องค์การแห่งชาติสิงคโปร์เชื้อสายมลายู
องค์การแห่งชาติสิงคโปร์เชื้อสายมลายู | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | Eunos bin Abdullah |
ประธาน | อาบู โมฮาเม็ด |
เลขาธิการ | มูฮัมมัด ไฮรุลละฮ์ อะฮ์มัด |
คำขวัญ | Bersatu, Bersetia, Berkhidmat |
ก่อตั้ง | 19 มีนาคม 1967 |
แยกจาก | องค์การมลายูรวมแห่งชาติ |
ที่ทำการ | 218F Changi Road PKMS Building, Singapore 419737 |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | ฝ่ายขวา |
สี | แดง |
รัฐสภา | 0 / 104 |
เว็บไซต์ | |
https://www.pkms.org.sg/ | |
การเมืองสิงคโปร์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
องค์การแห่งชาติสิงคโปร์เชื้อสายมลายู (อังกฤษ: Singapore Malay National Organisation; มลายู: Pertubuhan Kebangsaan Melayu Singapura, PKMS; จีน: 新加坡马来民族机构) เป็นพรรคการเมืองในสิงคโปร์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ อาลี บิน อัสยาดี และเลขาธิการทั่วไปของพรรคคือ โมห์ด นาเซ็ม ซูกี
องค์กรนี้มีที่มาจากสหภาพสิงคโปร์เชื้อสายมลายูที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2469[1] เพื่อเป็นตัวแทนของชาวมลายู[2] หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพนี้ได้ออกมาต่อต้านสหภาพมาลายาและได้รวมตัวเข้ากับอัมโนซึ่งกลายเป็นพรรคที่โดดเด่นในสหพันธ์ ส่วนองค์การแห่งชาติมลายูที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ขยายตัวมาจากสาขาในโจโฮร์บะฮ์รูของอัมโน และเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 และได้ 1 ที่นั่งจากอูลูเบอโดะก์[3] ในการเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ พ.ศ. 2502 อัมโนได้ 3 ที่นั่งในพื้นที่ที่มีชาวมลายูมาก[4] ต่อมา ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 สาขาของอัมโนได้ไปจดทะเบียนในชื่อสหองค์การแห่งชาติสิงคโปร์เชื้อสายมลายู
องค์กรนี้ได้เข้าร่วมในพรรคพันธมิตรสิงคโปร์ ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวและได้รวมสาขาของสมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและสภาชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย พรรคนี้สนับสนุนการรวมเข้ากับมาเลเซียและต่อต้านคอมมิวนิสต์ องค์กรได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2506 ในนามพรรคพันธมิตรสิงคโปร์ แต่ได้ที่นั่งลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัฐบาลกัวลาลัมเปอร์ จนสิงคโปร์แยกตัวออกมาจากมาเลเซียใน พ.ศ. 2508
ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2510 องค์กรเปลี่ยนชื่อเป็นองค์การแห่งชาติสิงคโปร์เชื้อสายมลายู แต่ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอัมโนอยู่[5] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2511 องค์กรไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมและสนับสนุนแนวร่วมสังคมนิยมที่คว่ำบาตรรัฐสภาสิงคโปร์ ต่อมา ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 องค์กรนี้เข้าร่วมในแนวร่วมที่เรียกพันธมิตรประชาธิปไตยสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยพรรคยุติธรรมสิงคโปร์ พรรคประชาชนสิงคโปร์ และพรรคความเป็นปึกแผ่นแห่งชาติ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Roff, William R. (1995). The Origins of Malay Nationalism. New York: Oxford University Press (USA). p. 90. ISBN 967-65-3059-X.
- ↑ "Muhammad Eunos Bin Abdullah". MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-01. สืบค้นเมื่อ 25 June 2008.
- ↑ "Singapore Legislative Assembly General Election 1955". Singapore Elections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ "Singapore Legislative Assembly General Election 1959". Singapore Elections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ "Pertubuhan Kebangsaan Melayu Singapura". Singapore Elections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ "Singapore Democratic Alliance". Singapore Elections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-29. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
บรรณานุกรม
[แก้]- Lau, Albert (1998). A Moment of Anguish: Singapore in Malaysia and the Politics of Disengagement. Singapore: Times Academic Press. ISBN 981-210-1349.
- Roff, William R. (1995). The Origins of Malay Nationalism. New York: Oxford University Press (USA). p. 90. ISBN 967-65-3059-X.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2023-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน