มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว
ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2003 มี 3 เล่มจบ | |
ผู้ประพันธ์ | คณะกรรมการประวัติศาสตร์หลวงแห่งพม่า |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | မှန်နန်း မဟာ ရာဇဝင်တော်ကြီး |
ประเทศ | พม่าสมัยราชวงศ์คองบอง |
ภาษา | ภาษาพม่า |
ชุด | บันทึกเหตุการณ์พม่า |
ประเภท | บันทึกเหตุการณ์, ประวัติศาสตร์ |
วันที่พิมพ์ | กันยายน ค.ศ. 1832[1] |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | ค.ศ. 1923 (to Pagan Dynasty) |
ชนิดสื่อ | สิ่งพิมพ์ |
เรื่องก่อนหน้า | มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ |
เรื่องถัดไป | มหาราชวงศ์ ฉบับที่สอง |
มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว[2] (พม่า: မှန်နန်း မဟာ ရာဇဝင်တော်ကြီး, ออกเสียง: [m̥àɴnáɴ məhà jàzəwɪ̀ɴdɔ̀dʑí] หมั่นนัน มะห่าหย่าซะหวิ่นด่อจี) เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ฉบับทางการเป็นฉบับแรกของราชวงศ์คองบอง ที่พระเจ้าจักกายแมงโปรดให้คณะกรรมการประวัติศาสตร์หลวงแห่งพม่าเรียบเรียงขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1829 และ ค.ศ. 1832[1][3] โดยอาศัยเอกสารบันทึกเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายฉบับ และจารึกที่รวบรวมได้ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง ตลอดจนมหากาพย์พระราชประวัติหลายฉบับ แม้ผู้เรียบเรียงจะแย้งข้อมูลบางส่วนในมหาราชวงศ์ฉบับอู้กะลา ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ฉบับมาตรฐานของราชวงศ์ตองอู แต่ยังคงข้อมูลตามมหาราชวงศ์ฉบับนั้น[3]
มหาราชวงศ์ฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมมาจนถึง ค.ศ. 1821 ไม่นานก่อนเกิดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1824–1826) และไม่ได้ใช้แนวคิดทางประวัติศาสตร์แบบโลกวิสัย แต่อาศัยศาสนาสร้างความชอบธรรมให้กับสถาบันกษัตริย์[4] อย่างไรก็ตามการอ้างว่าสถาบันกษัตริย์พม่ามีต้นกำเนิดมาจากพระวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้าและพระเจ้ามหาสมมตแทนการอ้างตำนานก่อนพุทธศาสนา นับเป็นพัฒนาการสำคัญที่สุดที่สะท้อนในเอกสารฉบับนี้[3][5]
มหาราชวงศ์ฉบับนี้เป็นเอกสารที่นักวิชาการยุโรปนิยมใช้อ้างอิงมากที่สุดในการเขียนประวัติศาสตร์พม่า และยังคงใช้เป็นบรรทัดฐานหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์พม่า[6] แม้แต่พระราชพงศาวดารพม่าพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ก็แปลมาจากมหาราชวงศ์ฉบับนี้[2]
ต่อมา นายต่อ หรือ หม่องต่อ ชาวพม่าในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้คัดเรื่องราวจาก มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยนำมาแปลเป็นภาษาไทยโดยใช้ชื่อว่า มหาราชวงศ์ พงษาวดารพม่า
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 Hmannan Vol. 1 2003: vi
- ↑ 2.0 2.1 จิตราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. "พงศาวดารพม่า". ศูนย์พม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 Hla Pe 1985: 39–40
- ↑ Aung-Thwin 2005: 144–145
- ↑ Lieberman 2003: 196
- ↑ Htin Aung 1970: 1
- บรรณานุกรม
- Aung-Thwin, Michael A. (2005). The Mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
- Hla Pe, U (1985). Burma: Literature, Historiography, Scholarship, Language, Life, and Buddhism. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 9789971988005.
- Htin Aung, Maung (1970). Burmese History before 1287: A Defence of the Chronicles. Oxford: The Asoka Society.
- Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
- Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.