริง [5]
ปี 2009–2011: Alpha Protocol, Fallout: New Vegas และ Dungeon Siege III
[แก้]หลังจากจบการสร้างเกม Neverwinter Nights II ได้จบไป, Obsidian ได้รับการติดต่อจากผู้จัดจำหน่ายเกมถึงสามรายที่ต่างกันได้แก่ Electronic Arts ต้องการให้ Obsidian สร้างเกม role-playing game ไปแข่งกับเกมThe Elder Scrolls IV: Oblivion, และอีกผู้จัดจำหน่ายต้องการให้ Obsidianสร้างเกม fantasy RPG.[5] ผู้จัดจำหน่ายรายที่สามคือ Sega ต้องการให้ Obsidian สร้างเกมแนวสวมบทบาทที่ใช้ธีมของเกม Alien เฟรนไชส์. โดยตัวเกมมีชื่อให้ว่า Aliens: Crucible, ฃึ่งต้องมีบทสนทนามากหลายและการพัฒนาตัวละครที่ลุ่มลึก.[16][18] ในกุมภาพันธ์ปี 2009 Obsidian ส่งตัวอย่างแรกไปให้ Sega. และอยู่ๆ Sega ตัดสินใจยกเลิกเกมขึ้นมาโดยไม่แม้แต่จะตรวจดูตัวอย่างเกมที่ Obsidian ส่งมา.[5] ซึ่งการยกเลิกโปรเจกต์ได้ประกาศอย่างเป็นทางการในปีนั้นเองในช่วงเดือนมิถุนายน 2009.[19] และในเวลานั้นเอง Atari ได้เข้ามาหา Obsidian อีกครั้งและครั้งนี้มาพร้อมกับความต้องการที่จะปลุกตำนานเกมอย่าง Baldur's Gate III.[20] Obsidian จึงต้องขอเงินทุนจำนวนมากแต่ Atari มีไม่เพียงพอสุดท้ายการทำสัญญาทั้งสองบริษัทจึงล้มเหลวและต่อมา Atari ก็ถูกซื้อกิจการโดย Namco Bandai Games.[21]
ถึงแม้ว่าจะมีการยกเลิกเกม Aliens: Crucible, Sega ก็ยังสนใจที่จะมาร่วมงานกับ Obsidian ให้พัฒนาโปรเจกต์อื่น. แทนที่จะเป็นเกมภาคต่ออย่างที่ผ่านๆมาเคยทำหรือต้องใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น Sega ได้เสนอให้ Obsidian คือเกมโดยใช้ลิขสิทธิ์เป็นเกมของตัวเองครั้งแรก โดยมีไอเดียให้ว่าเป็นเกมแนวสายลับ RPG".[22] ซึ่ง Sega เองก็เห็นด้วยที่จะเป็นคนมอบเงินทุนให้ในฐานะที่ตนเป็นผู้จัดจำหน่ายเกมจึงควรทำตัวให้เหมาะสม. สุดท้ายแล้วเกมก็ได้ออกมาในชื่อว่า Alpha Protocol. แต่ตัวเกมเองนั้นก็มีปัญหาอย่างโครงสร้างพื้นฐานที่ทางทีมไม่ได้ออกแบบแล้วมีจุดเป้าหมายเกมที่ดีนัก ว่ารูปแบบการเล่นของเกมควรจะไปในทิศทางไหนกันแน่. ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือตัวเกมประสบปัญหากับแนวทางของเกมที่ไม่แน่นอนจากการผสมกันของเกมหลากหลายแนว[23] ซึ่ง Sega ในฐานะที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองกลับตัดสินใจช้าและยังทำการตัดจุดเด่นของเกมบางส่วนออกไปดื้อๆ ผลลัพธ์ก็คือตัวเกมเกิดการล่าช้าอย่างมากโดยใช้เวลานานถึง 4 ปีในการสร้างและออกมาในปี 2010.[5]
ซึ่งเกมแรกที่ออกแบบโดยความคิดของพวกเขาจริงๆโดยไม่พึ่งสิขสิทธิ์จากใคร Alpha Protocol ก็ได้คะแนนวิจารณ์กึ่งๆกลางๆ และรวมถึงการประชาสัมพันธ์โปรโมตเกมและการเงินที่บริหารไม่ค่อยดีนักของ Sega อีกด้วย ซึ่งทำให้แผนที่จะวางภาคต่อยังคงค้างไว้, Urquhart ได้ออกมายอมรับว่ามันยังพอจะมีช่วงโอกาศที่พัฒนาเกมให้ดีขึ้นได้อยู่บ้าง.[24] เพราะถึงแม้ว่าตัวเกมจะพลาดด้านการโปรโมตจากสื่อแต่โดยปกติแล้วก็จะมีชุมชนออนไลน์หรืออื่นๆคอยกระจายข่าวให้ได้บ้าง ซึ่งบ่อยครั้งทำให้ Obsidian ต้องการจะสร้างภาคต่อเช่นกัน. Urquhart ได้ตอบกลับไปยังทีมของพวกเขาเองว่า พวกเรายังว่าที่จะได้สร้าง Alpha Protocol 2, และทำให้ "ทุกอย่างมันดีขึ้น".[25] ต่อมา Avellone ได้ออกมาบอกว่าพวกเขาคงจะสร้างต่อไม่ได้เพราะว่าลิขสิทธิ์ของเกมนั้นตกเป็นของ Sega และการระดมเงินทุนจากผู้เล่น ก็คงไม่ใช่ความคิดที่เข้าท่าเท่าไหร่.[26]
