มองมองทิน
มองมองทิน | |
---|---|
ประสูติ | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2409 มัณฑะเลย์ จักรวรรดิพม่าที่สาม |
สิ้นพระชนม์ | 23 มีนาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี) ตองจี สหพันธรัฐฉาน |
พระชายา | เทะตินซินต์ |
พระบุตร | 13 พระองค์ |
ราชวงศ์ | โก้นบอง |
พระบิดา | มีนเยตีฮะจอ |
พระมารดา | เจาะปวาซอ |
เทะตินมองมองทิน (พม่า: ထိပ်တင်မောင်မောင်တင်; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2409 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2488) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มัณฑะเลย์อู้ทิน เป็นเจ้านายพม่าที่มีบทบาทหลายประการ ตั้งแต่เป็นนักเขียน นักประวัติศาสตร์ ข้าราชการอาณานิคมสหราชอาณาจักร และผู้นำขบวนการต่อต้าน พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน พระราชพงศาวดารราชวงศ์โก้นบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ဆက် ရာဇဝင်တော်ကြီး)[1][2][3] หนึ่งในพระนัดดาของพระองค์ คือ ซุซุลวีน เคยเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศพม่า[4][5][6][7][8][9]
ประวัติ
[แก้]มองมองทินประสูติในช่วงเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2409 ตรงกับรัชกาลพระเจ้ามินดง เป็นพระโอรสของมีนเยตีฮะจอ (Minye Thiha Kyaw) ผู้กินส่วยเมืองมยี่นมู (Myinmu) กับพระชนนีชื่อ เจ้าหญิงเจาะปวาซอ (Kyauk Pwa Saw) เป็นเจ้าหญิงแห่งกรุงศรีอยุธยา[10] ครอบครัวฝ่ายพระชนกสืบสันดานมาจากมีนเยเมียะซวา (Minye Myat Swar) ผู้กินส่วยเมืองวู่นโต (Wuntho) กับเจ้าหญิงสิริปภาเทวี (Thiri Pabadewi) ผู้กินส่วยเมืองท่านตะบีน (Htantabin) พระราชธิดาในพระเจ้ามังระ ส่วนครอบครัวฝ่ายพระชนนี คือ เจ้าหญิงเจาะปวาซอ ผู้สืบสันดานจากเจ้านายจากราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ถูกกวาดจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองไปไว้ที่เมืองอังวะ ซึ่งเป็นเขตราชธานีเดิม[1][11]
มองมองทินมีความสนพระทัยในประวัติศาสตร์พม่าอย่างมาก พระองค์รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมากจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เอกสารใบลาน หนังสือ ภาพวาด บทละคร ถูกจัดเก็บในวังมากกว่า 4,000 ชิ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สมบัติโบราณเหล่านี้ถูกกองกำลังก๊กมินตั๋งเผาทำลายทั้งหมดใน พ.ศ. 2485 ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่า ด้วยความสนพระทัยในประวัติศาสตร์ พระองค์อาสาเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์สัปดาห์ละสองครั้ง ด้วยมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดความรู้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่[1] และยังนิพนธ์ พระราชพงศาวดารราชวงศ์โก้นบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ဆက် ရာဇဝင်တော်ကြီး) ซึ่่งมีเนื้อหาครอบคลุมยุคราชวงศ์โก้นบอง จากการนำข้อมูลจากแหล่งอื่นเข้าไว้ในนิพนธ์ คือ มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว และ มหาราชวงศ์ ฉบับที่สอง รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์อดีตข้าราชบริพาร[1]
มองมองทินมีพระอาการประชวรระหว่างเสด็จประพาสประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ลงด้วยพระโรคบิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่เมืองตองยี สหพันธรัฐฉาน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Maung Thuta (1 August 2002). Maung Khin Min (Danuphyu) (บ.ก.). Biographies of Great Writers (စာဆိုတော်များ အတ္ထုပ္ပတ္တိ (5th ed.). Yaroyae.
- ↑ Myanmar Historical Commission Conference Proceedings: 12-14 January, 2005 (ภาษาอังกฤษ). Myanmar Historical Commission, Golden Jubilee Publication Committee. 2005.
- ↑ "Candamuni Stupa and stone inscriptions". MDN - Myanmar DigitalNews (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "လွှတ်တော်အမတ်များ - ဒေါ်စုစုလွင်". Open Myanmar Initiative. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
- ↑ Aung Hla Tun (10 March 2016). "Presidency beckons for Suu Kyi confidant after two months in party". Reuters News. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ "ပြည်သူ့လွှတ်တော်". www.pyithuhluttaw.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
- ↑ "ဒေါ်စုစုလွင် ပြည်သူ့ လွှတ်တော်". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2024-07-21.
- ↑ "Su Su Lwin: Not 'The' Lady, but Rather Burma's Next 'First' Lady". The Irrawaddy.
- ↑ Htoo Thant, Lun Min Mang (1 April 2016). "First Lady to remain an MP". The Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 4 April 2016.
- ↑ "set up by King Bagyidaw (1819-1837)" (PDF). Manusya Journals.
- ↑ "ထိုင်းဘုရင်သွေး မကင်းတဲ့ မြန်မာတွေ". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). 26 October 2017.