ข้ามไปเนื้อหา

มานุษยวิทยาเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มานุษยวิทยาเมือง[1] หรือ มานุษยวิทยานคร (อังกฤษ: Urban anthropology) เป็นมานุษยวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของการนคราภิวัฒน์ (urbanisation), ความยากจน (poverty), พื้นที่เมือง (urban space), ความสัมพันธ์ทางสังคม (social relations) และลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) สาขาวิชาของมานุษยวิทยาเมืองเริ่มเป็นที่แข็งแรงขึ้นในทศวรรษ 1960s - 1970s

Ulf Hannerz เคยระบุไว้ในทศวรรษ 1960s ว่านักมานุษยวิทยาแบบแผน (traditional anthropologist) นั้น "เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นพวกกลัวชุมชนกันมาก เป็นพวกต่อต้านเมืองโดยนิยาม" ("a notoriously agoraphobic lot, anti-urban by definition".) กระบวนการทางสังคมต่าง ๆ ในโลกตะวันตกและ "โลกที่สาม" ได้นำความสนใจของ 'ผู้เชี่ยวชาญในวัฒนธรรมอื่น' (specialists in 'other cultures') เข้าใกล้บ้านของเขามากขึ้น[2]

ภาพรวม

[แก้]

มานุษยวิทยาเมืองนั้นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสังคมวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันสังคมวิทยาเมืองแห่งชิคาโก (Chicago School of Urban Sociology) ความแตกต่างดั้งเดิมระหว่างสังคมวิทยากับมานุษยวิทยาคือ สังคมวิทยานั้นศึกษาอารยชน ส่วนมานุษยวิทยาศึกษาคนไร้อารยะ[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเชิงวิธีวิทยาระหว่างทั้งสองสาขา สังคมวิทยามักใช้การศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากสังคม ในขณะที่มานุษยวิทยามักใช้การศึกษากลุ่มตัวอย่างไม่กี่คนแต่มีความสัมพันธ์ที่หยั่งรากลึกกว่า[3] หลังความสนใจในสังคมเมือง (urban societies) เพิ่มสูงขึ้น วิธีวิทยาระหว่างสองสาขาวิชาเริ่มผสมผสานเข้ากัน นำไปสู่การตั้งคำถามระหว่างสังคมวิทยาเมืองกับมานุษยวิทยาเมือง[ต้องการอ้างอิง] มานุษยวิทยาเมืองในปัจจุบันได้เริ่มขยายตัวและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลา[4]

ในปัจจุบันได้มีองค์กรต่าง ๆ ที่มุ่งศึกษาหรือสนับสนุนการศึกษามานุษยวิทยาเมือง หนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดในแวดวงนี้คือองค์กร เออร์บาน แอนธรอพอลอจี (Urban Anthropology)[5]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมากกับการศึกษาวัฒนธรรมต่างด้าว (คือที่ไม่ใช่ตะวันตก) หรือที่เรียกว่า "exotic" (ต่างด้าว) และ "primitive" (ดึกดำบรรพ์) [6][7][8] มุมมองของนักชาติพันธุ์วรรณาต่อซับเจ็กต์ (subject) ของงานศึกษายังเป็นลักษณะขอ งการคาดคะเนว่าเป็นการปลีกออกจากวิทยาศาสตร์ (supposed scientific detachment) ในขณะที่พวกเขาทำหน้าที่รับใช้ตัวเองและมีลักษณะเป็น ยุโรปเป็นศูนย์กลาง (Eurocentric) ภารกิจในการระบุจัดกลุ่มและจัดกลุ่มวัฒนธรรมทั่วโลกตามลัทธิวิวัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-cultural evolutionism) ของการพัฒนามนุษย์[9]