ในกุมภาพันธ์วันที่ 11 ปี 2010, Red Eagle Games และ Obsidian ประกาศที่จะสร้างเกมโดยอิงจากนิยายแฟนตาซีเรื่องThe Wheel of Time ที่แต่งโดย Robert Jordan.[27] แต่ในเมษายาวันที่ 25 ปี 2014, Urquhart ได้ออกมาบอกว่าเกมที่จะทำการพัฒนาได้ยกเลิกไปเพราะ Red Eagle ล้มเหลวที่จะรักษาเงินทุนสำคัญที่ใช้ในการสร้างเกม.[28]
ในช่วงเวลาเดียวกันที่ Alpha Protocol อยู่ในช่วงของการสร้าง Obsidian ได้ทำการพัฒนาเกม Fallout: New Vegas ด้วยเช่นกัน ก่อนหน้าในช่วงที่พวกเขาจะเริ่มสร้าง New Vegas, พวกเขาก็ได้รับการติดต่อโดย Bethesda Softworks ในการสร้างเกมเกี่ยวกับ Star Trek แต่ไอเดียต่างๆก็ไม่เคยเข้าที่เข้าทางเสียทีจนหลังจากที่ Fallout3 ได้เปิดตัวไปและเตรียมเริ่มต้นกลับไปพัฒนาเกมในซีรีส์ Elder Scrolls , พวกเขาจึงมาหา Obsidian พร้อมกับเสนอให้สร้างเกมซีรีส์ Fallout , อย่างที่หลายๆคนในผู้ก่อตั้ง Obsidian's เคยทำมาก่อนย้อนกลับไปในช่วง Black Isle. ในการสร้าง New Vegas นี้เองนั้น Obsidian ได้ทำตามที่แฟนๆเกมร้องขอมาคือ New Vegas ควรจะมีจุดเด่นบทบาทของแต่ล่ะฝ่ายมากขึ้นมีการตอบสนองต่อตัวละครและเนื้อหาที่ดีขึ้น. เมื่อไอเดียนี้ถูกส่งไปถึง Bethesda ก็ถูกการตอบรับอย่างรวดเร็ว. การพัฒนา New Vegas เริ่มทันทีหลังจากการยกเลิกของเกม Aliens: Crucible, หลังจากนั้นเกมก็ได้ออกมาใน ตุลาคมปี 2010.[5] ซึ่งคะแนนตอบรับและวิจารณ์ก็ออกมาอย่างดีและยังมีการกล่าวว่าดีกว่า Fallout 3 เสียด้วย.[5]
สำหรับในกรณีของ The Sith Lords, ทีมพัฒนาของ Obsidian ก็ยังคงไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆของ New Vegas อย่างเรื่อง bugs และ glitches ก่อนที่ตัวเกมจะปล่อยออกมา. ซึ่งถึงกับมีผู้เล่นบางคนไม่สามารถเล่นเกมได้เพราะ Crash ตลอดของเกม.[29] ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ถูกแก้ใน Patch ต่อๆมา. Obsidian จึงได้รับประสบการณ์จากNew Vegas ; ซึ่งเป็นเกมแรกของสตูดิโอในใช้ทุนสูงระดบ AAA และยังเป็นบทเรียนของ Obsidian ให้รู้จักการจัดการ quality assurance.[5] ในระหว่างเกม The Sith Lords และ New Vegas, Obsidian จึงเริ่มมีเสียงวิจารณ์ว่า Obsidian เป็นผู้สร้างเกมที่มาพร้อมกับปัญหาทางเทคนิคต่างๆ.[5][8] ทางทีมเองก็เลยตัดสินใจว่าจะต้องลบชื่อเสียงด้านไม่ดีนี้ไปให้ได้, และได้เพิ่มระบบตรวจจับบั้คขึ้นมา[5] ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้เห็นได้จากเกม Dungeon Siege III ที่เป็นเกมภาคต่อของค่าย Gas Powered Games โดย Dungeon Siege,[30] มีผู้จัดจำหน่ายคือ Square Enix.[31] ตัวเกมได้ทำการปล่อยออกมาในปี 2011 โดยได้คะแนนวิจารณ์รวมๆกันทั้งแง่ดีและข้อเสีย แต่ก็ได้รับการกล่าวว่าตัวเกมเล่นไม่สนุกและเสถียรเมื่อตัวเกมออกมา.[5] Dungeon Siege III ถือเป็นเกมแรกของ Obsidian's ที่ใช้ Onyx engine ของตน.[32]
ในปี 2011 บริษัทได้เริ่มสร้างเกมที่มีโค้ดเนมว่า "North Carolina" ซึ่งมีข่าวลือว่าจะเป็นเกมที่จะปิดเป็นความลับระหว่างพัฒนาของ Xbox360 ซึ่งสุดท้ายแล้วเกมก็ถูกยกเลิกไปในปี 2012 โดยผู้จัดจำหน่ายคือ Microsoft Studios, จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ Obsidian ต้องปลดพนักงานออกถึง 20-30 คน.[5][33][34]
2012–2015: The Stick of Truth , ปัญหาการเงิน และ Pillars of Eternity
