ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต
หม่อมเจ้าชั้น 5
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
ประสูติ25 ธันวาคม พ.ศ. 2456
สิ้นชีพตักษัย1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (76 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ชายาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
หม่อมหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่
หม่อมบุญพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต
หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต
หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต
หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต
ราชสกุลรังสิต
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระมารดาหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา
ศาสนาพุทธ

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต (25 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533) เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต มีพระนามลำลองว่า ท่านชายปิยะ[1]เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา มีโสทรอนุชาและโสทรขนิษฐาสององค์ คือ หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต (19 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - 10 กันยายน พ.ศ. 2538) และจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์ (เดิม: หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2467 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555)

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ มีธิดาหนึ่งคน คือ

  • หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต

จากนั้นได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ต่อมาคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีธิดาสองคน คือ

และหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ยังมีโอรสหนึ่งคนกับหม่อมบุญพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) คือ

  • หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต

การศึกษา

[แก้]

ธุรกิจ

[แก้]

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต ถึงชีพิตักษัยด้วยพระโรคหทัยวายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดเชียงใหม่ สิริชันษา 76 ปี 1 เดือน 6 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 84 ตอนที่ 41 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
  3. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
  4. ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2496 เล่ม 70 ตอนที่ 54