ในศตวรรษที่ 20 ปัจจัยหลายประการได้ทำให้นักมานุษยวิทยาหลายคนเริมหันเหออกจากมุมมองแบบสองขั้วที่ว่ามีแค่อนารยชนต่างด้าวกับอารยชนตะวันตกเท่านั้น และเริ่มหันเหไปสู่การศึกษาวัฒนธรรมเมือง (urban culture) โดยทั่วไป แรงผลักดันสำคัญหนึ่งคือการค้นพบพื้นที่กว่างใหญ่ไพศาลของโลกจากการเคลื่อนย้ายประชากร (Population mobility) ที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะการขยายตัวอย่ารวดเร็วของระบบรางรถไฟ และการเกิดความนิยม (popularisation) ในการท่องเที่ยวในสมัยปลายยุควิกตอเรีย[10] สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 โดยทั่วไปแล้วเหลือวัฒนธรรม "เอ็กโซติก" (exotic) อยู่ไม่มากที่ยังรอคอยการ “first contact[11][12]

นอกจากนี้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากได้เกิดขึ้น[13] นักมานุษยวิทยาบางส่วนจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษา "สังคมชาวนา" (“peasant societies”) ที่ซึ่งแตกต่างกันกับ "สังคมพื้นบ้าน" ("folk societies”) ที่นักชาติพันธุ์วรรณาเคยศึกษา นักมานุษยวิทยา Robert Redfield เป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาคนสำคัญที่ศึกษาทั้งสังคมชาวนาและสังคมพื้นเมือง ขณะที่เขาทำลังทำการศึกษาสังคมชาวนาในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศอินเดีย เขาพบว่าสังคมเหล่านี้แตกต่างกันกับสังึมพื้นบ้าน ในลักษณะที่ว่าสังคมชาวนานนั้นไม่ได้ "ไม่สุงสิงกับใคร" (self-contained) ยกตัวอย่างเช่น สังคมชาวนานั้นมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับแรงขับภายนอก พูดง่าย ๆ คือสังคมชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอื่นที่ใหญ่กว่า และสังคมที่ใหญ่กว่านั้นคือสังคมเมือง (city)[14]

การค้นพบนี้เปิดประตูให้นักมานุษยวิทยาเริ่มหันมาสนใจการศึกษาสังคมมากขึ้น (โดยไม่ได้สนใจว่าเป็นสังคมตะวันตกหรือไม่) ผ่านมุมมองของเมือง (city) ในฐานะองค์ประกอบโครงสร้าง (structuring element) สิ่งนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนามานุษยวิทยาเมืองในฐานะสาขาการศึกษาหนึ่งที่แยกออกมาเป็นเอกเทศของตัวเอง[15] นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมศึกษาได้ออกมาพุ่งเป้าการศึกษาเมือง ตัวอย่างเช่น โบราณคดีเองก็ได้ลงหลักปักฐานศึกษาต้นกำเนิดของนครนิยม (urbanism)[16] และมานุษยวิทยาเองก็ได้พัฒนาแนวคิดที่ให้เมืองเป็นตัวแทนในการศึกษาของสังคมยุคก่อนอุตสาหกรรม (pre-industrial society)[17] Their efforts, however, were largely unrelated.

การพัฒนาก้าวสำคัญของมานุษยวิทยาเมืองนั้นเกิดขึ้นโดยสถาบันระบบนิเวศเมืองแห่งชิคาโก (Chicago School of Urban Ecology) นับตั้งแต่ทศวรรษ 1920s สถาบันได้นิยาม "เมือง" ในแง่ของระบบนิเวศเมือง (urban ecology) ว่าเป็นการรวมกันของเวิ้งระบบนิเวศที่อยู่ติดกันอันประกอบด้วยกลุ่มคนใน...วงแหวนที่ล้อมรอบแกนกลาง" (“made up of adjacent ecological niches accompanied by human groups in... rings surrounding the core”)[18] สถาบันชิคาโกจึงกลายมาเป็นหลักอ้างอิงสำคัญของสาขามานุษยวิทยาเมือง และได้ตั้งแนวคิดและกระแสต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสาขาวิชาจนถึงปัจจุบัน[19]