[แก้]ในตุลาคมปี 2009 Obsidian ได้รับการติดต่อจาก South Park Digital Studios เพื่อให้สร้างเกมโดยใช้การ์ตูนเรื่อง South Park เป็นธีมหลักของเกม.[35] ซึ่งในตอนแรกทางทีม Obsidian เองยังคิดว่าเป็นการเล่นตลกจากบริษัทที่ทำงานอยู่ในตึกเดียวกันกับสตูดิโอของ South Park เสียอีก[36] Obsidian ยังได้ไปพบกับผู้สร้าง South Park นามว่า Matt Stone และ Trey Parker, โดยทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันว่าจะใช้เนื้อหาสำคัญที่ฉายร่วมพร้อมกับทางทีวีโชว์ รวมไปถึงภาพเนื้อหาในเกมที่คล้ายกับนำกล่องกระดาษมาตัดแล้วปะเป็นรูป. โดยเงินทุนเริ่มแรกนั้นมาจาก Viacom, ซึ่งเป็นบริษัทหลักของ South Park is broadcast on. ในปี 2011, Viacom ได้ตัดสินใจให้ปล่อยเป็นหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายเกมคือ THQ ทำหน้าที่แทนทั้งหมด.[5] ซึ่งเป็นเพียงแค่เวลาสั้นๆเท่านั้น THQ หลังจากที่ THQ ได้ทำการจัดการลิขสิทธิ์ของ South Park ก็ได้ประสบกับปัญหาการณ์เงินขั้นร้ายแรงจนเกิดการล้มละลายในปลายปี 2011. ด้วยการที่ THQ ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้มอบเงินทุนในการสร้างได้อีกต่อไป และจึงได้เกิดการขายบริษัทเข้าตลาด. Obsidian ยิ่งกังวลขึ้นไปอีกว่าโปรเจกต์นี้จะเกิดการล้มเลิกกลางคันอีกหรือไม่ รวมไปถึงทาง Obsidian เองก็ประสบปัญหาด้านการเงินอย่างร้ายแรงเช่นกัน. ซึ่งสุดท้ายแล้ว Ubisoft ก็ได้ลิขสิทธิ์ของตัวเกมไปในชื่อเกมว่า South Park: The Stick of Truth และออกวางจำหน่ายใน มีนาคม ปี2014.[37]
Obsidian ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับ inXile Entertainment inXile เองนั้นก็เหมือนกับ Obsidian ที่ก่อตั้งโดยอดึตพนักงานของ Interplay Entertainment. ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้ก็ได้ทำการเซ็นสัญญาที่จะแบ่งเทคโนโลยี Engine ที่ใช้ในการสร้างเกมร่วมกันอีกด้วย.[38] Obsidian ก็มีส่วนช่วย Inxile ในโปรเจกต์อย่างWasteland 2 หลังจากที่ตั้งเป้า Kickstarter ได้เงินทุนไปถึง $2.1 ล้านเหรียญสหรัฐ[39] Wasteland 2 ได้วางจำหน่ายในปี 2014 และได้รับคะแนนเสียงวิจารณ์ตอบรับในด้านดีตั้งแต่ตอนวางจำหน่าย.[40]
ในช่วงที่สตูดิโอได้สร้างเกม South Park: The Stick of Truth เสร็จไปแล้ว Obsidian เองก็ตกอยู่ในช่วงวิกฤตทางการเงินอย่างแท้จริง. ซึ่งสตูดิโอได้รับเงินค่าตอบแทน "ค่าเสียเวลา" สำหรับการทำเกม North Carolina เพียงเล็กน้อยเท่านั้น.[5] อีกทั้งพวกเขายังพลาดโอกาศจากโบนัสในการสร้างเกม Fallout: New Vegas เป็นผลจากการที่พวกเขาทำเกม "ตกคุณภาพ" จากเกณฑ์ของ Bethesda's รวมถึงคะแนนของ Metacritic ที่หายไปเพียง 1 คะแนนจาก 85 ที่เป็นเกณฑ์ของ Bathesda.[41] ทางทีมงานเองยังขาดเงินทุนต่างๆที่จะใช้ในการเปิดบริษัทต่อไปอีกด้วย ทาง Adam Brennecke ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ดำเนินการผลิตเกมของ Obsidian ยังบอกว่าถ้าพวกเราพลาดการส่งเกมไปยังผู้จัดจำหน่ายอีกครั้งพวกเราจะล้มละลายจากการที่เงินทุนทั้งหมดได้หมดไป.