รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว
กษัตริย์ แห่งหมู่เกาะรีวกีว | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
Hidari gomon.svg | |
มงกุฎของพระมหากษัตริย์รีวกีว | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | ชุนเท็น |
องค์สุดท้าย | โช ไท |
อิสริยยศ | ฝ่าพระบาท (首里天加那志) |
สถานพำนัก | ปราสาทชูริ |
เริ่มระบอบ | 1429 |
สิ้นสุดระบอบ | 17 มีนาคม 1879 |
ผู้อ้างสิทธิ์ | มาโมรุ โช |
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว เริ่มต้นจากพระเจ้าชุนเท็นในศตวรรษที่ 12 ถึงพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในศตวรรษที่ 19
ราชวงศ์เท็นซัน
[แก้]อ้างอิงจากเอกสาร "กระจกแห่งชูซัน" (ญี่ปุ่น: 中山世鑑; โรมาจิ: Chūzan Seikan) ผู้สถาปนาราชวงศ์เท็นซัน (ญี่ปุ่น: 天孫王朝; โรมาจิ: Tenson Ōchō) สืบเชื้อสายมาจากอามามิกิว (ญี่ปุ่น: 阿摩美久; เทวีผู้สร้างในศาสนารีวกีว) กระจกแห่งชูซันบันทึกว่า ราชวงศ์เท็นซัน มีกษัตริย์ 25 พระองค์ครองราชย์สืบมา พระนามกษัตริย์ยุคหลังจากนั้นยังคงไม่ปรากฏ
ราชวงศ์ชุนเท็น
[แก้]ในค.ศ. 1186, พระราชบัลลังก์ของกษัตริย์องค์ที่ 25 ถูกเปลี่ยนมือมายังริยู (利勇). ชุนเท็นโค่นบัลลังก์ริยูในปีถัดมาและสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะรีวกีว พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ชุนเท็น
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
ชุนเท็น | 舜天 | มิโกะโตะอัตสึชิ Mikotoatsushi |
1187–1237 | 71 |
ชุนบาจุนกิ | 舜馬順熙/舜馬順熈 | คิเอะคิมิ Kiekimi |
1238–1248 | 63 |
งิฮง | 義本 | ไม่มี | 1249–1259 | ? |
ราชวงศ์เอโซ
[แก้]ค.ศ. 1259, งิฮงสละราชสมบัติ เสนาบดีเอโซรับราชสมบัติ
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
เอโซ | 英祖 | เอโซ โนะ เทดาโกะ Ezo no tedako |
1260–1299 | 70 |
ไทเซ | 大成 | ไม่ปรากฏ | 1300–1308 | 9 หรือ 61 |
เออิจิ | 英慈 | ไม่ปรากฏ | 1309–1313 | 45 |
ทามากุซุกุ | 玉城 | ไม่ปรากฏ | 1314–1336 | 40 |
เซอิ | 西威 | ไม่ปรากฏ | 1337–1354 | 21 |
สมัยซานซัง
[แก้]สมัยซานซันเป็นสมัยของประวัติศาสตร์หมู่เกาะโอกินาวา อยู่ระหว่างค.ศ. 1314 จนกระทั่งค.ศ. 1429 ระหว่างนั้น, เกาะโอกินาวาถูกแบ่งเป็น 3 อาณาจักร
- สาทซัตโต
(อาณาจักรชูซัน, 1355–1406)
อาณาจักรชูซัน เป็นรัฐบรรณาการของราชสำนักหมิง ในค.ศ. 1372 และ 1404.
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
ซัตโต | 察度 | อุฟุ มาโมโนะ Ufu mamono |
1355–1397 | 74 |
บูเน | 武寧 | นางะ โนะ มาโมโนะ Naga no mamono |
1398–1406 | 50 |
- สายโอซาโต้
(อาณาจักรนันซัน, 1337–1429)
อาณจักรนันซันเป็นรัฐบรรณาการในราชสำนักหมิง ในค.ศ. 1383 และ 1388.
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
โอฟูซาโตะ | 承察度 | ไม่มี | 1337–1396 | ? |
อูเอชิ | 汪英紫 | ไม่มี | 1388–1402 | ? |
อูอูโซ | 汪應祖/汪応祖 | ไม่มี | 1403–1413 | ? |
ทาฟุจิ | 達勃期 | ไม่มี | 1413–1414 | ? |
ทะโรมาอิ | 他魯每 | ไม่มี | 1415–1429 | ? |
- สายฮานิจิ
(อาณาจักรโฮะกุซัน, 1322–1416)
อาณาจักรโฮะกุซันเป็น รัฐบรรณาการของราชสำนักหมิงในค.ศ. 1383.