หนึ่งในผู้วางรากฐานของมานุษยวิทยาเมือง คือนักสังคมวิทยา Louis Wirth ผู้ขียนเรียงความ "นครนิยมในฐานะวิถีของชีวิต" (“Urbanism as a Way of Life”) ซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญในการแยกนครนิยม (urbanism) ออกมาเป็นรูปแบบของสังคมเฉพาะที่สามารถศึกษาได้จากสามมุม โครงสร้างทางกายภาพ, ในฐานะของหน่วยงานทางสังคม, และกลุ่มของมุมมองและแนวคิด (a physical structure, as a system of social organization, and as a set of attitudes and ideas)[20] อีกหนึ่งนักวิชาการคนสำคัญคือ Lloyd Warner ผู้นำ “ชุมชนศึกษา” (Community Study) และเป็นหนึ่งในผู้ที่ริเริ่มใช้กระบวนการแบบมานุษยวิทยาในการศึกษาเมือง อิทธิพลสำคัญหนึ่งของเขาคือการมองเมืองในฐานะชุมชนสำหรับการศึกษาค้นคว้า[21] William Whyte later expanded Warner’s methods for small urban centers in his study of larger neighborhoods.[22]

สาขาวิชาหลักที่ศึกษา

[แก้]

ในการศึกษามานุษยวิทยาเมืองนั้นประกอบด้วยสองแนวทางหลักคือ โดยการศึกษาชนิดของเมือง หรือโดยการศึกษาปัญหาสังคมในเมือง ซึ่งทั้งเป็นเอกเทศและเหลื่อมซ้อนกันในตัวของมันเอง ในการนิยามเมืองชนิดต่าง ๆ นั้น ก็ควรนำปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองมาประกอบ และในการศึกษาปัญหาสังคมที่แตกต่างกันนั้นก็ควรจะศึกษาจากมุมมองที่ว่ามันส่งผลกระทบต่อมิติต่าง ๆ ของเมืองอย่างไร[23]

สี่การเข้าถึง (approaches) หลักกลางของการศึกษาเมืองในเชิงมานุษยวิทยา ประกอบด้วย หนึ่งโมเดลระบบนิเวศเมือง (urban ecology model) ที่ซึ่งมีชุมชนและเครือข่ายครอบครัวเป็นศูนย์กลาง สองคืออำนาจและความรู้ เจาะจงไปที่เมืองนั้นถูกวางแผนขึ้นมาอย่างไร สามคือการศึกษาท้องถิ่น (local) และยิ่งกว่าท้องถิ่น (supralocal) รสมถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองหน่วยของเมือง สี่คือการพุ่งเป้าที่เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) เป็นศูนย์กลางของสาธารณูปโภคเมือง เซธา โลว์ (Setha Low) ได้ใช้การศึกษาสำคัญหลายชิ้นจากมานุษยวิทยาเมืองเพื่อสร้างรายชื่อของชนิดต่าง ๆ ของเมือง โดยที่เมืองหนึ่งอาจไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่เดียว และปัจจัยที่ทำให้เมืองนั้นเป็นปัจเจกของตน (individualise factor) ชนิดต่าง ๆ ของเมืองนั้นรวมถึงที่เน้นไปที่ศาสนา, เศรษฐกิจ และกระบวนการทางสังคม เช่น เมืองศาสนา (religious city) คือสิ่งที่โลว์เรียกว่าเป็น "เมืองศักดิ์สิทธิ์" (“sacred city”) คือเมืองที่มีศาสนาเป็นศูนย์กลางของกระบวนการการใช้ชีวิตประจำวันของเมือง[24] เมืองเศรษฐกิจ (economic centered city) คือภาพของเมืองที่เลิกอุตสาหกรรมแล้ว (“Deindustrialised city”)[25] เป็นต้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. คำศัพท์: Urban Anthropology. https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/154
  2. Hannerz, Ulf (1980). Exploring the City: Inquiries Toward an Urban Anthropology, p.1
  3. Basham, Richard. Urban Anthropology, The Cross-Cultural Study of Complex Societies. Palo Alto, CA: Mayfield Publishing Company, 1978. p 11.
  4. Mann, B. (1976) "The Ethics of Fieldwork in an Urban Bar". In Maim, B. J. Rynkiewick, M. and Spradley, J. (eds) Ethics and Anthropology: Dilemmas in Fieldwork pp. 99-110.
  5. http://www.urban-anthropology.org/
  6. Morgan, Lewis Ancient Society, or Researches in the Lines of Human Progress from Savagery through Barbarism to Civilization (1877).
  7. Tylor, Edward Burnett Primitive Society (1871).
  8. Frazer, James The Golden Bough (1890).
  9. The History of Anthropology. Early 20th century antecedents
  10. Schivelbusch, Wolfgang The railway journey: the industrialization of time and space in the 19th century (1983).
  11. MacClancy, Jeremy Exotic no more: anthropology on the front line (2002)
  12. Marcus, George Rereading cultural anthropology (1992): viii.
  13. Golove, David “Treaty-Making and the Nation: The Historical Foundations of the Nationalist Conception of the Treaty Power” in Michigan Law Review, Vol. 98, No. 5 (Mar. 2000): 1075-1319.
  14. Redfield, Robert The Folk Society. In American Journal of Sociology 52 (1947): 293-308.
  15. Eames, Edwin. Anthropology of the City, An Introduction to Urban Anthropology. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. p 10-11
  16. Childe, V. Gordon The Urban Revolution. Town Planning Review 21 (1950):3-17.
  17. Sherman, Daniel "Peoples Ethnographic": Objects, Museums, and the Colonial Inheritance of French Ethnography. In French Historical Studies - Volume 27, Number 3 (2004): 669-703.
  18. Wirth, Louis Urbanism as a way of life (1938).
  19. Overtveldt, Johan The Chicago School: How the University of Chicago Assembled the Thinkers Who Revolutionized Economics and Business (2007)
  20. Basham, Richard. Urban Anthropology, The Cross-Cultural Study of Complex Societies. Palo Alto, CA: Mayfield Publishing Company (1978).
  21. Bell, Collin and Newby, Howard Community Studies (1972).
  22. Basham, Richard. Urban Anthropology, The Cross-Cultural Study of Complex Societies. Palo Alto, CA: Mayfield Publishing Company (1978): 17
  23. Griffiths, Michael. B., Flemming Christiansen, and Malcolm Chapman. (2010) 'Chinese Consumers: The Romantic Reappraisal’. Ethnography, Sept 2010, 11, 331-357.
  24. Low, Setha. Theorizing the City: The New Urban Anthropology Reader. Rutgers University Press, 2005. p 20
  25. Low, S. p 12

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Basham, Richard (1978) "Urban Anthropology. The Cross-Cultural Study of Complex Societies", Mayfield Publishing Company.
  • Fox, Richard G. (1977) "Urban Anthropology. Cities in their Cultural Settings", Prentice-Hall.
  • Ulf Hannerz (1980) Exploring the City: Inquiries Toward an Urban Anthropology, ISBN 0-231-08376-9
  • Gregory Eliyu Guldin, Aidan William Southall (eds.) (1993) Urban Anthropology in China, ISBN 90-04-08101-1
  • Jacqueline Knörr (2007) Kreolität und postkoloniale Gesellschaft. Integration und Differenzierung in Jakarta, Frankfurt & New York: Campus Verlag, ISBN 978-3-593-38344-6
  • Eames, Edwin. Anthropology of the City, An Introduction to Urban Anthropology. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
  • Gmelch, George. Urban Life: Readings in the Anthropology of the City. 4th ed. Waveland Press, 2002.
  • Low, Setha. Theorizing the City: The New Urban Anthropology Reader. Rutgers University Press, 2005. p 20
  • Pardo, Italo. Managing Existence in Naples: Morality, Action, and Structure. Cambridge: Cambridge University Press., 1996
  • Pardo, Italo and Prato, Giuliana B eds. Anthropology in the City: Methodology and TheoryFarnham: Ashgate Publishers.2012.
  • Prato, Giuliana B. and Pardo, italo. ‘Urban Anthropology’ Urbanities, Vol. 3 • No 2 • November 2013, pp 80–110.
  • Pardo, Italo and Prato, Giuliana B. The Palgrave Handbook of Urban Ethnography. New York: Palgrave Macmillan, 2017.