[42] ซึ่งในเวลานั้นเองรูปแบบของ crowdfunding(การระดมเงินทุนจากผู้บริโภคที่สนใจ) Kickstarter ได้เติบโตมากขึ้นกว่าเดิม Josh Sawyer ฝ่าย creative director ของ New Vegas ควรจะเสนอเกมที่พวกเขาเคยโดนปฏิเสธไปจากผู้จัดจำหน่ายเข้าสู่ Kickstarter และพยายามใช้เงินทุนจากที่ได้มาใช้ในการสร้างเกม. ซึ่งบางส่วนของสมาชิกในทีมยังกังวลอีกด้วยว่ามันคงจะไม่มีทางรวบรวมเงินได้ถึง $100,000 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ ด้วยซ้ำไป. ซึ่งความกังวลนี้ยังคงอยู่และได้มีการถกเถียงเกิดขึ้น แต่ในที่สุดข้อโต้แย้งเหล่านี้ก็จบไปเมื่อ Double Fine Adventure''s campaign ได้ขึ้นใน Kickstarter และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม.[43] ด้วยความเชื่อมั่นนั้นว่า Kickstarter จะเป็นหนทางที่ทำให้พวกเขาอยู่รอดต่อไปได้ ทีมของ Obsidian ได้ตัดสินใจนำเกมที่พวกเขาเคยคิดจะทำการมานานแล้วซึ่งอยู่ในฐานะของ spiritual successor ของเกม Baldur's Gate. ซึ่ง Kickstarter Campaign ครั้งนี้ของเกม Pillars of Eternity ได้เริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 2012 ภายใต้ชื่อว่า "Project Eternity"(โปรเจกต์นิรันตร์), ด้วยการที่ Obsidian ขอเงินทุนในการสร้างคือ $1.1 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐ.[44] ทางสตูดิโอได้เข้าเสนอเกมใน Kickstarter ด้วยการตั้งไว้ว่าถ้าโปรเจกต์นี้สำเร็จเขาคงจะสามารถทำโปรเจกต์นี้ให้เป็นเกมภาคต่อได้ แต่ถ้าหากล้มเหลวผู้เขาจะทำการปรับปรุงและเสนอไอเดียเข้าไปใหม่.[45] ซึ่งสุดท้ายแล้ว Obsidian campaign ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม, ซึ่งสามาถระดมเงินทุนไปได้ถึง $4 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐ และทำลายสถิติที่ Double Fine Adventure ได้ตั้งเอาไว้.[46] Pillars of Eternity ได้วางจำหน่ายในเดือนมีนาคมปี 2015 พร้อมกับเสียงวิจารณ์ที่ได้รับการชมเชยอย่างมาก.[47] โดยมี Paradox Interactive เป็นผู้จัดจำหน่ายเกม.[48] Obsidian ได้วางแผนสำหรับภาคเสริมของเกมคือ The White March.[49] ซึ่งได้ทำการแบ่งเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกออกในวันที่ 25 สิงหาคมปี 2015,[50] และส่วนสุดท้ายออกใน วันที่ 16 กมภาพันธ์ปี 2016.[51] และยังมีบอร์ดเกมหรับ Pillars of Eternity ที่มีชื่อว่า Pillars of Eternity: Lords of the Eastern Reach ได้ประกาศตัวเมื่อวันที่ 19 เมษายนปี 2015. ภายใต้การพัฒนาโดย Zero Radius Games โดยทำการรวบรวมเงินทุนผ่าน Kickstarter และประสบความสำเร็จภายในวันเดียวเช่นกัน.[52]
ในเดือนมิถุนายนปี 2015, ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Chris Avellone ได้ออกประกาศว่าเขาได้ทำการแยกตัวออกจาก Obsidian.[53] ในเดือนสิงหาคมปี 2015, Obsidian ได้เป็น Parthner กับ inXile และ Double Fine พร้อมกับเปิดตัวเว็บสำหรับเงินทุนบริจาคใหม่ที่ชื่อว่า Fig, โดยมี Urquhart ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำการวางแผนแก่บริษัท.[54] ซึ่งรูปแบบแผนที่วางไว้คือ "ความเท่าเทียมของเงินทุนบริจาค" ซึ่งจะเน้นไปที่เกมคุณภาพเป็นส่วนหลัก.[55] Obsidian จึงได้ใช้ Fig ไปฐานสำหรับรับเงินบริจาคในอนาคตต่อไป.[56]
ปี 2016-2018: Tyranny, Armored Warfare และ Pathfinder
[แก้]Obsidian Entertainment ขณะนี้กำลังทำการพัฒนาโปรเจกต์ที่ชื่อว่า Skyforge,[57] ซึ่งเป็นเกม free-to-play multiplayer และเกม ด้านการรบทางทหารคือ Armored Warfare.[58] อีกทั้งในช่วง 13 สิงหาคมปี 2014, Obsidian ได้ประกาศว่าเขาได้ถือครองลิขสิทธิ์ของ Pathfinder Roleplaying Game หรือเกมในรูปแบบ ดิจิทัล, โดยเริ่มทำการออกแบบให้เล่นเข้ากับ Tablet ได้คือ Pathfinder Adventure Card Game ได้ปล่อยกำหนดการณ์ให้ออกเล่นได้ในช่วง
