มุขมนตรีแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
มุขมนตรี แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ | |
---|---|
วาระ | 5 ปี |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ชาร์ล ปีเก |
สถาปนา | 12 มิถุนายน 1989 |
มุขมนตรีแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: ministre-président de la région de Bruxelles-Capitale; ดัตช์: minister-president van het Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นผู้นำฝ่ายบริหารในรัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์[1][2] โดยได้รับการแต่งตั้งวาระละ 5 ปี พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 4 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วยอีก 3 ตำแหน่ง นอกเหนือจากความรับผิดชอบในฝ่ายบริหาร มุขมนตรียังมีหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการประชาคมร่วมแห่งบรัสเซลส์ (Common Community Commission of Brussels)
ตำแหน่งมุขมนตรีแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์มิใช่ตำแหน่งเดียวกันกับผู้ว่าราชการเขตนครหลวงบรัสเซลส์หรือนายกเทศมนตรีนครบรัสเซลส์ซึ่งโดยฐานะเป็นเพียงเทศบาลในกำกับของแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
ตำแหน่งมุขมนตรีจะไม่ได้ถูกนับรวมในสัดส่วนรัฐมนตรีผู้พูดภาษาฝรั่งเศสต่อผู้พูดภาษาดัตช์ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมุขมนตรีจนถึงปัจจุบันล้วนเป็นผู้พูดภาษาฝรั่งเศส (และสามารถใช้ภาษาดัตช์ได้ดีอีกด้วย)
รายชื่อมุขมนตรี
[แก้]ลำดับที่ | ชื่อ (เกิด–ถึงแก่กรรม) |
วาระ | พรรค | รัฐบาล | พรรคร่วมรัฐบาล | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาดัตช์ | ภาษาฝรั่งเศส | |||||||
เริ่มต้น | สิ้นสุด | รวมระยะเวลา | ||||||
1 | ชาร์ล ปีเก (1948– ) |
12 กรกฎาคม 1989 | 15 กรกฎาคม 1999 | 10 ปี
3 วัน |
สังคมนิยม | ปีเก 1 | ประชาชนคริสเตียน, สังคมนิยมเฟลมิช, สหภาพประชาชน | สังคมนิยม, สังคมคริสเตียน, แนวหน้าประชาธิปไตยแห่งผู้พูดภาษาฝรั่งเศส |
ปีเก 2 | สังคมนิยม, ปฏิรูปเสรีนิยม-แนวหน้าประชาธิปไตยแห่งผู้พูดภาษาฝรั่งเศส | |||||||
2 | ฌัก ซีมอแน (1963–2007) |
15 กรกฎาคม 1999 | 18 ตุลาคม 2000 | 1 ปี
94 วัน |
ปฏิรูปเสรีนิยม | ซีมอแน 1 | ประชาชนคริสเตียน, เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช, สังคมนิยมเฟลมิช | ปฏิรูปเสรีนิยม-แนวหน้าประชาธิปไตยแห่งผู้พูดภาษาฝรั่งเศส, สังคมนิยม |
3 | ฟร็องซัว-ซาวีเย เดอ ดอเนอา (1941– ) |
18 ตุลาคม 2000 | 6 มิถุนายน 2003 | 2 ปี
232 วัน |
ปฏิรูปเสรีนิยม/ขบวนการปฏิรูป | เดอ ดอเนอา | ประชาชนคริสเตียน, เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช, สังคมนิยมเฟลมิช | ปฏิรูปเสรีนิยม-แนวหน้าประชาธิปไตยแห่งผู้พูดภาษาฝรั่งเศส, สังคมนิยม |
4 | ดานีแยล ดูว์การ์ม (1954–2010) |
6 มิถุนายน 2003 | 18 กุมภาพันธ์ 2004 | 1 ปี
43 วัน |
ขบวนการปฏิรูป | ดูว์การ์ม | ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช, เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช, สังคมนิยมเฟลมิช | ขบวนการปฏิรูป, สังคมนิยม |
5 | ฌัก ซีมอแน (1963–2007) |
18 กุมภาพันธ์ 2004 | 19 กรกฎาคม 2004 | ขบวนการปฏิรูป | ซีมอแน 2 | ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช, เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช, สังคมนิยมเฟลมิช | ขบวนการปฏิรูป, สังคมนิยม | |
6 | ชาร์ล ปีเก (1948– ) |
19 กรกฎาคม 2004 | 7 พฤษภาคม 2013 | 8 ปี
291 วัน |
สังคมนิยม | ปีเก 3 | เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช, แอ็สเป.อา, ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช | สังคมนิยม, ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม, เอโกโล |
ปีเก 4 | โอเปิน เฟเอลเด, ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช, ครุน | |||||||
7 | รือดี เฟอร์โฟร์ต (1958– ) |
7 พฤษภาคม 2013 | อยู่ในวาระ | 11 ปี 199 วัน | สังคมนิยม | เฟอร์โฟร์ต 1 | โอเปิน เฟเอลเด, ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช, ครุน | สังคมนิยม, เอโกโล, ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม |
เฟอร์โฟร์ต 2 | โอเปิน เฟเอลเด, แอ็สเป.อา, ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช | สังคมนิยม, เดฟี, ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม | ||||||
เฟอร์โฟร์ต 3 | ครุน, โอเปิน เฟเอลเด, แอ็สเป.อา | สังคมนิยม, เอโกโล, เดฟี |
เส้นเวลา
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Belgian Constitution (English version)" (PDF). Belgian House of Representatives. January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
Article 3: Belgium comprises three Regions: the Flemish Region, the Walloon Region and the Brussels region. Article 4: Belgium comprises four linguistic regions: the Dutch-speaking region, the French speaking region, the bilingual region of Brussels-Capital and the German-speaking region.
- ↑ "Brussels-Capital Region: Creation". Centre d'Informatique pour la Région Bruxelloise (Brussels Regional Informatics Center). 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
Since 18 June 1989, the date of the first regional elections, the Brussels-Capital Region has been an autonomous region comparable to the Flemish and Walloon Regions.
(All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.)