อมร วาณิชวิวัฒน์
อมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อและได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในด้านการเมือง (ได้รับการโปรดเกล้า ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2557) ได้รับการแต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2558) ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2558 และกรรมการปฏิรูปแห่งชาติด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)
ประวัติส่วนบุคคล
[แก้]อมร วาณิชวิวัฒน์ เกิด ที่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ดร. อมร มีชื่อเล่นว่า " ทอง " เป็นบุตรชายคนโตของครอบครัวนายดั่นยกห่ง และนางพเยาว์ วาณิชวิวัฒน์ [1] ปัจจุบัน ดร อมร วาณิชวิวัฒน์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับการโปรดเกล้าให้ทำหน้าที่เป็น สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ[2] จากการเสนอชื่อแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ในชุดรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ระหว่างวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ได้ขอจดแจ้งรายชื่อศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทยในฐานะองค์กรภาคประชาชน (ประชาสังคม) กับสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า (ดู รายชื่อ 731 องค์กรภาคประชาชนที่ได้จดแจ้งกับสภาพัฒนาการเมือง เก็บถาวร 2009-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) อาจารย์ฯ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "กรรมการที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมด้านกฎหมาย" ซึ่งลงนามในคำสั่งโดย พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น และยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของอดีตประธานรัฐสภา (นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) และตำแหน่ง ประธานอนุกรรมการด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และ การพาณิชย์ เพื่อศึกษาส่งเสริมสนับสนุนด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AC ; ASEAN Community หรือ AEC; ASEAN Economic Community)) ใน ปี พ.ศ 2558 และ อมรฯ ได้มีการเดินทางศึกษาดูงานในกลุ่มประเทศอาเซียนหลายประเทศ เช่น การเดินทางศึกษาดูงานและพบปะบุคคลสำคัญของประเทศลาว เกี่ยวกับการส่งเสริมนักธุรกิจไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 และยังเป็นกรรมการศึกษาการจัดตั้งเทศบาลนครแม่สอด เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกด้วย (ในปัจจุบันเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดได้รับอนุมัติจาก คสช เรียบร้อยแล้ว) รวมทั้งการเดินทางสำรวจภูมิประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศ ในโครงการศึกษาดูงานของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ รุ่น 56 (ปรอ 26) เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย และ กัมพูชา เป็นต้น
ประวัติการศึกษา
[แก้]อมร วาณิชวิวัฒน์ ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต สิงห์ดำ รุ่นที่ 37 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ) สาขาการบริหารงานบุคคล จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและการบริหารกระบวนการยุติธรรม M.S. (Master of Science) in Criminology and Criminal Justice) จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต เมืองหลวง Talahassee ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต#บุคคลชาวไทยที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต ดุษฎีบัณฑิตทางด้านสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (นับเป็นชาวไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมวิทยา D Phill in Sociology จากมหาวิทยาลัยแห่งนี้) [3] และประกาศนียบัตรด้านการประกอบการธุรกิจ Building a Business ของ วิทยาลัยธุรกิจซาอิด (SAID) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แห่งสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ) รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทั้งนี้ในปี 2556 อาจารย์ ดร อมร วาณิชวิวัฒน์ สำเร็จการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมรัฐเอกชน ปรอ 26 สังกัดหมู่ เสือ และเป็นกรรมการวิชาการของรุ่น ได้ร่วมนำเสนอผลงานยุทธศาสตร์ด้านการปฏิรูปการเมืองร่วมกับคณะกรรมการวิชาการของรุ่น ในงานสัปดาห์วิชาการความมั่นคงของ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศในปี 2557 ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 รวมทั้งเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของรุ่นอีกด้วย อาจารย์ ได้เป็นหนึ่งในผู้แถลงยุทธศาสตร์ชาติ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ 2556
ผลงานทางวิชาการ
[แก้]- ได้ดำรงตำแหน่ง บรรณาธิการวารสาร "ยุติธรรมคู่ขนาน" วารสารราย ๖ เดือน ก้าวขึนสู่ปีที่ ๙ เพื่อแจกจ่ายกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาและเผยแพร่สู่สังคมทั่วไป และ ฯ ยังได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย [1] [2]
- เป็นผู้นำเสนอบทความในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ ๘ จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ศูนย์การค้าไบเทค บางนา ในหัวข้อทหารอาชีพกับประชาธิปไตย [3]
- เป็นผู้นำเสนอบทความในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ ๙ จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ รัฐประหาร 19 กันยา กับพัฒนาการประชาธิปไตยไทย [4]
- หัวหน้าโครงการวิจัยคดีปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี รับทุนสนับสนุนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค)สำนักนายกรัฐมนตรี 2551
- เป็นผู้อภิปรายทางวิชาการให้กับหน่วยราชการหลายแห่ง เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงาน ก.พ. สถาบันพระปกเกล้า. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันการศึกษาวิชาทหารชั้นสูง โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นต้น ดังได้
- หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยหลักสูตรประชาธิปไตยสำหรับประชาชนโดยทั่วไป ทุนสนับสนุนของสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า