29 มีนาคมปี 2016 ทั้ง iOS และ Android.[59] ซึ่งทาง Paizo CEO Lisa Stevens ก็ได้ออกมายืนยันเช่นกันว่า Obsidian ได้ร่วมกันพัฒนาเกมสวมบทบาทบนคอมพิวเตอร์.[60] ทาง Urquhart ได้เริ่มหวังว่าจะมาร่วมมือกับ BioWare อีกครั้งหนึ่งบนเกม Star Wars . เช่นกันกับช่วงที่ได้ปล่อยตัวเกม New Vegas พวกเขาก็หวังว่าจะได้มาสร้างเกม Fallout อีกครั้งหนึ่ง.[61][62][63]
15 มีนาคมปี 2016 Obsidianได้ประกาศเกมใหม่ของพวกเขาคือ Tyranny โดยเป็นเกมมุมมอง isometric RPG ใช้ธีมของเกมในโลกที่เกิดการต่อสู้ระหว่างธรรมะและอธรรมแต่ฝ่ายอธรรมปีศาจกลับได้ชัยชนะเหนือฝ่ายความดีไป ซึ่งมีแผนจะวางจำหน่ายในปี 2016 บน Microsoft Windows, Mac และ Linux และมีผู้จัดจำหน่ายเดิมคือ Paradox Interactive.[64] ในเมษายนปี 2016, Leonard Boyarsky ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Obsidian ซึ่งเป็นคนที่รวมก่อตั้ง Troika Games .[65]
ปี 2018-ปัจจุบัน: ในฐานะสตูดิโอลูกของ Xbox Game Studios
[แก้]เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2018 ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อกิจการ Obsidian พร้อมกับ inXile Entertainment ในงาน X018[66] โดยที่ระหว่างนั้น Obsidian ได้มีโครงการร่วมกันกับ Private Division หน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งโดย Take-Two Interactive เจ้าของ 2K Games และ Rockstar Entertainment[67] ซึ่งต่อมา ได้มีการเปิดเผยว่าโครงการดังกล่าวนั้นคือเกม The Outer Worlds ที่เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทในโลกอนาคตที่บริษัทนายทุนรายใหญ่เริ่มยึดครองดาวในอวกาศ โดยตัวเกมเริ่มวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มวินโดวส์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บ็อกวัน[68] และนินเทนโดสวิทช์[69]
อย่างไรก็ดี ก่อนที่วางจำหน่าย Epic Games ได้ประกาศว่า The Outer Worlds จะเป็นเกมที่จัดจำหน่ายบน Epic Games Store ควบคู่ไปกับ Microsoft Store และ Xbox Game Pass แทนที่จะเป็น Steam ตามที่ประกาศไว้เมื่อตอนเปิดตัว[70][71] ซึ่งสร้างความเกรี้ยวโกรธให้คนที่เฝ้ารอคอยตัวเกมบน Steam เป็นอย่างมาก รวมไปถึง Chris Avellone ที่วิจารณ์ว่าดีลนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะกระหายเงินเท่านั้น[72] อย่างไรก็ดี The Outer Worlds ได้วางจำหน่ายบน Steam เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2020[73]
ในปี 2019 ในงาน X019 ของไมโครซอฟท์ Obsidian ได้เปิดตัวเกมใหม่แนวเอาชีวิตรอดในชื่อ Grounded โดยตัวเกมได้วางจำหน่ายในรูปแบบเข้าเล่นก่อน (early access) บน Steam และ Xbox Game Preview เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งในเดือนเดียวกันนั่นเอง Obsidian ได้เปิดตัวส่วนเสริมของ The Outer Worlds ชื่อ Peril on Gorgon[74][75] และเกมใหม่ที่จะวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มวินโดวส์และเอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์และเอสอย่าง Avowed ที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันกับ Pillars of Eternity[76] ในวิดีโอถ่ายทอดสด Xbox Game Showcase
ผลงานเกม
