วัดหนองกระธาตุ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วัดหนองกระธาตุ | |
---|---|
ไฟล์:.JPG | |
ชื่อสามัญ | วัดหนองกระธาตุ (Wat-nong-ka-that) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 บ.หนองกระธาตุ ม.5 ต.โคกสะอาด อ.หนองแซง จ.สระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธชินราช ขนาดพระเพลากว้าง 40 นิ้ว สูง 76 นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระมาโนช |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดหนองกระธาตุ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านหนองกระธาตุ หมู่ที่ 5 ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ.[1]
2. ประวัติ
[แก้]วัดหนองกระธาตุ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2300 โดยนายเริง ไม่ทราบนามสกุล เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านนี้มีหนองน้ำใหญ่และมีพืชชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากมีลักษณะเป็นเคลือเถาวัลย์ เรียกว่า "เคลือพระธาตุ" จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและตั้งเป็นชื่อวัดด้วย ภายในวัดยังมีโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ด้วย ซึ่งทางวัดก็ได้ให้ความอุปถัมภ์ตลอดมาจนปัจจุบัน วัดหนองกระธาตุ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 11.5 เมตร ยาว 23.5 เมตร.[2]
3. เสนาสนะ
[แก้]- 3.1 อุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 11.5 เมตร ยาว 23.5 เมตร
- 3.2 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 31.5 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย 2 ชั้น
- 3.3 หอสวดมนต์ กว้าง 20 เมตร ยาว 29.5 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 เป็นอาคารทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้
- 3.4 กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง
- 3.5 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 10 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
- นอกจากนี้ ยังมี ฌาปนสถาน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง.[3]
4. ปูชนียวัตถุ
[แก้]- 4.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธชินราช ขนาดพระเพลากว้าง 40 นิ้ว สูง 76 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520
- 4.2 พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 50 นิ้ว สูง 85 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536.[4]
5. การบริหารและการปกครอง
[แก้]- 1. พระสีมา พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
- 2. พระเพชร พ.ศ. 2411 ถึง พ.ศ. 2412
- 3. พระสด พ.ศ. 2413 ถึง พ.ศ. 2441
- 4. พระตุ่น พ.ศ. 2442 ถึง พ.ศ. 2455
- 5. พระสงค์ พ.ศ. 2456 ถึง พ.ศ. 2466
- 6. พระยอด พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2480
- 7. พระชมภู พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2484
- 8. พระอ่อน ธิติญาโณ พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2495
- 9. พระเม้า กนฺตสีโล พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2499
- 10. พระครูผาสุกิจโสภณ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2547
- 11. พระปลัดทวิช ฐิติมโน พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2551
- 12. พระใบฏีกาตุลยวัตร จนฺทสาโร พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๔
- 13. พระมาโนช พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึง ปัจจุบัน .[5]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระสีมา | เจ้าอาวาส | พ.ศ. - | พ.ศ. - | ||
2 | พระเพชร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2411 | พ.ศ. 2412 | ||
3 | พระสด | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2413 | พ.ศ. 2441 | ||
4 | พระตุ่น | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2442 | พ.ศ. 2455 | ||
5 | พระสงค์ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2466 | ||
6 | พระยอด | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2467 | พ.ศ. 2480 | ||
7 | [[พระชมภู ]] | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2484 | ||
8 | พระอ่อน ธิติญาโณ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2495 | ||
9 | พระเม้า กนฺตสีโล | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2496 | พ.ศ. 2499 | ||
10 | พระครูผาสุกิจโสภณ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2500 | พ.ศ. 2547 | ||
11 | พระปลัดทวิช ฐิติมโน | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2551 | ||
12 | พระใบฏีกาตุลยวัตร จนฺทสาโร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2554 | ||
1ุ3 | พระมาโนช | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2554 | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๕๑๒.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๕๑๓.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๑.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๕๑๒.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๕๑๓.