- ผู้เขียนสรุปผลงานการศึกษาปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ เขียนให้กับกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2552
- หัวหน้าโครงการประเมินผลการสอบสวนอุบัติภัยบนท้องถนน สนับสนุนโดย สสส กองทุนส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพแห่งชาติ
- เป็นกรรมการที่ปรึกษาของคณะกรรมการวิชาการ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า
- ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2556 (ส่วนของหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ปรอ รุ่น 26) และเป็นกรรมการวิชาการของรุ่น Win Win Win possible
- ได้ผ่านการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นสูง ณ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผลงานวิจัยส่วนบุคคลของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ ปี 2556)เรื่อง "การปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างบูรณาการและยั่งยืน"คเป็นหนึ่งในผู้แถลงยุทธศาสตร์ชาติของคณะงนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2556 ณ สโมสารกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2557อ
- ศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหารชั้นสูง (ปปร รุ่นที่20) ณ สถาบันพระปกเกล้า
- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่โครงการยุวชนประชาธิปไตยของ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา
- เป็นกรรมการในคณะกรรมการวิชาการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ได้รับรางวัลวิจัยผลงานดี ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) เรื่อง คดีปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี
รางวัลเชิดชูเกียรติ
[แก้]- ได้รับรางวัล "ลูกดีเด่น" ลูกกตัญญูของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
- ศิษย์เก่าดีเด่นสาขานักวิชาการ ประจำปี 2554 โรงเรียนมักกะสันพิทยา หรือ สมาคมโรงเรียนราษฎร์เดิม
- เหรียญสหัทยานาวี พร้อมประกาศนียบัตร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพเรือ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕
- เข็มกิตติมศักดิ์ยุทธวิธีการทำลายใต้น้ำ (สัญลักษณ์เครื่องหมายฉลามขาว) ของ กองเรือยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
- เครื่องหมายพลร่มกิตติมศักดิ์ ศูนย์สงครามพิเศษ
- ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2558 ในโอกาส การสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 81 ปี
- เข็มรัฐาธิปัตย์และปริญญาบัตรแสดงวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาอบรมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ 26)
- เข็มวชิราวุธ ประดับเครื่องหมายโดย พันเอก จักรชัย ศรีคชา ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ
พิธีกร
[แก้]- อาจารย์ฯ เป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการ "มันฝรั่ง (Hot Potato) " ในอดีตทางสถานีโทรทัศน์ TNN 24 (True Channel ช่อง 7) เป็นรายการสอนภาษาที่กระชับ และเปิดให้ความรู้เชิงลึกที่ไม่เหมือนกับรายการสอนภาษาอังกฤษอื่น ๆ และยังเป็นต้นแบบให้หลายรายการนำไปลอกเลียนแบบในเวลาต่อมาอีกหลายรายการ ทั้งในเคเบิลทีวี และ รายการทางสถานีโทรทัศน์ปกติ
- ท่าน ได้รับเกียรติในการรับเชิญเป็นผู้ให้เสียงภาษาไทย ในโอกาส การถ่ายทอดสดพระราชพิธีเสกสมรสบันลือโลกระหว่าง เจ้าฟ้าชายวิลเลียมและแคทเธอรีน ทางสถานีโทรทัศน์ TNN 24 ประมาณห้าชั่วโมงเต็ม เมื่อ 29 เมษายน 2011 ด้วยข้อมูลและข้อคิดเห็นที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครเหมือนสถานีโทรทัศน์แห่งอื่น ๆ
- รายการ "มันฝรั่ง (Hot Potato) " ปัจจุบันได้ดำเนินรายการอยู่เป็นประจำที่ สทท 11 (N B T) ของกรมประชาสัมพันธ์ วันจันทร์ ถึง วันพุธ ในเวลา 1655 น เทปใหม่ตั้งแต่สงกรานต์ที่ผ่านมา (55 )
- เป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการ "ระเบียงข่าว" ต้านคอรัปชั่น ในรายการห้องข่าว 7 สี ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในวันอังคาร เวลาประมาณ 11 น
- เป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการ "คอข่าวรอบโลก" ในวันพฤหัสบดี และ รายการ"คอข่าวการเมือง" ในวันศุกร์ เวลาประมาณเที่ยงคืนยี่สิบห้านาที หรือ สี่สิบหันาที เป็นประจำทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- เป็นพิธีกรรายการ "รัฐศาสตร์สู่สังคม"ทางสถานีวิทยุ จุฬาฯ
- เป็นผู้รับเชิญในรายการวิทยุโทรทัศน์ของรัฐสภา
ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]- ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี (นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช) ในปี พ.ศ. 2554 และสอบได้ได้รับการแต่งตั้งครั้งล่าสุดในปี 2558 (ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร วิษณุ เครืองาม ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป้นประธานกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเป็นประธานคณะกรรมการ) ทำหน้าที่หนึ่งในอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
- ได้เป็นกรรมการจัดหาทุนสนับสนุนการจัดงานวันแม่แห่งชาติและวันคนพิการแห่งชาติของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ตลอดมา อมรฯ ได้รับรางวัล "ลูกผู้มีความกตัญญูอย่างสูงต่อแม่ (รางวัลลูกดีเด่นแห่งชาติ)" ก่อนหน้าการเป็นกรรมการจัดหาทุนของสภาสังคมสงคมฯ
- เป้นกรรมการจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต IACC ในปี 2553
- เป็นกรรมการพิจารณาผลงานการเลื่อนขั้นตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) ต่อเนื่องมาโดยตลอด
- เป็นกรรมการมูลนิธิอัศนี พลจันทร์ หรือ "นายผี" ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการอัยการ จังหวัดตรัง ผู้แต่งเนื้อร้องเพลง "เดือนเพ็ญ" มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย อาทิ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน และ นายธานินทร์ ใจสมุทร อดีตอัยการจังหวัดตรังและประธานมูลนิธิคนปัจจุบัน
- เป็นที่ปรึกษามูลนิธิลดแก๊สเรือนกระจก โดยมีประธานมูลนิธิ คือ พลเอก วีระชัย อินทุโศภณ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- เป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ สำหรับ สำนักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.
