ข้ามไปเนื้อหา

โคตรสู้ โคตรโส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคตรสู้ โคตรโส
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับพันนา ฤทธิไกร, มรกต แก้วธานี
นักแสดงนำศุภักษร ไชยมงคล
สรพงษ์ ชาตรี
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค
พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์
คาซู แพททริค แทงค์
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
นาฟิล์ม
วันฉาย16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเทศ ไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

โคตรสู้ โคตรโส (อังกฤษ: Bangkok Knockout) เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่นไทย ที่ได้นำเสนอรูปแบบศิลปะการต่อสู้หลากรูปแบบไม่ว่าจะเป็น มาร์เชี่ยลอาร์ท, คาโปเอร่า, ฟรีรันนิ่ง, ไทเก็ก, เทควันโด, กังฟู และมวยไทย กำหนดฉายในประเทศไทยครั้งแรก 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553[1]

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

กลุ่มของนักศึกษาผู้มีทักษะด้านศิลปะการต่อสู้ซึ่งมีชื่อว่า "Fighting Club"[1] ได้แยกย้ายกันไปตามวิถีชีวิตของตนภายหลังจากสำเร็จการศึกษา ต่อมาพวกเขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองในการเป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ็คชั่นฮอลลีวูด[1] ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคือได้มีเสียงระเบิดดังขึ้น เมื่อทุกคนฟื้นขึ้นมาก็พบว่างานสังสรรค์นี้ได้กลายเป็นสถานที่ที่มีแต่ความเงียบงัน เพื่อนของพวกเขาถูกจับตัวไป ทั้งยังมีมือสังหารคอยกำจัดพวกเขา นั่นได้ทำให้พวกเขาเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าเป็นฝีมือที่เกิดขึ้นจากพวกใด และมีสาเหตุอะไรที่ต้องทำเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็มีเพียงทางเลือกเดียวในการช่วยเหลือพวกพ้องของตน นั่นคือการร่วมมือกันต่อสู้กับเหล่าร้าย[1] พร้อมกันนี้เหล่านักสู้ที่เหลือก็ต้องพบความจริงอันน่าเจ็บปวดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีบางคนในกลุ่มของพวกเขาหักหลังไปเข้ากับเหล่าร้ายพร้อมกับจัดฉากสร้างเรื่องราวทั้งหมดขึ้น

การสร้าง

[แก้]

ออกแบบฉากต่อสู้โดยพันนา ฤทธิไกรและมรกต แก้วธานี โดยใช้เวลาในการออกแบบกว่า 1 ปี ร่วมกับทีมสร้างภาพยตร์ชุด องค์บาก, ต้มยำกุ้ง, ช็อคโกแลต และจีจ้า ดื้อสวยดุ ซึ่งมีนักแสดงสมทบอย่าง ชัชพล อภิชาติ, กิติศักดิ์ อุ่นจิตต์, สำเร็จ เมืองพุทธ, ธนวิช วงศ์สุวรรณ, ภุชงค์ ศาสตร์นอก, วิรัช เข็มกลัด, ศราวุธ คำสอน, ปุญญพัทร บุญคุณชนก และ วินัย เวียงย่างกุ้ง ที่ได้แสดงรูปแบบศิลปะการต่อสู้หลากแขนงในภาพยนตร์ชุดดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน[2]

นักแสดง

[แก้]

นักแสดงนำ

[แก้]

นักแสดงนำสมทบ 9 นักสู้เลือดใหม่ (ทีม Fighting Club)

[แก้]
  • ชัชพล ศิริกุลวุฒิชัย (อภิชาติ) รับบทเป็น ป๊อซ ศิลปะการต่อสู้ เทควันโด (ทายาทนักบู๊ ลักษณ์ อภิชาติ)
  • ศราวุธ คำสอน รับบทเป็น ยูโก้ ศิลปะการต่อสู้ มวยไทย (กำปั้นสะท้านภูผา)
  • วิรัช เข็มกลัด รับบทเป็น จ้าว ศิลปะการต่อสู้ คาโปเอร่า (มฤตยูแห่งป่า)
  • วินัย เวียงย่างกุ้ง รับบทเป็น นัท ศิลปะการต่อสู้ ซามูไร (คมดาบในความมืด)
  • ธนวิช วงศ์สุวรรณ รับบทเป็น ปอม ศิลปะการต่อสู้ กังฟู (วูซู มวยอ่อน)
  • ปุญญภัทร บุญคุณชนก รับบทเป็น เหลิม ศิลปะการต่อสู้ ไทเก๊ก (ฝ่ามือเทพสายฟ้า)
  • ภุชงค์ ศาสตร์นอก รับบทเป็น เอ็ดโด้ ศิลปะการต่อสู้ ฟรีรันนิ่ง (เดอะคิลเลอร์ จัมพ์เปอร์)
  • สำเร็จ เมืองพุทธ รับบทเป็น โอ๋ ศิลปะการต่อสู้ แบบทหารคอมมานโด (มวยอเมริกันแซมโบ้)
  • กิตติศักดิ์ อุ่นจิตต์ รับบทเป็น กิต ศิลปะการต่อสู้ คิกบ็อกซิ่ง/ยิมนาสติก

นักแสดงสมทบ

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงบวก[7][8][9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "โคตรสู้ โคตรโส Bangkok Knockout (BKO)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-18.
  2. โคตรสู้ โคตรโส Bangkok Knockout (BKO)
  3. "บทสัมภาษณ์ กระแต-ศุภักษร ไชยมงคล "โคตรสู้โคตรโส"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-12-18.
  4. โคตรสู้ โคตรโส
  5. "บทสัมภาษณ์ ใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ "โคตรสู้โคตรโส"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-18.
  6. Movie Trailer: ‘Bangkok Knockout’ (อังกฤษ)
  7. "NYAFF 2011: BKO: BANGKOK KNOCKOUT Review". Twitch Film. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
  8. Lee, Maggie (2011-06-01). "BANGKOK KNOCKOUT Review". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  9. "BKO: Bangkok Knockout (Blu-ray)". DVD Talk. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.
  10. "BKO: Bangkok Knockout Is a Face-Paced Blast -- Except When the Actors are Talking". Pop Matters. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]