[แก้]Year | Title | Publisher | Platform(s) |
---|---|---|---|
2004 | Star Wars: Knights of the Old Republic II – The Sith Lords | LucasArts | Xbox, Win, Mac |
2006 | Neverwinter Nights 2 | Atari | Win, Mac |
2007 | Neverwinter Nights 2: Mask of the Betrayer | Atari | Win |
2008 | Neverwinter Nights 2: Storm of Zehir | Atari | Win |
2010 | Alpha Protocol | Sega | Win, PS3, X360 |
2010 | Fallout: New Vegas | Bethesda Softworks | Win, PS3, X360 |
2011 | Dungeon Siege III | Square Enix | Win, PS3, X360 |
2014 | South Park: The Stick of Truth | Ubisoft | Win, PS3, X360 |
2015 | Pillars of Eternity | Paradox Interactive | Win, Mac, Linux |
2015 | Pillars of Eternity: The White March – Part 1 | Paradox Interactive | Win, Mac, Linux |
2015 | Skyforge | My.com | Win |
2015 | Armored Warfare | My.com | Win, PS4, XOne |
2016 | Pillars of Eternity: The White March – Part 2 | Paradox Interactive | Win, Mac, Linux |
2016 | Pathfinder Adventures | Paizo | Win, iOS, Android |
2016 | Tyranny | Paradox Interactive | Win, Mac, Linux |
2018 | Pillars of Eternity II: Deadfire | Versus Evil | Win, Mac, Linux, PS4, XOne, Switch |
2019 | The Outer Worlds | Private Division | Win, PS4, XOne, Switch |
2020 | Grounded | Xbox Game Studios | Win, XOne, XSX/S |
TBA | Avowed | Xbox Game Studios | Win, XSX/S |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Morgan Ramsay (2012). Gamers at Work: Stories Behind the Games People Play. Routledge. ISBN 9781430233527.
- ↑ Cobbett, Richard (April 16, 2015). "The Quests That Got Cancelled". สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Crecente, Brian (June 9, 2015). "Obsidian chief creative officer and co-founder departs studio (update)". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Schramm, Mike (February 25, 2011). "What's in a Name: Obsidian Entertainment". Joystiq. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 Schreier, Jason (December 12, 2012). "The Knights of New Vegas: How Obsidian Survived Countless Catastrophes And Made Some of the Coolest Role-playing Games Ever". Kotaku. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ 6.0 6.1 "Star Wars Knights of the Old Republic II: The Sith Lords Wrap Report, Part 1". IGN. December 23, 2004. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ Purchese, Robert (July 31, 2013). "Fear is the path to the dark side; Obsidian on KOTOR2 and what KOTOR3 might have been". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ 8.0 8.1 Young, Stuart (September 27, 2011). "Was Obsidian Entertainment the smart choice for Fallout: New Vegas?". GameZone. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ 9.0 9.1 Wilde, Tyler (July 25, 2012). "Community heroes: modders debug and restore cut content in Knights of the Old Republic II". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ September 10, 2015.
