ข้ามไปเนื้อหา

มนตรี ปาน้อยนนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนตรี ปาน้อยนนท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(24 ปี 73 วัน)
ก่อนหน้าสำเภา ประจวบเหมาะ
ถัดไปสังคม แดงโชติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนภัสลักษณ์ ปาน้อยนนท์

มนตรี ปาน้อยนนท์ (เกิด 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น ต๊ง[1] เป็นนักการเมืองชาวไทยตําเเหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (เดชอิศม์ ขาวทอง) เเละรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5 สมัย

ประวัติ

[แก้]

มนตรี เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรนายประยูร กับนางบักเจียง ปาน้อยนนท์[2] ด้านครอบครัวสมรสกับนางนภัสลักษณ์ ปาน้อยนนท์ มีบุตร 2 คน

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด[3]

การทำงาน

[แก้]

มนตรี เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) และรองประธานสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมัยแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2554 มนตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

ในปี พ.ศ. 2561 มนตรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค ซึ่งมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค และจุติ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 มนตรีได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมัยที่ 5 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

มนตรี เป็นนักการเมืองคนใกล้ชิดกับเฉลิมชัย ศรีอ่อน มีบทบาทหลังการเลือกตั้งปี 2562 ในการร่วมหารือกับพรรคภูมิใจไทยในการจัดตั้งรัฐบาล[4][5]

เเละต่อมาในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการเเต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (เดชอิศม์ ขาวทอง) ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2567

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โจทย์ยาก ‘เฉลิมชัย’ มนต์เสื่อมที่ ‘สามอ่าว’ คำไหนคำนั้นไม่ขลัง
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14.
  4. ทำงานกันอยู่! 'อนุทิน' โชว์ภาพจับมือ 'เฉลิมชัย'
  5. “มนตรี” ยัน ปชป.-ภูมิใจไทย จับมือแน่น ขอคุม 6 กระทรวงเกรดเอ ถ้าไม่ให้ ขู่ตั้งรบ.ขั้วที่3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