ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐเกาหลีที่สาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเกาหลี

대한민국
大韓民國
1963–1972
ที่ตั้งของเกาหลีใต้
เมืองหลวงโซล
ภาษาทั่วไปเกาหลี
การปกครองสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีแบบเดี่ยวภายใต้เผด็จการทหารทางลัทธิอำนาจนิยม
ประธานาธิบดี 
• 1963–1972
ปาร์ค ชุง-ฮี
นายกรัฐมนตรี 
• 1963-1964
Choi Tu-son
• 1964-1970
Chung Il-kwon
• 1970-1971
Baek Du-jin
• 1971-1972
Kim Jong-pil
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• ก่อตั้ง
17 ธันวาคม 1963
21 พฤศจิกายน 1972
สกุลเงินวอนเกาหลีใต้
รหัส ISO 3166KR
ก่อนหน้า
ถัดไป
สภาสูงสุดสำหรับการสร้างชาติใหม่
สาธารณรัฐเกาหลีที่สี่
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้

สาธารณรัฐที่สามของเกาหลีใต้ เป็นรัฐบาลของเกาหลีใต้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1963 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1972

สาธารณรัฐที่สามได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากการยุบของสภาสูงสุดสำหรับการสร้างชาติใหม่ที่ได้โค่นล้มสาธารณรัฐที่สองและก่อตั้งรัฐบาลทหารในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 พัก ช็อง-ฮี ประธานของสภาสูงสุด ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1963 สาธารณรัฐที่สามได้ถูกนำเสนอในฐานะรัฐบาลพลเรือนอีกครั้งภายใต้การประชุมสมัชชาแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ยังคงเป็นอำนาจเผด็จการภายใต้การนำของนายพัก, สมาชิกสภาสูงสุด และพรรครีพับลิกันประชาธิปไตย สาธารณรัฐที่สามได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐและญี่ปุ่น นายพักได้รับเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1967 และการประชุมสมัชชาแห่งชาติได้บีบบังคับผ่านทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่ออนุญาตให้เขาขอวาระที่สาม และได้รับเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1971 นายพักได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1971 และประกาศแผนการสำหรับการรวมชาติเกาหลีในแถลงการณ์ร่วมกับเกาหลีเหนือในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1972 นายพักได้เปิดฉากการสร้างชาติใหม่เดือนตุลาคม(October Restoration)ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1972 ประกาศกฏอัยการศึก ล้มเลิกสมัชชาแห่งชาติ และประกาศแผนการสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สาธารณรัฐที่สามก็ได้ถูกล้มเลิกไป เมื่อได้มีการอนุมัติประกาศใช้รัฐธรรมนูญยูซินในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1972 การออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญและถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐเกาหลีที่สี่

อ้างอิง

[แก้]