ข้ามไปเนื้อหา

มานุษยวิทยาสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มานุษยวิทยาสังคม เป็นสาขาหนึ่งของวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยการศึกษาว่ามนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรในกลุ่มของสังคม

สาระของการมุ่งเน้นและการปฏิบัติในวิชา

[แก้]

นักปฏิบัติในสาขามานุษยวิทยาสังคม ทำการค้นหา ซึ่งส่วนมากเป็นงานระยะยาว (ซึ่งรวมถึงวิธีสังเกตการณ์ที่เข้าไปมีส่วนร่วม) การจัดรูปสังคมของกลุ่มชนเฉพาะบางกลุ่ม: ประเพณี เศรษฐกิจและองค์การการเมือง กฎหมายและวิธีแก้ข้อขัดแย้ง รูปแบบของการบริโภคและการแลกเปลี่ยน ความเป็นญาติพี่น้องและโครงสร้างครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การเลี้ยงดูเด็ก การปฏิบัติตนในสังคมและศาสนา ฯลฯ

มานุษยวิทยาสังคมยังมุ่งค้นหาและศึกษาบทบาทของความหมาย ความคลุมเครือและการขัดแย้งของชีวิตในสังคม ความรุนแรงและความไม่ลงรอยกัน โดยเน้นตรรกะแห่งพฤติกรรมสังคม มานุษยวิทยาสังคมฝึกฝนกันในด้านการแปลความหมายของพิธีกรรมและพฤติกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งไม่เพียงตัวหนังสือ แต่ด้วยการสื่อความที่ทดสอบที่สัมพันธ์กับการกระทำ วิธีปฏิบัติ และบริบททางประวัติศาสตร์ซึ่งเรื่องต่าง ๆ ฝังตัวอยู่ มานุษยวิทยาสังคมแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของตำแหน่งและมุมมองที่พบในกลุ่มสังคมนั้น ๆ

มานุษยวิทยาสังคมแตกต่างจากวิชาสาขาอื่นเช่น เศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์โดยช่วงที่กว้างของเนื้อหารวม ๆ และความเอาใจใส่ที่มันมีต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคมทั่วโลกและและความจุของมันซึ่งทำให้สาขาวิชาต้องย้อนไปศึกษาสมมุติฐาน "ยูโรป-อเมริกัน" มานุษยวิทยาสังคมแตกต่างจากสังคมวิทยาทั้งในกรรมวิธีโดยรวมที่สาขานี้มีให้กับความเหมาะสมกับเรื่องราวตลอดจนการให้ความสว่างที่ได้จากการศึกษาระดับละเอียดเฉพาะและการขยายเลยไปจากความเข้มงวดของปรากฏการณ์สังคมและวัฒนธรรม ศิลปะ ความเป็นปัจเจกบุคคลและปริชานในขณะที่นักมานุษวิทยาสังคมบางคนใช้กรรมวิธีเชิงปริมาณ (โดยเฉพาะผู้ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจท้องถิ่น ประชากรศาสตร์ หรือสุขภาพและความเจ็บป่วย) นักมานุษยวิทยาสังคมโดยทั่วไปมักเน้นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่มีระยะเวลาภาคสนามที่ยาวนานมากกว่าที่จะใช้กรรมวิธีเชิงปริมาณที่มักใช้ทั่วไปโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยา

นักมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมานุษยวิทยาสังคม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bronislaw Malinowski (1915) The Trobriand Islands
  • (1922) Argonauts of the Western Pacific
  • (1929) The Sexual Life of Savages in North-Western Melanesia
  • (1935) Coral Gardens and Their Magic: A Study of the Methods of Tilling the Soil and of Agricultural Rites in the Trobriand Islands
  • Edmund Leach (1954) Political systems of Highland Burma. London: G. Bell.
  • (1982) Social Anthropology
  • Thomas H. Eriksen (1985) Social Anthropology, pp. 926-929 in The Social Science Encyclopedia
  • Adam Kuper (1996) Anthropology and Anthropologists: The Modern British School

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.dspace.cam.ac.uk/handle/1810/179372 After dinner talk on the history of social anthropology: Beteille speaks of his childhood and natural inclination to anthropology, his training, fieldwork in Delhi and the influence of his supervisor, M.N. Srinivas. His work on equality and inequality in human societies and publications on such, esp the caste system. He reflects on and analyses the work of Dumont, as well as Marxism, Hinduism and Islam. He cites those who have influenced him and his work, and closes with an overview of his current interests in Nationalism and tribal identities in India, as well as his lectures on backward classes.
  2. http://www.dspace.cam.ac.uk/handle/1810/131558 interview by Alan Macfarlane, in which Mary Douglas talks about her life and work in Africa and elsewhere.
  3. http://www.dspace.cam.ac.uk/handle/1810/447 Rosemary Firth interview by Alan Macfarlane: about her arrival in anthropology and fieldwork in Malaya with Raymond Firth, and about the position of a woman anthropologist.
  4. http://www.dspace.cam.ac.uk/handle/1810/131552 Eight lectures for first year Cambridge University students in February 2006. Introducing some of the major approaches to the anthropology of politics and economics.
  5. http://www.dspace.cam.ac.uk/handle/1810/131557 James Woodburn Interview and film of James Woodburn by Alan Macfarlane: about his life and work in anthropology and visual anthropology in Africa and Britain