- เป็นอนุกรรมการข้าราชการตำรวจ( อนุ ก.ตร. ) ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่ออีก 4 ปี ด้วยคำสั่งหัวหน้า คสช ผู้ใช้อำนาจหน้าที่นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2557)
- เป็นกรรมการที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมด้านกฎหมาย ในขณะที่ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- เป็นที่ปรึกษาคณะทำงานเกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการศึกษาปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ของคณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังการรัฐประหาร 2549
- เป็นกรรมการที่ปรึกษาประธานรัฐสภาด้านการต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕
- เป็นกรรมการศึกษาแนวทางพัฒนาเทศบาลนครแม่สอด เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เปิดประตูรับเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน
- เป็นกรรมการวิชาการ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า
- เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ฮาลาล คณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
- เป็นประธานคณะทำงานการให้ทุนสนับสนุนโครงการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช
- เป็นประธานอนุกรรมการด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการพาณิชย์ ของกรรมการที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของ ประธานรัฐสภา
- เป็นประธานกรรมการวิชาการของหมู่เสือ ในหลักสูตร วปอ 2556 และกรรมการกลางในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ของ นักศึกษา วปอ 2556 (ปรอ 26)
- เข้าร่วมการประชุมเสวนาเพื่อหาทางออกให้ประเทศไทย ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อวันที่ ๑ ๔ ธันวาคม ๕ ๖ ถนน แจ้งวัฒนะ กรุงเทพ
- เป็นโฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการปฎฺรูปการเมือง สภาปฎฺรูปแห่งชาติ
- เป็นโฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการปฎฺรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาปฎฺรูปแห่งชาติ
- เป็นอนุกรรมาธิการ ในส่วนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและองค์กรอิสระ สภาปฎรูปแห่งชาติ
- เป็นอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
- เป็นอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการสร้างความปรองดองฯ
- เป็นกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
- เป็นกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง
- เป็นอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง
- เป็นอนุกรรมาธิการปฏิรูปองค์กรตำรวจ
- เป็นประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบพรรคการเมือง กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช
- เป็นประธานอนุกรรมาธิการศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย กรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช
- เป็นโฆษกอนุกรรมาธิการปฏิรูปองค์กรตำรวจ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช)
- เป็นคณะทำงานพิจารณาทุนสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนต้านคอรัปชั่นของ สำนักงาน ปปช ต่อเนื่อง
- เป็นผู้บรรยายรับเชิญ และ เป็นผู้อ่านงานศึกษาวิจัยในหัวข้อธรรมาภิบาลและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นปี 2557
- เป็นอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ ศ 2559 - 2565
- เป็นผู้ยื่นเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรรมาธิการยกร่างในปี 2558 ในมาตรา 7 ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ
- ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รองประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
- เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Bike for Mom ในวันที่ 16 สิงหาคม 2558
- เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Bike for Dad ในวันที่ 11 ธันวาคม 2558
- ได้สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ราชภักดิ์จักรยานและคอนเสริทซ์ ในวันที่ 12 กันยายน 2558 ระยะทางกว่า 126 กิโลเมตร ณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- รองประธานคณะกรรมการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส)
- เป็นที่ปรึกษา กรมประชาสัมพันธ์
คอลัมนิสต์
[แก้]ปัจจุบัน เป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และพิธีกรรายการ "คอข่าว" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี และพิธีกร รายการ "รู้รอบโลกกับอมร" รวมทั้ง "เคลียร์คัทชัดเจน สุดสัปดาห์" ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ “สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ” ทยอยรายงานตัว อ.จุฬาฯ ประเดิมคนแรก เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก รัฐสภาไทย
- ↑ ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๙, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๖, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๘๖, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บส่วนตัว เก็บถาวร 2007-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- องค์กรที่เป็นผู้ก่อตั้ง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- คอลัมนิสต์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต