รหัสเที่ยวบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รหัสเที่ยวบินบน ป้ายแสดงผลแบบพับ ภายในสนามบินแฟรงเฟิร์ต

รหัสเที่ยวบิน (อังกฤษ: flight number) ประกอบไปด้วยรหัสของสายการบินและเลขเที่ยวบิน เพื่อที่จะแสดงถึงเที่ยวบินนั้นโดยเฉพาะ รหัสเที่ยวบินไม่ควรที่จะเกี่ยวข้องกับ รหัสประจำเครื่องบินใช้เป็นสัญญาณเรียกขานในการบิน ในรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจบินหลายเที่ยวบินในหนึ่งวัน และรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจใช้กับเครื่องบินหลายลำ

หลักการในการตั้งรหัสเที่ยวบิน[แก้]

ในการตั้งรหัสเที่ยวบินมีใช้หลายรูปแบบ ในบางสายการบิน เส้นทางที่เดินทางไปทิศตะวันออกและทิศเหนือตั้งรหัสเที่ยวบินเป็นเลขคู่ และเส้นทางไปทิศตะวันตกและทิศใต้ตั้งรหัสเที่ยวบินเป็นเลขคี่ ในขณะที่บางสายการบินใช้เลขคี่สำหรับเส้นทางที่ออกจากศูนย์กลางการบิน และเลขคู่ถัดไปสำหรับเส้นทางที่บินกลับในเส้นทางเดียวกัน ในเส้นทางที่มีการบินหลายเที่ยวบินต่อวัน เลขเที่ยวบินจะเพิ่มขึ้นเฉพาะในวันเดียวกัน เช่น เที่ยวบินจากจุด ก ไป จุด ข ใช้รหัสเที่ยวบิน 101 เส้นทางจาก จุด ข ไป จุด ก จะใช้รหัสเที่ยวบิน 102 เที่ยวบินไป-กลับ ถัดไปที่บินในเส้นทางเดียวกัน จะใช้รหัสเที่ยวบิน 103 และ 104

จำนวนหลักของรหัสเที่ยวบิน[แก้]

รหัสเที่ยวบินที่น้อยกว่า 3 หลัก ส่วนใหญ่จะเป็นเที่ยวบินระยะไกลหรือเที่ยวบินพิเศษ เที่ยวบินที่ 1 โดยมากจะเป็น "เรือธง" ของการให้บริการ เช่น บริติชแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ BA 1 เป็นเที่ยวบิน ที่ออกในตอนเช้า ในเส้นทาง ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนซิตี)-แชนนอน (ท่าอากาศยานแชนนอน)-นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีแอร์นิวซีแลนด์ เที่ยวบินที่ NZ 1 เป็นเที่ยวบินที่ให้บริการจาก ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์) สู่ ออกแลนด์ (ท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์) ผ่าน ลอสแอนเจลิส (ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส) ควอนตัส เที่ยวบินที่ QF 1 เรียกว่า Kangaroo Route บินจาก ซิดนีย์ (ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ) ผ่าน ดูไบ (ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ) สู่ ลอนดอน (ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์อเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ AA 1 บินทุกวันจาก นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี) สู่ ลอสแอนเจลิส (ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส) และ แอล อัล อิสราเอลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ LY 1 บินทุกวันจาก เทลอาวีฟ (ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน ) สู่ นครนิวยอร์ก (ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี) รหัสเที่ยวบินสี่หลัก ในช่วง 3000 ถึง 5999 โดยมากจะเป็นเที่ยวบินพันธมิตรในระดับภูมิภาค และ รหัสเที่ยวบินที่มากกว่า 6000 ปกติจะเป็นเที่ยวบินที่มีข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน รวมถึงในรถไฟความเร็วสูงด้วย

เช่นเดียวกันเที่ยวบินที่ใช้รหัสเที่ยวบินมากกว่า 9000 มักจะเป็นเที่ยวบินที่บินโดยไม่มีผู้โดยสาร เที่ยวบินที่อยู่ระหว่างการนำไปซ่อมบำรุง เที่ยวบินที่เดินทางจากสนามบินหนึ่งไปอีกสนามบินหนึ่งเพื่อเริ่มต้นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ต่อไป เที่ยวบินที่รหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย 8 มักเป็นเที่ยวบินเหมาลำ แต่โดยมากจะขึ้นอยู่กับสายการบิน

การเปลี่ยนรหัสเที่ยวบิน[แก้]

รหัสเที่ยวบินจะมีการเปลี่ยนเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เช่น เหตุการณ์ชนของ การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 การบินไทยเปลี่ยนรหัสเที่ยวบินในเส้นทางเดียวกันเป็น 319 เช่นเดียวกับ อเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 ซึ่งบินจากท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตัน ดัลเลส ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. สู่ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส เปลี่ยนรหัสเที่ยวบินเป็น 149 หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เที่ยวบินล่าสุดที่มีการเปลี่ยนรหัสเที่ยวบินคือ แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ 1492 โดยเปลี่ยนรหัสเที่ยวบินเป็น 1316[1]

  1. https://www.mvestnik.ru/newslent/aeroflot-smenil-nomer-moskovskogo-rejsa-posle-katastrofy-v-sheremetevo/