- ↑ 10.0 10.1 Gifford, Kevin (August 16, 2004). "Feargus Urquhart Interview". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ April 12, 2009.
- ↑ Blevins, Tal (August 6, 2004). "GameSpy speaks with Feargus Urquhart about the upcoming Neverwinter Nights 2 project". สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Blevins, Tal (August 6, 2004). "Neverwinter Nights 2 First Details". IGN. สืบค้นเมื่อ April 12, 2009.
- ↑ "Neverwinter Nights 2 for PC reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ October 6, 2015.
- ↑ Onyett, Charles (July 5, 2007). "Pre-E3 2007: Mask of the Betrayer Q & A (page 2)". IGN. สืบค้นเมื่อ August 1, 2009.
- ↑ "NWN2 rides Storm of Zehir". GameSpot. June 10, 2008. สืบค้นเมื่อ April 26, 2009.
- ↑ 16.0 16.1 Purchese, Robert (June 27, 2013). "Obsidian: base building in Aliens: Crucible, canned games and publishers now open to Kickstarter-sized projects". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Makuch, Eddie (December 17, 2012). "Obsidian worked on Snow White prequel". GameSpot. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Cocke, Taylor (February 20, 2013). "Here's What Obsidian's Cancelled RPG Aliens: Crucible Looked Like". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Thorsen, Ton (June 26, 2009). "Obsidian, Sega confirm Aliens RPG 'no longer in development'". GameSpot. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Schreier, Jason (December 14, 2012). "Baldur's Gate 3 Was Almost Made Four Years Ago". สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Hafer, T.J (December 14, 2012). "Obsidian almost made Baldur's Gate 3 in 2008". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ "Alpha Protocol: Shooting and fighting explained". GamesRadar. May 3, 2010. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Cobbett, Richard (June 1, 2013). "Alpha Protocol retrospective: Spy vs. Sigh". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Marchiafava, Jeff (May 22, 2011). "Obsidian Still Wants To Make Alpha Protocol 2". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-28. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Sterling, Jim (May 22, 2011). "Obsidian would 'do better' with Alpha Protocol 2". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Cook, Dave (September 21, 2012). "Alpha Protocol 2 'isn't up to us', Kickstarter not an option – Obsidian". VG 247. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ "Obsidian riding Wheel of Time". GameSpot. CBS Interactive. February 12, 2010. สืบค้นเมื่อ September 8, 2015.
- ↑ Sheridan, Connor (April 25, 2014). "Interview: Obsidian on life after South Park". Computer and Video Games. Future plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2014. สืบค้นเมื่อ July 22, 2014.
- ↑ Kuchera, Ben (October 25, 2010). "Fallout: New Vegas is buggy as hell; where's the outrage?". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Citizen, Jessica (May 11, 2011). "Obsidian won't make New Vegas mistakes in Dungeon Siege III". VG 247. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Hillier, Brenna (April 20, 2011). "Square Enix's Dungeon Siege acquisition was "opportunistic"". VG 247. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Yin-Poole, Wesley (February 7, 2011). "Dungeon Siege III: More stable than New Vegas". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Goulter, Tom (March 14, 2012). "Fallout: New Vegas developer Obsidian Entertainment lays off "20–30 people"". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Schreier, Jason (March 14, 2012). "Rumor: Obsidian's Cancelled Project Was For The Next Xbox, Published By Microsoft". Kotaku. สืบค้นเมื่อ October 10, 2015.
- ↑ Hanson, Ben (December 5, 2011). "Crafting The South Park RPG". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Purchese, Robert (March 12, 2014). "South Park: It all started with a suspected prank call". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Purchese, Robert (July 1, 2015). "South Park RPG release date tweaked to 7th March". สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ O'Conner, Alice (March 29, 2013). "inXile and Obsidian sharing RPG tools and tech". Shacknews. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Sliwinski, Alexander (March 30, 2012). "Obsidian will help with Wasteland 2 if Kickstarter reaches $2.1 million". Joystiq. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ "Wasteland 2 for PC reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Gilbert, Ben (March 15, 2012). "Obsidian missed Fallout: New Vegas Metacritic bonus by one point". Joystiq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-17. สืบค้นเมื่อ October 10, 2015.
