สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2447 |
มรณภาพ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นโท เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม ทิม ฉายา อุฑาฒิโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
ประวัติ
[แก้]กำเนิด
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า ทิม พันทา (ภายหลังเปลี่ยนเป็นพันธุเลปนะ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายอ่อนตากับนางเทศ พันทา (ซึ่งมีบุตรรวมทั้งสิ้น 9 คน) ภูมิลำเนาอยู่บ้านดอนสะแก ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
อุปสมบท
[แก้]พ.ศ. 2462 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แล้วศึกษาอยู่ที่วัดนี้ต่อจนถึงปี พ.ศ. 2467 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรโมลี (อาบ อุปคุตฺโต) วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษา
[แก้]เมื่อยังเป็นสามเณร ท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ. 2465 และสอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคในปี พ.ศ. 2468 ต่อมาสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2472 และสุดท้ายสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคในปี พ.ศ. 2480[1]
นอกจากนี้ท่านยังศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤตที่มหามกุฏราชวิทยาลัย[2] และศึกษาโหราศาสตร์จนแตกฉาน[3]
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2489 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธาธรรมรส[4]
- พ.ศ. 249? เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธากร สุนทรธรรมวรยุต พุทธบริษัทปสาทการี ตรีปิฎกธรรมวิภูษิต ศาสนกิจธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาที ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมปัญญาจารย์ ปริยัติญาณโสภณ วิมลศีลาจารวัตร พุทธปริษัทปสาทกร สุนทรธรรมวินยวาที ตรีปิฎกวิภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธกิจโจปการวัฒนานุการี คัมภีรญาโณภาสราชโหราธิบดี ศรีธรรมวิสุทธอุปกาสวรางกูร ไพบูลปาพจนวราลงกรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[8]
มรณภาพ
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เวลา 14.30 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโกศไม้สิบสองเป็นเกียรติยศประกอบศพ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 7 คืน
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 18
- ↑ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 19
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 2, หน้า 175
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอนที่ 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 358
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 75, ตอนที่ 109 ง, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3133
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 83, ตอนที่ 114 ง ฉบับพิเศษ, 19 ธันวาคม 2509, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอนที่ 34 ก ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 8-11
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 111, ตอนพิเศษ 1 ง, 7 มกราคม 2537, หน้า 1-4
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 174-177. ISBN 974-417-530-3
- วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร, 2544. 17-34 หน้า. [งานพระราชทานเพิงศพ สมเด็จพระมหาวีวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544]