ลูซิเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนังสือเอเสเคียล คำว่า "ลูซิเฟอร์" หมายถึงทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับไล่

ลูซิเฟอร์ (อังกฤษ: Lucifer) เป็นคำ ๆ หนึ่งจากการถอดเสียงคำภาษาฮีบรู הֵילֵל ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 14 ข้อที่ 12 คำนี้สามารถถอดเสียงออกมาได้ว่า เฮเลล [1] คำนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฮีบรู[1] ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ส่องแสง"[2] คำว่าลูซิเฟอร์ปรากฏครั้งแรกใน ค.ศ. 382 เมื่อคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต[3] แปล הֵילֵל เป็นภาษาละตินว่า Lucifer [4][5] หลังจากนั้น คำนี้เริ่มแพร่หลายในเกาะอังกฤษเมื่อคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (ค.ศ. 1604) รับเอาคำว่า Lucifer ตามฉบับวัลเกต

คริสตชนโบราณยุคหลัง มักจะใช้คำในภาษาละตินว่า ลูซิเฟอร์ ในฐานะมารก่อนตกสวรรค์[6] เพื่อแทนตัวตนของมาร/ซาตาน ทำให้ลูซิเฟอร์ในภาพลักษณ์ปีศาจถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวิหารและวรรณกรรมนิยมมากมาย[3] มหากาพย์ที่โด่งดังของอังกฤษเรื่อง สวรรค์ลา โดยจอห์น มิลตัน ตั้งชื่อตัวเอกว่าลูซิเฟอร์ก่อกบฏต่อพระเจ้าจนตกจากสวรรค์ และความคิดนี้ก็แพร่หลายไปในคนทั่วไปโดยเฉพาะชาวคริสต์

หากยึดตามพระคัมภีร์ คำว่าลูซิเฟอร์คือฉายาหนึ่งของซาตาน แต่ซาตานไม่ใช่คนเดียวที่ได้ฉายาลูซิเฟอร์ ดังนั้นการสรุปว่าลูซิเฟอร์กับซาตานคือบุคคลเดียวกันจึงถูกต้องเพียงส่วนเดียว

การตีความเปรียบเทียบของคริสเตียน[แก้]

นอกเหนือจากคำว่า "เจ้าผู้ส่องแสง" ที่ปรากฏในหนังสืออิสยาห์ บท 14 หมายถึงพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน (634 ก่อนค.ศ. – 562 ก่อนค.ศ.)[7][8] นักประพันธ์ชาวคริสต์ได้นำคำนี้มาใช้สื่อถึงซาตาน ซึ่งรองศาสตราจารย์ ไซกีฟ เค. ทันสเตด ได้โต้แย้งว่าในพันธสัญญาใหม่ ประเด็นที่ปรากฏในหนังสือวิวรณ์ บทที่ 12 ซึ่งเป็นตอนสงครามบนสวรรค์ กล่าวว่าพญานาคที่เข้าสู้รบกับกองทัพพระเจ้านี้ "คืองูดึกดำบรรพ์ที่เรียกกันว่า มาร หรือ ซาตาน...ถูกเหวี่ยงลงมาบนโลกพร้อมกับทูตสวรรค์ของมัน" ข้อความนี้ถูกนำไปเชื่อมกับอิสยาห์บท 14:12[9] ออริเจน นักโหราศาสตร์ชาวกรีก ก็ตีความข้อความในพันธสัญญาเก่านี้ว่าเป็นการปรากฏของมาร แต่แน่นอนว่าเขาเขียนเป็นภาษากรีก ไม่ใช่ละติน เขาจึงไม่ได้แทนคำว่าปีศาจนี้ด้วยคำว่า "ลูซิเฟอร์" [10][11][12][13]