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
ฮานิจิ | 怕尼芝 | ไม่มี | 1322–1395 | ? |
มิน | 珉 | ไม่มี | 1396–1400 | ? |
ฮานันจิ | 攀安知 | ไม่มี | 1401–1416 | ? |
ราชวงศ์โชยุคแรก
[แก้](อาณาจักรชูซัน, 1407–1429; อาณาจักรรีวกีว, 1429–1469) ค.ศ. 1406, พระเจ้าบูเนถูกโค่นบัลลังก์และโช ชิโชขึ้นมาเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรชูซันแทน, ต่อมาตำแหน่งว่างลงโดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ โช ฮะชิอาศัยกำลังเพียงน้อยนิดควบคุมอาณาจักรชูซันขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากจีน ค.ศ. 1421, ภายหลังการสวรรคตของพระบิดา, โช ฮะชิ เริ่มเป็นผู้ปกครองชูซันและอ้างสิทธิ์เหนือเกาะโอกินาวากับจีน และร้องขอการรับรองเป็นกษัตริย์โดยสมบูรณ์จากจีน ดังนั้น ในค.ศ. 1422 จักรพรรดิหงหวู่ รับรองฮะชิเป็นกษัตริย์และพระราชทานแซ่โช (尚) เพื่อกำหนดให้เป็นชื่อราชวงศ์ และตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ว่า อาณาจักรรีวกีว.[1]
พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
โช ชิโช | 尚思紹 | คิมิชิ มาโมโนะ Kimishi mamono |
1407–1421 | 67 |
โช ฮะชิ | 尚巴志 | เซจิทากะ มาโมโนะ Sejitaka mamono |
1422–1439 | 67 |
โช ชู | 尚忠 | ไม่ปรากฏ | 1440–1442 | 54 |
โช ชิตะสึ | 尚思達 | คิมิเทดะ Kimiteda |
1443–1449 | 41 |
โช กินปุกุ | 尚金福 | คิมิชิ Kimishi |
1450–1453 | 55 |
โช ไทคิว | 尚泰久 | นาโนจิโยโมอิ Nanojiyomoi |
1454–1460 | 45 |
โช โตกุ | 尚德/尚徳 | ฮาชิมัน Hachiman aji |
1461–1469 | 29 |
ราชวงศ์โชที่ 2
[แก้](อาณาจักรรีวกีว (琉球王國), 1470–1872; แคว้นรีวกีว (琉球藩) ของญี่ปุ่น, 1872–1879) ค.ศ. 1469 ค.ศ. 1469 พระเจ้าโช โตะกุ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์โชยุคแรก ถูกปลงพระชนม์ในการ รัฐประหาร ประกอบกับไร้พระราชโอรสสืบราชสันติวงศ์ ดังนั้น ข้าราชสำนักจึงพร้อมใจกันเลือก โช เอ็ง เป็นกษัตริย์และสถาปนาราชวงศ์โชที่ 2
อาณาจักรรีวกีวกลายเป็น แคว้นหนึ่งของญี่ปุ่นในค.ศ. 1872.
ค.ศ. 1879 ญี่ปุ่นผนวกแคว้นรีวกีวกับจังหวัดโอกินาว่า พระเจ้าโช ไทถูกถอดจากราชสมบัติและได้รับบรรดาศักดิ์มาร์ควิสและถูกคุมพระองค์ไปยังโตเกียว
พระบรมรูป | พระนาม | ตัวจีน/คันจิ | มิโกโตะ | รัชกาล | รวมพระชนมายุ |
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้าโช เอ็ง | 尚圓/尚円 | คานามารุ อาจิ สุเอะสึงิ โนะ โอนิชิ Kanamaru aji suetsugi no ōnishi 金丸按司添末續之王仁子 หรือ คานามารุ อาโจชิ "Kanamaru ajisohi" 金丸按司添 |
1470–1476 | 61 | |
พระเจ้าโช เซ็นอิ | 尚宣威 | อิริ โนะ โยโนนูชิ Iri no yononushi 西之世主 |
1477 | 48 | |
พระเจ้าโช ชิน | 尚真 | โอะกิยากาโมเว Okiyakamowe 於義也嘉茂慧 |
1477–1526 | 61 | |
พระเจ้าโช เซ | 尚清 | เทนโซกุ โนะ อาจิโซฮิ Tenzoku no ajisohi 天續之按司添 |
1527–1555 | 59 | |
พระเจ้าโช เง็น | 尚元 | เทดาจิ อาจิโซฮิ Tedaji ajisohi 日始按司添 |
1556–1572 | 44 | |
พระเจ้าโช เอ | 尚永 | เอโซนิยาโซฮิ อาจิโซฮิ Ezoniyasohi ajisohi 英祖仁耶添按司添 บ้างก็เรียก เทดะยูตะมิสะโอะคิมิ |
1573–1586 | 30 | |
พระเจ้าโช เน | 尚寧 | เมงามะ อาจิโซฮิ Megama ajisohi 日賀末按司添 |
1587–1620 | 56 | |
พระเจ้าโช โฮ | 尚豐/尚豊 | เทนกิยามะ อาจิโซฮิ Tenkiyama ajisohi 天喜也末按司添 |
1621–1640 | 50 | |
พระเจ้าโช เค็ง | 尚賢 | 1641–1647 | 23 | ||
พระเจ้าโช ชิสุ | 尚質 | 1648–1668 | 39 | ||
พระเจ้าโช เท | 尚貞 | 1669–1709 | 64 | ||
พระเจ้าโช เอกิ | 尚益 | 1710–1712 | 34 | ||
พระเจ้าโช เค | 尚敬 | 1713–1751 | 52 | ||
พระเจ้าโช โบกุ | 尚穆 | 1752–1795 | 55 | ||
พระเจ้าโช อน | 尚溫/尚温 | 1796–1802 | 18 | ||
พระเจ้าโช เซ | 尚成 | 1803 | 3 | ||
พระเจ้าโช โค | 尚灝 | 1804–1828 | 47 | ||
พระเจ้าโช อิกุ | 尚育 | 1829–1847 | 34 | ||
พระเจ้าโช ไท | 尚泰 | 1848–1879 | 58 |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Kerr, George. Okinawa: The History of an Island People. Tokyo: Tuttle, 2000. p. 89.
อ้างอิง
[แก้]- Kerr, George H. (1965). Okinawa, the History of an Island People. Rutland, Vermont: C.E. Tuttle Co. OCLC 39242121
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ญี่ปุ่น)(จีน)中山世鑑 เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (จีน)中山世譜 เก็บถาวร 2012-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน