สมรภูมิบ้านร่มเกล้า
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม และ สงครามเย็น | |||||||||
เนิน 1428 อดีตสมรภูมิรบอันดุเดือดในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า มองจากอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ไทย
|
สหภาพโซเวียต คิวบา | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ชวลิต ยงใจยุทธ | ไกสอน พมวิหาร | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ไทย: ทหารเสียชีวิต 147 นาย ทหารได้รับบาดเจ็บ 166 นาย[1] |
ลาว ลาว: ทหารเสียชีวิต 286 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย [1] เวียดนาม: ทหารเสียชีวิต 157 นาย (ทหารโซเวียตเสียชีวิต 2 นาย) (ทหารคิวบาเสียชีวิต 2 นาย) |
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า หรือ ยุทธการบ้านร่มเกล้า เป็นการเผชิญหน้าช่วงสั้น ๆ ระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ณ บริเวณบ้านร่มเกล้า ตรงชายแดนไทย–ลาว ผลสืบเนื่องจากข้อพิพาทชายแดนที่ยืดเยื้อมาแต่สมัยแผนที่ฝรั่งเศสเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
เริ่มมีการยิงปะทะกันเล็กน้อยระหว่างสองชาติในปี 2527 อย่างไรก็ดี ในเดือนธันวาคม 2530 กองทัพไทยเข้ายึดบ้านร่มเกล้าซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท และชักธงไทย รัฐบาลลาวประท้วงอย่างรุนแรง โดยยืนยันว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแขวงไชยบุรี ฝ่ายลาวได้เข้าตีกลางคืนต่อที่มั่นของไทย สามารถขับไล่ทหารไทยออกจากหมู่บ้านและชักธงลาวขึ้นแทน หลังจากนั้นมีการต่อสู้อย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายสัปดาห์จนมีการประกาศหยุดยิงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531
บทสรุปของการสู้รบ
ตลอดการปะทะกับบนสมรภูมิร่มเกล้า ทหารไทยเสียชีวิต 147 คน บาดเจ็บ 166 คน ขณะที่กองทัพภาคที่ 3 รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บต่างออกไปคือ บาดเจ็บสาหัส 167 คน บาดเจ็บเล็กน้อย 550 คน และทุพพลภาพ 55 คน ไทยใช้งบประมาณในสมรภูมิร่มเกล้าไปราว 3,000 ล้านบาท
ขณะที่ตัวเลขความสูญเสียของลาวนั้นไม่แน่ชัด แต่ประมาณเอาไว้ว่าทหารลาวเสียชีวิตประมาณ 300-400 คน บาดเจ็บประมาณ 200-300 คน และเชื่อว่ามีทหารต่างชาติของโซเวียต เวียดนาม และ คิวบา รวมอยู่ด้วย ฝ่ายไทยเชื่อว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติมาช่วยรบและสนับสนุนแต่ฝ่ายลาวปฏิเสธในเรื่องนี้
สาเหตุ
[แก้]สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ โดยในปี พ.ศ. 2450 สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ยึดถือจากผลการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้กำหนดให้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่สำรวจแผนที่ของฝรั่งเศสได้พบว่าแม่น้ำเหืองมีสองสาย[2] จึงได้เขียนแผนที่โดยยึดสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากกว่าเดิม และไม่ได้แจ้งให้รัฐบาลสยามทราบ ต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐได้จัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ และได้พบแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ชื่อว่า ลำน้ำเหืองป่าหมัน[2] ซึ่งไม่เคยปรากฏในเอกสารสนธิสัญญาระหว่างสยาม–ฝรั่งเศส มาก่อน
ในปี พ.ศ. 2530 ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า และยกกำลังเข้ามายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น[ต้องการอ้างอิง]
ยุทธการสอยดาว
[แก้]วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 กองทัพภาคที่ 3 เริ่มส่งกำลังเข้าโจมตีเนิน 1428 โดยใช้กองกำลังทหารราบ ทหารพรานและทหารม้า โดยการสนับสนุนจากกองทัพอากาศไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายลาวมีชัยภูมิที่ดีกว่า และได้รับการสนับสนุน จากสหภาพโซเวียตและเวียดนาม[ต้องการอ้างอิง]
ยุทธการบ้านร่มเกล้า
[แก้]จากคำบอกเล่าของทหารที่อยู่แนวหน้า[ต้องการอ้างอิง] ระบุว่าทหารไทยในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าต้องรบกับข้าศึกที่มียุทธภูมิดีกว่า มีอำนาจการยิงสนับสนุนต่อเนื่องและรุนแรง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะแนวกับระเบิด ทหารหลายนายซึ่งผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน กล่าวว่า เป็นการรบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมาในชีวิตการเป็นทหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะบริเวณเนิน 1182, 1370, และ 1428
ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่งถูกยิงตกด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน และจรวดแซม[ต้องการอ้างอิง] อเมริกันไม่สนับสนุนไทยในการรบครั้งนี้เเละอเมริกันไม่ขายอาวุธให้ไทย
เนื้อหาส่วนนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์ หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้าอภิปรายแล้วนำป้ายนี้ออกได้ กรุณาศึกษาวิธีเขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณทราบว่าเนื้อหาส่วนนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ลบเนื้อหาดังกล่าวออก |
