ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pastman (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Pastman (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
{{Fs mid}}
{{Fs mid}}
{{Fs player|no=19|nat=Thailand|name=[[อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ]]|pos=MF}}
{{Fs player|no=19|nat=Thailand|name=[[อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ]]|pos=MF}}
{{Fs player|no=25|nat=Thailand|name=[[สรศักดิ์ พูนจังหรีด]]|pos=MF}}
{{Fs player|no=|nat=Thailand|name=[[รณชัย จูงวงษ์สุข]]|pos=DF}}
{{Fs player|no=|nat=Thailand|name=[[รณชัย จูงวงษ์สุข]]|pos=DF}}
{{Fs player|no=|nat=Thailand|name=[[ไตรรงค์ เพชรเทียม]]|pos=FW}}
{{Fs player|no=|nat=Thailand|name=[[ไตรรงค์ เพชรเทียม]]|pos=FW}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:23, 5 มกราคม 2563

สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ
ไฟล์:BlueWave-Logo-2016.png
ชื่อเต็มสโมสรฟุตซอลพีทีที บลูเวฟ ชลบุรี (ชลบุรี บลูเวฟ)
ชื่อย่อชลบุรี บลูเวฟ
ฉายาฉลามชล โต๊ะเล็ก, ฉลามพลังเพลิง
ก่อตั้งพ.ศ. 2549
สนามบลูเวฟอารีนา (สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชลบุรี)
ประธานไทย ธัชพัทธ์ เบ็ญจศิริวรรณ
ผู้จัดการไทย เบนจามิน จุง ทัฟเนล
ผู้ฝึกสอนสเปน คาร์ลอส เซซาร์ นูเนส กาโก
ลีกไทยแลนด์ฟุตซอลลีก
2562ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก, อันดับที่ 2
สีชุดทีมเยือน
ทีมของชลบุรีเอฟซี
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) ฟุตซอล (ชาย)

สโมสรฟุตซอลจังหวัดชลบุรี หรือ พีทีที บลูเวฟ ชลบุรี เป็นสโมสรฟุตซอลในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดชลบุรี ได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยแลนด์ฟุตซอลลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 สามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 9 สมัย และชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์ฟุตซอลลีกฤดูกาลแรกในปี พ.ศ. 2549 สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศได้ 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะยุติการทำทีมชั่วคราวโดยมีการโอนนักเตะและสิทธิการทำทีมทั้งหมดไปให้กับสโมสรฟุตซอล ธอส.อาร์แบค แทน และสามารถคว้าแชมป์ไปได้อีก 3 สมัย คือในปี พ.ศ. 2553, พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555

ต่อมาได้มีการกลับมาคุมทีมอีกครั้งภายใต้การควบคุมของสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี และสโมสรฟุตบอลชลบุรี ภายใต้ชื่อว่า สโมสรฟุตซอลชลบุรี ธอส. อาร์แบค ก่อนที่สุดท้ายจะเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเก่า คือ ชลบุรี บลูเวฟ

ในปี พ.ศ. 2556 ชลบุรีบลูเวฟกลายเป็นสโมสรแรกในประเทศไทยที่สามารถคว้าแชมป์รายการฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียได้สำเร็จ หลังดวลจุดโทษชนะ กิติ ปาซาน แชมป์เก่าเมื่อปี พ.ศ. 2555 จากอิหร่านไปได้ 5-2 หลังเสมอในเวลาปกติ 1-1[1]

ในปี พ.ศ. 2559 คณะกรรมการสโมสรมีมติแต่งตั้ง ธัชพัทธ์ เบ็ญจศิริวรรณ ขึ้นเป็นประธานสโมสรแทน อดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ ที่ได้ลาออกไปรับตำแหน่งประธานพัฒนาฟุตซอลแห่งชาติ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[2]

ในปี พ.ศ. 2560 บริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรพร้อมกับเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตซอลพีทีที บลูเวฟ ชลบุรี และสามารถคว้าแชมป์ฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียสมัยที่สองของสโมสรภายหลังเอาชนะ กิติ ปาร์ซาน จากประเทศอิหร่าน 3-2

ตราสโมสรสมัยยังใช้ชื่อว่า ธอส. อาร์แบค

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย เรวัช ขำกล่ำ
2 DF ไทย ณัฐพล สุทธิโรจน์
3 MF ไทย นัฐวุฒิ ศรีหรั่งไพโรจน์
4 DF บราซิล รูดิมาร์ เวนันซิโอ
5 FW ไทย พู่กัน โด่งดัง
6 DF ไทย ธนาธร สันทนาประสิทธิ์
7 MF ไทย กฤษดา วงษ์แก้ว
8 DF ไทย จิรวัฒน์ สอนวิเชียร
9 FW ไทย ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง
10 FW ไทย ณัฐวุฒิ หมัดยะลาน
11 FW ไทย มูฮัมหมัด อุสมานมูซา
12 GK ไทย คฑาวุธ หาญคำภา
14 MF ไทย ปาณัสม์ กิตติภาณุวงศ์
16 FW ไทย พีรพัฒน์ แก้ววิลัย
18 GK ไทย ธีระวัฒน์ คำมะเรียง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 MF ไทย อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ
DF ไทย รณชัย จูงวงษ์สุข
FW ไทย ไตรรงค์ เพชรเทียม
MF ไทย วีระศักดิ์ ศรีไชย
MF ไทย ศุภกร บวรรัชฎากุล
?? ไทย วรุฒ หวังสะมาแอล
?? ไทย ปัญญา อรัญภูวนารถ
?? ไทย โภควินท์ อนันตศักดิ์โสธร
?? ไทย เมธาสิทธิ์ มีเพียร
?? ไทย กฤษณ์ อรัญสัญญาลักษณ์
?? ไทย ศุภกร สังอ้ม

ผลงาน

  • ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก
    • ชนะเลิศ 9 สมัย - 2549, 2552 (ชลบุรี บลูเวฟ), 2553, 2554 - 2555 (ธอส.อาร์แบค), 2555 - 2556, 2557, 2558, 2559 (ชลบุรี บลูเวฟ), 2560
    • รองชนะเลิศ 3 สมัย - 2550, 2561, 2562

อาเซียน

เอเชีย

  • ฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย
    • ชนะเลิศ 2 สมัย - 2556, 2560
    • รองชนะเลิศ - 2557
    • อันดับที่ 3 - 2559

ระดับโลก

  • ฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรโลก (Intercontinental Futsal Cup)
    • รอบแรก - 2554
    • อันดับที่ 4 - 2557, 2561
    • อันดับที่ 6 - 2562

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ""ชลบุรี บลูเวฟ" คว้าแชมป์ฟุตซอลสโมสรเอเชีย". สำนักข่าวไทย. 2 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. บลูเวฟ แถลงตั้ง ธัชพัทธ์ บุตรชาย บิ๊กป๋อม นั่งแทนรองประธาน ลุยศึก 2015 เว็บไซต์ทางการสโมสรฟุตซอล ชลบุรี บลูเวฟ