ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกลเดนโกล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ssttgo (คุย | ส่วนร่วม)
Ssttgo ย้ายหน้า โกลเดนโกล ไปยัง Golden goal
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:59, 11 กุมภาพันธ์ 2563

โกลเดนโกล (อังกฤษ: Golden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และในเกมนั้นผลประตูเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว

ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ

กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน พ.ศ. 2536 โดยใช้แทนคำว่า ซัดเดน เดธ (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998

การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2536 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษ โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ได้ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ก ไป 2-1[1] คว้าแชมป์ไปครอง

กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้

ส่วนในประเทศไทย มีโกลเดนโกลเกิดขึ้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ระหว่างทีมชาติไทย ภายใต้การคุมทีมนัดแรกของ ปีเตอร์ วิธ กุนซือชาวอังกฤษคนแรก ซึ่งเจอกับทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 95 ดุสิต เฉลิมแสน เขี่ยฟรีคิกสั้นๆ ให้ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ยิงไกลแบบเต็มข้อเข้าไปเป็นโกลเดนโกลให้ไทยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะเกาหลีใต้ไปได้ 2-1[2]

ใน พ.ศ. 2545 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน

ในปี พ.ศ. 2547 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ที่ประเทศโปรตุเกส

ดูเพิ่ม

อ้างอิง