เทอร์ทัลเลียน นักเขียนชาวคริสต์ผู้ใช้ภาษาละติน ถึงแม้เขาจะเข้าใจข้อความในหนังสืออิสยาห์ บท 14:14 ("ข้าจะขึ้นไปเหนือความสูงของเมฆ ข้าจะกระทำตัวของข้าเหมือนองค์ผู้สูงสุด") ว่าเป็นคำพูดของจอมมาร[14] แต่เขาก็ไม่ได้ใช้คำที่แทนถึงจอมมารนั้นว่า "ลูซิเฟอร์"[15] แม้กระทั่งในยุคของออกัสตินแห่งฮิปโป นักเขียนละติน คำว่า "ลูซิเฟอร์" ก็ยังไม่ถูกใช้ในฐานะจอมมาร [10]

พันธสัญญาเดิม[แก้]

แนวความคิดเรื่องชื่อ "ลูซิเฟอร์" มีนักวิชาการให้ข้อสันนิษฐานไว้ 2 แบบด้วยกัน โดยแนวทางแรกยกมาจากหนังสืออิสยาห์ที่ยืนยันว่า ลูซิเฟอร์ หมายถึง พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน เพราะพระองค์ทรงทนงตนและยกตนเทียบเคียงพระเจ้า และแนวทางที่สองยกมาจากหนังสือเสเคียล ที่ยืนยันว่า ลูซิเฟอร์ หมายถึง ทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับออกจากสวรรค์ เพราะเป็นทูตสวรรค์ที่ถูกขับไล่โดยพระเจ้าและเคยเฝ้าศิลาเพลิงกับเครูปมาก่อน มีการกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างทูตสวรรค์ตนนั้น

หนังสืออิสยาห์[แก้]

เนบูคัดเนซซาร์ที่ 2โดย วิลเลียม เบลก ที่อยู่ในสภาพพระสติฟั่นเฟือน

ชาวอิสราเอลในเยรูซาเลมไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระเจ้าอีก พระเจ้าจึงต้องการลงโทษพวกเขา โดยอาศัยการเรืองอำนาจของจักรวรรดิบาบิโลนเข้าทำลายกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อเยรูซาเลมถูกทำลายลง ชาวยิวผู้เป็นผู้พยากรณ์ของพระเจ้า คือดาเนียลและเพื่อนถูกจับพร้อมเหล่าเชลยไปยังบาบิโลน ดาเนียลมีโอกาสทำนายนิมิตที่แปลกประหลาดให้แก่ พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน ดาเนียลสามารถทำนายได้อย่างถูกต้อง ดาเนียลอธิบายว่าเดชานุภาพอันเกรียงไกรของพระองค์มาจากพรของพระผู้เป็นเจ้า และเมื่อดาเนียลทูลคำอธิบายจบแล้ว พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ทรงหมอบกราบดาเนียล และหันไปนับถือพระยาห์เวห์ ทรงตั้งดาเนียลให้ปกครองบาบิโลนทั้งมณฑล ภายหลังมีเหตุการณ์ที่สหายของดาเนียลทำให้พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์พิโรธจึงถูกโยนเข้าเตาไฟ แต่ก็ไม่เป็นอะไรเลย พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ยิ่งศรัทธาในองค์พระยาห์เวห์

อาณาจักรของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 ยิ่งใหญ่มาก จนวันหนึ่งพระองค์กล่าวชื่นชมความยิ่งใหญ่ของตนเอง พระเจ้าจึงทำการลงโทษพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ โดยการริบรอนราชอำนาจสติปัญญา และถูกขับไล่จากมวลมนุษย์ให้ใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน กินหญ้า เนื้อตัวเปียกชุ่ม เป็นเวลาเจ็ดกาล (มักถูกตีความว่าหมายถึงเจ็ดปี) ดังที่ปรากฏในหนังสืออิสยาห์ ว่า