ประภาสกรำศึกในสมรภูมิร่มเกล้าตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ประสบการณ์เฉียดตาย ๒๗ วันนั้นยังชัดเจนในความทรงจำ เขาเล่าว่าที่หมายทางทหารของไทยมีทั้งหมด ๕ จุด ที่หมาย ๑ คือเนิน ๑๔๒๘ เป็นจุดที่ต้องยึดให้ได้ และทหารพรานจากค่ายปักธงชัย ๙ กองร้อยกับ ๑ ฐานยิง ประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด ๘๐ ๑๑๐, ๑๒๐ มม. ได้รับมอบหมายให้อยู่ในแนวหน้าตีจุดนี้ส่วนจุดอื่น ๆ ทหารหลักเป็นผู้รับผิดชอบ“กองทัพไทยอ่านเกมขาดว่าค่าตัวทหารหลักแพงกว่าทหารพรานที่มีค่าอาหารวันละ ๒๔๐ บาท ค่าจู่โจม ๑๘๐ บาท ตายแล้วจ่ายแค่ ๒ แสนบาทจบ คิดดูว่าเขาส่งทหารยศจ่าสิบเอกเท่านั้นมาคุมหน่วยผม ไม่ใช้นายร้อยเพราะไม่คุ้ม ปรกติทหารพรานถูกฝึกรบนอกแบบ (สงครามกองโจร) แต่ศึกนี้จัดกำลังในแบบ ซึ่งไม่เหมาะ ตอนไปถึงที่นั่นปืนใหญ่เราล้อมที่หมาย ๑ เป็นรูปครึ่งวงกลม เราต้องเข้าตีเนิน ๑๔๒๘ จากด้านหนึ่ง ถ้าตีได้จะตีเนินที่เหลือได้ทั้งหมด ที่ร่มเกล้าภูมิประเทศเป็นภูเขาดิน พอฝนตกจะลื่นมาก เนิน ๑๔๒๘ ชันราว ๗๐ องศา ไม่มีที่ราบ ฐานของลาวไม่ได้อยู่ยอดเนิน แต่อยู่ต่ำลงมาจากยอดเนิน เขาทำแนวตั้งรับไว้ ๓ แนว แนวแรกคือรั้วขวาก ไม้รวก แนวที่ ๒ คือกับระเบิด แนวที่ ๓ คือคูเลด (สนามเพลาะ) แนวตั้งรับจากแนวแรกถึงแนวสุดท้ายลึก ๑ กิโลเมตร ตามโคนไม้ก็วางระเบิดเต็มไปหมดเพราะรู้ว่าเวลายิงกันทหารไทยจะไปตรงนั้น ปืนใหญ่ลาวแม่นมากขณะที่ปืนใหญ่ไทยยิงไม่แม่น แม้จะเป็นฝ่ายรุกแต่ใจเราตั้งรับเพราะเสี่ยงมาก ยิงกันพักเดียวโดนหามลงมาทีละคน ๆ ผมคิดแล้วว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงทหารลาวตลอดแต่ไม่เห็นตัวเลย”
หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่าง ๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 นาย[ต้องการอ้างอิง]
กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบแซม 7[ต้องการอ้างอิง]
ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก ด้วยมีความเสียเปรียบหลายประการ ในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่หลังพบว่าการรบในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะนายทหารจึงปรับแผนการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่าง ๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]
ผลที่ตามมา
[แก้]ประเทศไทยและประเทศลาวร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย–ลาว (JBC) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539[3] เพื่อปักปันพรมแดนซึ่งมีความยาว 1,810 กิโลเมตร ทั้งสองประเทศยังวางแผนที่จะเสร็จสิ้นการปันเขตแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาว 1,100 กิโลเมตร ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยร้อยละ 96.3 เสร็จสิ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2546–2550[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Clodfelter, M. (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015 (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. ISBN 978-0786474707. Page 627.
- ↑ 2.0 2.1 วัชระ ฤทธาคนี, พล.อ.ท., ทหารอากาศกับการเมือง (52), สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, ปีที่ 56 ฉบับที่ 21 1 พฤษภาคม 2552, หน้า 17
- ↑ กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาเขตแดนไทย-ลาว บริเวณสามหมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์ และบริเวณบ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
- ↑ Supalak Ganjanakhundee. Lao border talks progressing เก็บถาวร 2012-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เก็บถาวร 2007-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9
- ประวัติศาสตร์การทหารของไทย
- ประวัติศาสตร์ลาว
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตไทย
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตลาว
- ความสัมพันธ์ไทย–ลาว
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–เวียดนาม
- เหตุการณ์ในจังหวัดพิษณุโลก
- อำเภอชาติตระการ
- แขวงไชยบุรี
- สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สงครามในคริสต์ทศวรรษ 1980
- สงครามลาว–สยาม
- สงครามตัวแทน
- สงครามอินโดจีน
- สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม
- สงครามเย็น
- สงครามเกี่ยวข้องกับไทย
- สงครามเกี่ยวข้องกับลาว
- สงครามเกี่ยวข้องกับเวียดนาม
- ยุทธการเกี่ยวข้องกับไทย
- ยุทธการเกี่ยวข้องกับลาว
- ยุทธการเกี่ยวข้องกับเวียดนาม
- พ.ศ. 2530
- พ.ศ. 2531
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2530
- ประเทศลาวในปี พ.ศ. 2530
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531
- ประเทศลาวในปี พ.ศ. 2531
- บทความเกี่ยวกับ การทหาร ที่ยังไม่สมบูรณ์