ข้ามไปเนื้อหา

นครบรัสเซลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครบรัสเซลส์

Ville de Bruxelles
Stad Brussel

City of Brussles
เขตเทศบาลในเบลเยียม
มง เด ซาร์ (Mont des Arts)
มง เด ซาร์ (Mont des Arts)
ตราอย่างเป็นทางการของนครบรัสเซลส์
ตรา
นครบรัสเซลส์ตั้งอยู่ในBelgium
นครบรัสเซลส์
นครบรัสเซลส์
ที่ตั้งของนครบรัสเซลส์ในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์
พิกัด: 50°51′0″N 04°21′0″E / 50.85000°N 4.35000°E / 50.85000; 4.35000
ประเทศเบลเยียม เบลเยียม
เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์
ชุมชนชุมชนฝรั่งเศส
ชุมชนฟลามส์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีFreddy Thielemans (PS)
พื้นที่
 • ทั้งหมด32.61 ตร.กม. (12.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด144,784 คน
 • ความหนาแน่น4,400 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
Postal code1000-1130
รหัสพื้นที่02
เว็บไซต์www.brussels.be

นครบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: Bruxelles-Ville [bʀyˈsɛl ˈvil] หรือ Ville de Bruxelles [ˈvil də bʀyˈsɛl], ดัตช์: Stad Brussel [ˈstɑt ˈbrʏ.səl]) คือเขตเทศบาลที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ และยังถือเป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม[1]

คล้ายคลึงกับในกรณีของนครลอนดอน ซึ่งต่างจากกรุงลอนดอน นครบรัสเซลส์ก็ต่างจากกรุงบรัสเซลส์เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยายตัวของเขตตัวเมืองออกไปจากนครบรัสเซลส์นั้นได้หยุดลงในภายหลังโดยกินอาณาเขตถึงปริมณฑลคือ ฮาเริน, ลาเคิน และเนเดอร์-โอเวอร์-เฮมเบกทางทิศเหนือ และจรดเขตถนนหลุยส์ และสวนสาธารณะ บัว เดอ ลา คอมบร์ ทางทิศใต้

นครบรัสเซลส์มีจำนวนประชากรประมาณ 144,784 คน โดยมีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 32.61 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนความหนาแน่นของประชากรได้ถึง 4,400 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่าประชากรกว่า 50,000 คนที่อาศัยอยู่ในนครบรัสเซลส์นั้นเป็นผู้ที่ถือสัญชาติอื่น[2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ภาพเขียนนครบรัสเซลส์ ราวปีค.ศ. 1610

ในตอนแรก นครบรัสเซลส์นั้นใช้เรียกอาณาเขตภายในกำแพงรอบเมืองชั้นที่สองของบรัสเซลส์ ซึ่งในปัจจุบันนั้นเรียกว่า "วงแหวนเล็ก" (Small Ring) และเมื่อเมืองขยายมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หมู่บ้านบริเวณรายรอบนอกกำแพงเมืองก็ขยายขนาดตามจนกลายเป็นนครขนาดย่อมๆ

ในปีค.ศ. 1847 ได้มีการเตรียมการตัดถนนใหญ่สายสำคัญของบรัสเซลส์มีขื่อว่า ถนนหลุยส์ (อเวอนิว หลุยส์) โดยรายรอบด้วยต้นเกาลัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นถนนเพื่อตัดเข้าสู่สวนสาธารณสำคัญ "บัว เดอ ลา คอมบร์" แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นได้มีการแสการต่อต้านอย่างรุนแรงของเมืองอิแซลส์ (Ixelles) ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นคนละเมืองกับบรัสเซลส์ โดยถนนสายนี้จะต้องตัดผ่านพื้นที่ของเมืองนี้ และหลังจากการเจรจาต่อเนื่องอันเป็นเวลานาน ในที่สุดนครบรัสเซลส์ก็ได้นับรวมพื้นที่ของถนนและสวนสาธารณะ "บัว เดอ ลา คอมบร์" อันเป็นผลให้เมืองอิแซลส์นั้นถูกแบ่งเป็นสองฝั่ง

เทศบาลต่างๆที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์นั้นรอดพ้นจากการควบรวมกันของเทศบาลหลายครั้งครา โดยเฉพาะการควบรวมครั้งสำคัญในปีค.ศ. 1964, 1970 และ 1975[3] แต่ก็ยังมีบางเทศบาลที่ถูกผนวกรวมเข้ากับเทศบาลนครบรัสเซลส์ อาทิเช่น ลาเคิน, ลาเคิน และเนเดอร์-โอเวอร์-เฮมเบก ซึ่งถูกผนวกเข้ากันในปีค.ศ. 1921[4]

เมืองหลวง

[แก้]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร มาตราที่ 194 ระบุว่าเมืองหลวงของเบลเยียมนั้นคือเขตเทศบาลนครบรัสเซลส์ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ แต่งบประมาณที่จัดสรรให้โดยรัฐบาลและเขตฯในฐานะแห่งความเป็นเมืองหลวงนั้น ครอบคลุมกินอาณาเขตทั้ง 19 เทศบาล และในทางปฏิบัติแล้ว สถานที่ราชการสำคัญต่างๆของเบลเยียม ก็มิได้ล้วนแต่ตั้งอยู่ในเขตนครบรัสเซลส์เพียงที่เดียว แต่ยังตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอื่นๆอีกทั้ง 18 เขตในเขตเมืองหลวงด้วย ดังนั้นจึงสรุปว่า โดยพฤตินัยแล้วทั้งเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์นั้นถือเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่โดยนิตินัยนั้น เมืองหลวงของเบลเยียมคือ "นครบรัสเซลส์"


อ้างอิง

[แก้]
  1. Article 194 of Belgium's constitution เก็บถาวร 2011-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Statistics foreign population in Belgium by municipality ((ฝรั่งเศส),(ดัตช์))
  3. Picavet, Georges (29 April 2003). "Municipalities (1795-now)". Georges Picavet. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
  4. "Brussels Capital-Region". Georges Picavet. 4 June 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.