...โอ เจ้า​ร่วง​ลง​จาก​ฟ้า‍สวรรค์​อย่าง‍ไร​หนอ เจ้า​ผู้‍ส่อง‍แสง คือ​โอรส​แห่ง​รุ่ง‍อรุณ เจ้า​ถูก​เหวี่ยง​ลง‍มา​ยัง​พื้น‍ดิน​อย่าง‍ไร​หนอ เจ้า​ผู้​ทำ​ให้​ประ‌ชา‍ชาติ​ทั้ง‍หลาย​ตก‍ต่ำ เจ้า​เอง​รำพึง​ใน​ใจ​ของ​เจ้า​ว่า...ข้า​จะ​ขึ้น​ไป​เหนือ​ความ​สูง​ของ​เมฆ ข้า​จะ​ทำ​ให้​ตัว​ของ​ข้า‍เอง​เหมือน​องค์‍ผู้‍สูง‍สุด ’แต่​เจ้า​ถูก​นำ​ลง‍มา​สู่​แดน​คน‍ตายยัง​ก้น​บา‌ดาล บรร‌ดา​ผู้​เห็น​เจ้า​จะ​จ้อง‍มอง​เจ้าและ​จะ​คิด​พิจาร‌ณา​ตัว‍เจ้า​ว่า‘ ชาย​คน​นี้​หรือ​ที่​ทำ​ให้​โลก​สั่น‍สะ‌เทือน? ที่​เขย่า​อาณา‌จักร​ทั้ง‍หลาย?[16]

เมื่อผ่านไปเจ็ดกาล พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ทรงได้สติสัมปัญญาคืนมา เนบูคัดเนซซาร์กล่าวสรรเสริญพระยาห์เวห์ เหล่าขุนนางมาตามพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่บัดนี้ได้ละทิ้งบาป ให้กลับไปครองราชบัลลังก์ตามเดิม

ดังนั้น "ผู้ส่องแสง" ในหนังสืออิสยาห์นี้จึงหมายถึงพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน หาได้หมายถึงทูตสวรรค์ที่มีอำนาจมากและคิดกบฎต่อพระเจ้าจนถูกขับไล่ออกจากสวรรค์ไม่

หนังสือเอเสเคียล[แก้]

ในด้านของหนังสือเอเสเคียลยังคงมีการยืนยันถึง "ลูซิเฟอร์" ว่ายังคงหมายถึงชื่อของทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับออกจากสวรรค์ โดยมีการกล่าวถึงกษัตริย์เมืองไทระ ว่า

...บุตร​มนุษย์​เอ๋ย จง​กล่าว​บท​คร่ำ‍ครวญ​เพื่อ​กษัตริย์​ไท‌ระ และ​จง​กล่าว​กับ​เขา​ว่า พระ‍ยาห์‌เวห์​องค์‍เจ้า‍นาย​ตรัส​ดัง‍นี้​ว่า เจ้า​เป็น​แบบ‍อย่าง​ของ​ความ​สม‌บูรณ์ เต็ม​ด้วย​สติ​ปัญญา​และ​มี​ความ​งาม‍พร้อม เจ้า​อยู่​ใน​สวน​เอ‌เดน อุทยาน​ของ​พระ‍เจ้า อัญมณี​ทุก‍อย่าง​เป็น​เครื่อง‍แต่ง‍กาย​ของ​เจ้า คือ​คาร์‌เน‌เลียน เพอ‌ริ‌โด เพชร เบ‌ริล โอ‌นิกซ์ และ​แจส‌เพอร์ ไพลิน เทอร์‌คอยซ์ และ​มรกต อัญมณี​เหล่า‍นี้​ฝัง​ใน​ทอง‍คำ ที่​แกะ‍สลัก​เป็น​ลวด‍ลาย สิ่ง​เหล่า‍นั้น​จัด‍เตรียม​ไว้​แล้ว ใน​วัน‍ที่​เจ้า​ถูก​สร้าง​ขึ้น​มา เรา​แต่ง‍ตั้ง​เจ้า​ไว้​โดย​มี​เค‌รูบ​เป็น​ผู้​พิ‌ทักษ์ เจ้า​อยู่​บน​ภูเขา​บริ‌สุทธิ์​ของ​พระ‍เจ้า และ​เจ้า​เดิน​อยู่​ท่าม‍กลาง​ศิลา​เพลิง เจ้า​ปราศ‌จาก​ตำ‌หนิ​ใน​วิถี‍ทาง​ของ​เจ้า ตั้ง‍แต่​วัน‍ที่​เจ้า​ถูก​สร้าง​ขึ้น จน​เมื่อ​พบ​บาป‍ชั่ว​ใน​ตัว‍เจ้า ใน​การ‍ค้า​มาก‍มาย​ของ​เจ้า​นั้น เจ้า​เต็ม‍ไป‍ด้วย​การ​ทา‌รุณ และ​เจ้า​ทำ​บาป เรา​ขับ​เจ้า​ไป​จาก​ภูเขา​ของ​พระ‍เจ้า​อย่าง​ไร้​เกียรติ และ​เค‌รูบ​ผู้‍พิ‌ทักษ์​นั้น​ก็​ขับ​เจ้า​ออก​ไป จาก​ท่าม‍กลาง​ศิลา‍เพลิง ใจ​เจ้า​ผยอง​ขึ้น​เพราะ​ความ​งาม​ของ​เจ้า เจ้า​ทำ​ให้​ปัญญา​ของ​เจ้า​วิปริต​ไป เนื่อง‍ด้วย​ความ​สง่า‍งาม​ของ​เจ้า เรา​เหวี่ยง​เจ้า​ลง​บน​ดิน​แล้ว เรา​ให้​เจ้า​ถูก​กษัตริย์​ทั้ง‍หลาย​มอง​อย่าง​ดู‍แคลน[17]

