ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันนา ฤทธิไกร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 140: บรรทัด 140:
* [[ดับตายต้องตาย]] (2534)
* [[ดับตายต้องตาย]] (2534)
* [[พยัคฆ์ร้าย เชี่ยงชุน]] (2534)
* [[พยัคฆ์ร้าย เชี่ยงชุน]] (2534)
* [[คู่ฟัดคู่โหด]] (2534)
* [[สงครามผี]] (2534)
* [[สงครามผี]] (2534)
* [[สองโทน]] (2534)
* [[สองโทน]] (2534)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:44, 21 สิงหาคม 2563

พันนา ฤทธิไกร
พันนา ฤทธิไกร (ขวา) กับหม่ำ จ๊กมก (ซ้าย) เมื่อปี พ.ศ. 2548
พันนา ฤทธิไกร (ขวา) กับหม่ำ จ๊กมก (ซ้าย) เมื่อปี พ.ศ. 2548
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504
กฤติยา ลาดพันนา
เสียชีวิต20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (53 ปี)
โรงพยาบาลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสลักษณา เสาธงชัย[1]
อาชีพนักแสดง, ผู้กำกับ, นักเขียนบท, นักออกแบบท่าต่อสู้
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

พันนา ฤทธิไกร หรือชื่อจริง กฤติยา ลาดพันนา (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 250420 กรกฎาคม พ.ศ. 2557) เป็นนักแสดงและผู้กำกับคิวบู๊ ที่มีผลงาน เช่น เด็กเสเพล, อั้งยี่, อินทรีแดง, แก๊งกระแทกก๊วน, องค์บาก, ต้มยำกุ้ง และคนไฟบิน ปัจจุบัน เขามีส่วนร่วมในฐานะผู้กำกับฉากต่อสู้ใน ต้มยำกุ้ง 2 ด้วยเช่นกัน[2]

ประวัติ

กฤติยา ลาดพันนา หรือ พันนา ฤทธิไกร ถือกำเนิดที่ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน พันนาฯเป็นคนที่ 5 และเป็นพี่ชายของ อรนุช ลาดพันนา ที่ทำงานเป็นนักพากย์หนังของพันธมิตร บิดารับราชการครู เขาจบการศึกษาระดับป.7 โรงเรียนดอนหันวิทยายน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการขอนแก่นในปัจจุบัน) ระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนและ วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม

หลังจบวิทยาลัยพลศึกษามหาสารคามเมื่อปี พ.ศ. 2524 เขาก็มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพโดยการแนะนำของเพื่อนรัก ประพนธ์ เพ็ชร์อินทร์ เพื่อไปสมัครเล่นหนังกับ คมน์ อรรคเดช แห่งโคลีเซี่ยมฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาได้เข้าฉากก็คือเรื่อง ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. โดยเป็นฉากที่ ม.ล.สุรีย์วัลย์ สุริยง ต้องขึ้นไปสู้กับผู้ร้ายบนหลังคารถไฟซึ่งพันนาฯ เป็นสตั้นท์แมนที่ได้รับความไว้วางใจจากกองฯคนเดียวให้ขึ้นไปเล่นฉากนี้เนื่องจากต้องใช้ทักษะสูง ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ฝึกสอนคิวบู้ให้กับ ม.ล.สุรีย์วัลย์ สุริยง ในเวลาเดียวกันก็กลับขอนแก่นมาตั้งทีมงานของตัวเอง โดยรับสมัครจากผู้ที่สนใจในแม่ไม้มวยไทย และศิลปะการต่อสู้ แล้วก็เริ่มก่อตัวเป็นทีมจากจำนวนผู้เข้าฝึกร่วม 20 คน และเรียกตนเองว่า "กลุ่มสตั้นท์แมน พี พี เอ็น" การฝึกอย่างเอาจริงเอาจังเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2525 พันนาฯจะเป็นผู้สอนเองโดยใช้เวลาว่างจากการถ่ายทำภาพยนตร์ที่กรุงเทพฯ เมื่อเกิดความพร้อม ปลายปี พ.ศ. 2527 จึงเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "เกิดมาลุย" และออกฉายเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2529 และประสบความสำเร็จพอสมควร ทั้งได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกว่า เป็นหนังไทยประเภทบู้แนวใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ดังที่ "กันต์ ขันตี" เขียนไว้ในนิตยสารดาราไทยฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ว่า "ใหม่หมดทุกอย่าง ตั้งแต่ดารายันผู้กำกับ “เกิดมาลุย” เป็นคลื่นลูกใหม่ที่หวังกันว่าจะกลับมาปลุกหนังไทยให้ฮือฮาอีกครั้ง...เพียงแค่ตัวอย่างที่ออกฉายในขณะนี้ก็เป็นที่ร่ำลือกันอย่างกว้างขวางถึงความมัน บ้าระห่ำแนวใหม่ของหนังไทยที่ยังไม่มีใครทำขึ้นมา “เกิดมาลุย” ในสายตาคนทั่วๆไปอาจเป็นหนังบู้ธรรมดา แต่ทุกคนในวงการที่ได้รับชมหนังเรื่องนี้ ต่างกล่าวขานเป็นเสียงเดียวกันถึงความมันส์ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนบนจอหนังไทย ต่างเก็งกันว่าหนังเรื่องนี้ จะเป็นหนังแนวใหม่ที่จะกลับมาปลุกหนังไทยให้คึกคักเรื่องหนึ่ง ซึ่งมาแปลกแหวกแนวกว่าหนังทุกเรื่อง" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ชื่อของ “พันนา ฤทธิไกร” โดดเด่นขึ้นมาในฐานะผู้กำกับ นักแสดง สตั้นท์แมนในภาพยนตร์แอ็คชั่นมานับไม่ถ้วน นับตั้งแต่ผลงานที่สร้างชื่อในอดีตอย่าง เกิดมาลุย พ.ศ. 2529 ปลุกมันมันขึ้นมาฆ่า 1-4 ด้วยตัวเลขกว่าร้อยสำหรับภาพยนตร์ที่มีชื่อของตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม เนื้องานที่รับผิดชอบมีทั้งในส่วนงานออกแบบและกำกับคิวบู๊ให้กับทั้งภาพยนตร์, ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ของไทย ไปจนถึงภาพยนตร์จากทั่วโลกที่เดินทางมาถ่ายทำในประเทศไทย ที่ได้เขาได้มีโอกาสร่วมงานด้วย ฯลฯ พันนาผ่านช่วงเวลาทองแห่งการสุกงอมของภาพยนตร์ไทย จนถึงยุคตกต่ำมาหลายยุคหลายสมัย ผ่านการร่วมงานกับนักแสดงชายแอ็คชั่นไทยมานับไม่ถ้วน ตั้งแต่พระเอกตลอดกาลอย่าง สรพงศ์ ชาตรี ฉัตรชัย เปล่งพานิช และเป็นอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้ของนักแสดงแอ๊คชั่นหลายคน เช่น จา พนม เดี่ยว ชูพงษ์[3]

พันนา ฤทธิไกร เสียชีวิตวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 จากอาการติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากโรคไตและโรคตับ ด้วยวัย 53 ปี ที่โรงพยาบาลลาดพร้าว หลังเริ่มรักษามาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556[3]

ผลงานกำกับภาพยนตร์

บทภาพยนตร์

ผลงานแสดงภาพยนตร์

อื่น ๆ

อ้างอิง

  1. "ลูก "พันนา ฤทธิไกร" ไม่ท้อ! ขอสานฝันเจริญรอยตามพ่อ". สนุกดอตคอม. 22 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ต้มยำกุ้ง 2
  3. 3.0 3.1 หน้า 1 ต่อหน้า 2, สิ้นผกก.นักบู๊ พันนาฤทธิไกร. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,657: วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 แรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย