ลัทธิเซไกคีวเซ
ลัทธิเซไกคีวเซ (ญี่ปุ่น: 世界救世教; โรมาจิ: Sekai Kyūsei Kyō) ในไทยเป็นที่รู้จักในชื่อ ลัทธิโยเร[1][2] เป็นหนึ่งในศาสนาใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสานความเชื่อของลัทธิชินโต ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และหลักจริยธรรมสากล[3] ก่อตั้งโดยโมกิจิ โอกาดะ (ญี่ปุ่น: 岡田茂吉; โรมาจิ: Okada Mokichi) เมื่อ พ.ศ. 2478[4][5][6] มีความเชื่อเรื่องการส่งพลังแสง (หรือเรียกว่า แสงทิพย์) แห่งผ่านฝ่ามือสู่ร่างกายเพื่อจุดประสงค์ในการรักษา เรียกว่า โยเร (ญี่ปุ่น: 浄霊; โรมาจิ: Jōrei)[7] และยังมีแนวปฏิบัติอื่นโดยเฉพาะเรื่องความงามและศิลปะจากธรรมชาติ เช่น เกษตรกรรมธรรมชาติ และการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น[8][9][10]
โมกิจิ โอกาดะ เกิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาพุทธ[11][12] ต่อมาได้หันไปนับถือลัทธิชินโตสายโอโมโตะ (ญี่ปุ่น: 大本; โรมาจิ: Ōmoto)[13] อ้างตัวว่าได้รับวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า ซึ่งมอบอำนาจให้เขาใช้พลังของพระเป็นเจ้าด้วยการใช้แสงสำหรับการรักษา เพื่อขจัดความเจ็บป่วย ความยากจน ความขัดแย้ง และชำระอาณาจักรแห่งจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ เขาจึงรับหน้าที่เป็นศาสนทูตคอยเผยแผ่ศาสนาของตนเองแก่ผู้คน[14] โดยสาวกจะเรียกเขาว่า เมชูซามะ หรือเอกสารไทยเรียก เมซึซามะ (ญี่ปุ่น: 明主様; โรมาจิ: Meishū-sama, "ท่านแห่งแสง") ศาสนิกชนจะสวมจี้ โอฮิการิ ซึ่งในไทยจะเรียกว่า เหรียญ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิเปล่งรัศมี การรับเหรียญดังกล่าวจะเรียกว่า การรับพระ ซึ่งต้องใช้เงินซื้อมา และต้องอบรมศาสนาราว 2-3 วัน จึงจะเข้าเป็นศาสนิกโดยสมบูรณ์[1] มิโฮโกะ โคยามะ ก่อตั้งองค์กรชินจิชูเมไก (ญี่ปุ่น: 神慈秀明会; โรมาจิ: Shinji Shūmeikai) เมื่อ พ.ศ. 2513[15] เพื่อเผยแผ่คำสอนของโมกิจิ โอกาดะ[16]
วินสตัน เดวิส (Winston Davis) นักมนุษยวิทยาด้านศาสนา ให้ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของลัทธิมาฮิการิ (真光系諸教団) และลัทธิเซไกคีวเซซึ่งต่างก็เป็นศาสนาใหม่ของญี่ปุ่นไว้ว่า "ลัทธิมาฮิการิเหมือนกับลัทธิเซไกคีวเซ เพราะปฏิบัติพิธีกรรมการรักษาแบบเดียวกัน"[17]
ในประเทศไทย
[แก้]ลัทธิเซไกคีวเซ หรือ โยเร เข้าสู่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2511 โดยคาซูโอะ วากูกามิ ศาสนาจารย์คณะผู้เผยแผ่มาตั้งรกรากในประเทศไทย โดยเริ่มการเผยแผ่คำสอนโดยการแปลเอกสารทางศาสนา และก่อตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมในประเทศไทย จึงได้ทำการจดทะเบียนโดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกอยู่ที่ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร ขณะนั้นมีศาสนิกชนอยู่ทั้งหมด 40 คน[18] ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2519 กรมการศาสนารับรองให้มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา เป็นองค์กรศาสนาย่อยของศาสนาพุทธนิกายมหายาน[19] ลัทธิเซไกคีวเซเริ่มวางนโยบายเผยแผ่ศาสนาแก่ลูกหลานเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วง พ.ศ. 2521–2524 มีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเท่าตัว มีการสร้างสถานปฏิบัติธรรมหรือโบสถ์ของลัทธิในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย สระบุรี[20] และย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร[19] กระทั่ง พ.ศ. 2527 ได้ทำการเพิกถอนสถานะการเป็นนิกายของศาสนาพุทธนิกายมหายานลง จึงถูกลดสถานะกลับเป็นมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนาตามเดิม[21] พวกเขามีกิจกรรมสนับสนุนทุนการศึกษาศาสนาพุทธแก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี และการต่อต้านยาเสพติด[22] รวมทั้งปรับปรุงวิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการสนับสนุนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมไทย[21]