"เจ้า" คำนี้ หมายถึง ทูตสวรรค์ที่ถูกขับไล่จากสวรรค์ โดยในภาษาละตินใช้คำว่า "ลูซิเฟอร์" ในการกล่าวถึงทูตสวรรค์ตนนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Hebrew Concordance: hê·lêl - 1 Occurrence - Bible Suite". Bible Hub. Leesburg, Florida: Biblos.com. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  2. Strong's Concordance, H1966: "shining one, morning star, Lucifer; of the king of Babylon and Satan (fig.)"
  3. 3.0 3.1 Kohler, Dr. Kaufmann (2450). Heaven and hell in Comparative Religion with Special Reference to Dante's Divine Comedy. New York: The MacMillanCompagny. pp. 4–5. ISBN 0-76616608-2. Lucifer, is taken from the Latin version, the Vulgate[ลิงก์เสีย]
  4. "Latin Vulgate Bible: Isaiah 14". DRBO.org. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.
  5. "Vulgate: Isaiah Chapter 14" (ภาษาละติน). Sacred-texts.com. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.
  6. "Lucifer". สารานุกรมบริแทนนิกา. สืบค้นเมื่อ 6 September 2013.
  7. Helel ben Shaḥar "day-star, son of the morning"; planet Venus is one of the brightest celestial bodies at night, which can be seen in the early morning when no other star can be seen any more, but vanishes when the sun, the real light, rises.
  8. "ASTRONOMY - Helel Son of the Morning". The unedited full-text of the 1906 Jewish Encyclopedia. JewishEncyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  9. Sigve K Tonstad, (20 January 2007). Saving God's Reputation. London, New York City: Continuum. p. 75. ISBN 978-0-56704494-5. สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 Link, Luther (1995). The Devil. A Mask without a Face. Clerkenwell, London: Reaktion Books. p. 24. ISBN 0-94846267-1. ISBN 978-0-94846267-2.
  11. Kelly, Joseph Francis (2002). The Problem of Evil in the Western Tradition. Collegeville, Minnesota: Liturgical Press. p. 44. ISBN 0-81465104-6. ISBN 978-0-81465104-9.
  12. Auffarth, Christoph; Stuckenbruck, Loren T., eds. (2004). p. 62.
  13. Fekkes, Jan (1994). Isaiah and Prophetic Traditions in the Book of Revelation. London, New York City: Continuum. p. 187. ISBN 1-85075456-X. ISBN 978-1-85075456-5.
  14. "Tertullian, ''Adversus Marcionem'', book 5, chapters 11 and 17 (Migne, ''Patrologia latina'', vol. 2, cols. 500 and 514)" (PDF) (ภาษาละติน). สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.
  15. Jeffrey Burton Russell (1987). Satan: The Early Christian Tradition. Cornell University Press. p. 95. ISBN 978-0-80149413-0. สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.
  16. หนังสืออิสยาห์ 14:12-16, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  17. หนังสือเอเสเคียล 28:12-17, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011