- ↑ Purchese, Robert (March 11, 2015). "Before Pillars of Eternity, Obsidian nearly met its end". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Schreier, Jason (August 7, 2015). "How Kickstarter Saved Obsidian". Kotaku. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Makuch, Eddie (September 14, 2012). "Obsidian turns to Kickstarter for Project Eternity". GameSpot. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Schreier, Jason (September 14, 2012). "The People Behind Fallout And Planescape Are Making My Dream RPG". Kotaku. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Thew, Geoff (September 9, 2014). "Pillars of Eternity Could be a Modern Classic". Hardcore Gamer. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ "Pillars of Eternity for PC Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ March 26, 2015.
- ↑ Ray Corriea, Alexa (March 18, 2014). "Paradox Interactive to publish Obsidian's Pillars of Eternity". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Livington, Christopher (June 17, 2015). "Pillars of Eternity's first expansion is The White March". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Potter, Matt (August 11, 2015). "Pillars of Eternity: The White March Gets A Release Date". IGN. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Hafer, TJ (February 16, 2016). "Pillars of Eternity The White March Part 2 Review - A Strong Second Act". The Escapist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-17. สืบค้นเมื่อ February 16, 2016.
- ↑ Matulef, Jeffery (May 29, 2015). "Pillars of Eternity launches card game spinoff Kickstarter". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Futter, Mike (June 9, 2015). "Obsidian Entertainment Co-Founder And Creative Director Chris Avellone Departs Studio". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Hall, Charlie (August 18, 2015). "What if Kickstarter let you profit from a game's success? Fig found a way, launches today". Polygon. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Johnson, Erik (August 19, 2015). "Crowdfunding site Fig launched by Double Fine, Obsidian and inXile heads". Market for Home Computing and Video Games. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Chapple, Craig (August 18, 2015). "Why Double Fine, Obsidian and InXile are leaving behind Kickstarter for new crowdfunding site Fig". Develop. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
- ↑ Newman, Heather (July 25, 2010). "Skyforge looks terrific — now, Obsidian's new MMO needs a story". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ "Yes, Obsidian really is making a MMO tank game". Eurogamer. March 25, 2014. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Walaszek, Luke (February 23, 2016). "Pathfinder Adventures: Obsidian Entertainment Brings The Tabletop Experience to Tablets". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-25. สืบค้นเมื่อ March 4, 2016.
- ↑ Crecente, Brian (February 4, 2015). "Pathfinder card game coming soon, Pathfinder RPG in discussion". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Grayson, Nathan (February 12, 2013). "And Here's Obsidian's Idea For Fallout: New Vegas 2". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ December 18, 2015.
- ↑ Grayson, Nathan (May 8, 2013). "Obsidian Hoping To Work With EA/BioWare On Star Wars". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.
- ↑ Morrison, Angus (January 20, 2016). "Obsidian's Fenstermaker: "I'm always up for working on a Fallout"". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
- ↑ Schreier, Jason (March 15, 2016). "Obsidian Announces Brand New RPG Tyranny". Kotaku. สืบค้นเมื่อ March 16, 2016.
- ↑ Nunneley, Stephany (April 13, 2016). "Diablo 3, Vampire: The Masquerade – Bloodlines dev joins Obsidian Entertainment". VG 247. สืบค้นเมื่อ April 14, 2016.
- ↑ McWhertor, Michael (2018-11-10). "Microsoft acquires Obsidian Entertainment". Polygon (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Donnelly, Joe (2017-12-14). "Take-Two launches high-end indie label Private Division". PC Gamer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Hall, Charlie (2018-12-07). "Three things we learned about Obsidian's new RPG, The Outer Worlds". Polygon (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ The Outer Worlds Will Release On Switch This June - IGN (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-01-25
- ↑ Wilde, Tyler; Lahti, Evan (2019-03-20). "The Outer Worlds and Control will launch on the Epic Store, not Steam". PC Gamer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The Outer Worlds won't launch on Steam, will be an Epic Games Store and Microsoft Store exclusive". TechSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Chris Avellone calls The Outer Worlds exclusivity deal with Epic "a cash grab"". PCGamesN (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "The Outer Worlds บน Steam". store.steampowered.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Chalk, Andy (2020-07-23). "The Outer Worlds' first DLC expansion will add 'a substantial amount of content'". PC Gamer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Marshall, Cass (2020-07-23). "The Outer Worlds' first DLC adds a new planet to the main story". Polygon (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Messner, Steven (2021-01-20). "Avowed: Release date, gameplay, and everything we know about Obsidian's Skyrim-like RPG". PC Gamer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).