ผู้ที่จะเข้ารีตลัทธิเซไกคีวเซจะต้องรับจี้ โอฮิการิ หรือที่เข้าเรียกว่า การรับพระ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ต้องคอยปฏิบัติศาสนกิจเรียกว่า กิจกรรมพระ (คือพระศรีอริยเมตไตรย) ได้แก่ การซัมไป (สักการะ) การโยเร และ การโฮชิ (บำเพ็ญประโยชน์) รวมทั้งต้องเผยแผ่ศาสนาเพื่อเพิ่มจำนวนศาสนิกชนให้มากขึ้น[8] มีคำสอนสำคัญแก่สมาชิกคือ ความสุภาพอ่อนโยน ความสงบเสงี่ยม และความสะอาด ที่สำคัญที่สุดคือการทำโยเร[23] หลังการรับพระพวกเขาจะบูชาเหรียญพระโยเร โดยกล่าวคาถาบูชาว่า "ขออำนาจพระศรีรัตนตรัยและท่านเมซึซามะ ขอให้คนข้างหน้าจงมีความสุข" หรือบ้างก็กล่าวว่า "ขออำนาจบารมี คุณพระศรีอริยเมตไตรย และท่านเมซึซามะ โปรดประทานแสงทิพย์ เพื่อชำระเมฆหมอกความขุ่นมัว" จากนั้นจะยกมือขึ้นระดับศีรษะ หันมือเข้าหาผู้รับแสง ยกค้างไว้ 10-15 นาที วันละครั้งหรือสองครั้ง เพราะเชื่อว่าเป็นการรักษาโรคภัย[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "เปิดอาณาจักรลัทธิโยเร สาวกแบ่งชนชั้นสละเงินขึ้นสวรรค์ สื่อโดนปล่อยแสงอัดร่าง". Amarin TV. 1 มิถุนายน 2564. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. ศาสนาในสังคมโลกสมัยใหม่ (PDF). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-12-17.
- ↑ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 213
- ↑ Luke, Jesse (21 July 2017). "Johrei: The next energy healing craze?". Science Based Medicine. สืบค้นเมื่อ 1 August 2017.
- ↑ "Jyorei — 'purification of the spirit'". www.jyorei.org.
- ↑ Melton, J. Gordon (2008). The Encyclopedia of Religious Phenomena. Canton, MI: Visible Ink Press LLC. p. 174. ISBN 978-1578592098.
- ↑ Ernst E (2019). Alternative Medicine – A Critical Assessment of 150 Modalities. Springer. pp. 230–231. doi:10.1007/978-3-030-12601-8. ISBN 978-3-030-12600-1. S2CID 34148480.
- ↑ 8.0 8.1 ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 218
- ↑ "Overview of organic agriculture". Kristiansen, P. and Merfield, C. (2006) Overview of organic agriculture. In: Kristiansen, P.; Taji, A. and Reganold, J. (Eds.) Organic Agriculture: a Global Perspective, CSIRO Publishing, Collingwood, pp. 1–23. "Independent developments were occurring in Japan. In 1936, Mokichi Okada began practicing 'nature farming'. Nature farming includes spiritual and well as agronomic aspects with a view to improving humanity."
- ↑ Sustainable Agriculture: Definition and Terms. Special Reference Briefs Series no. SRB 99-02, September 1999. Compiled by: Mary V. Gold, Alternative Farming Systems Information Center, U.S. Department of Agriculture
- ↑ Johrei History เก็บถาวร สิงหาคม 14, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "the Founder, Meishu-sama – TOHO-NO-HIKARI". สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ JapanFile - the website of Kansai Time Out magazine - Japanese culture, news, events, music, literature, and reporting เก็บถาวร พฤศจิกายน 23, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "the Founder, Meishu-sama – TOHO-NO-HIKARI". สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ Reif, Rita (16 August 1998). "ARTS/ARTIFACTS; A Japanese Vision of the Ancient World". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
- ↑ Melikian, Souren (6 November 1997). "A Splendid Art Collection Goes On Display in Japan". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2014. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
- ↑ Davis, Winston (1980). DOJO: Magic and Exorcism in Modern Japan. Stanford University Press. pp. 75–76. ISBN 0-8047-1131-3.
- ↑ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 214
- ↑ 19.0 19.1 ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 216
- ↑ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 215
- ↑ 21.0 21.1 ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 217
- ↑ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 221
- ↑ ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า (14 กันยายน 2557). "ลัทธิเซไค คิวเซเคียว : การเข้ามาและการแพร่หลายในประเทศไทย". วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37 (2016), หน้า 220