เบนจามิน จุง ทัฟเนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบนจามิน จุง ทัฟเนล
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเบนจามิน จุง ทัฟเนล
รู้จักในชื่อเบน เท็น ,เบน โซโล
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (48 ปี)
ที่เกิดประเทศเกาหลีใต้
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟ, เมทัล
อาชีพนักร้อง ที่ปรึกษาทีมฟุตบอล นักแปลภาษา อาจารย์
เครื่องดนตรีกีตาร์,เบส,คีย์บอร์ด,กลอง,ไวโอลิน

เบนจามิน จุง ทัฟเนล (อังกฤษ: Benjamin Tuffnell) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ[1] อดีตเคยเป็นนักร้องนำวงซิลลี่ฟูลแทนที่ณัฐพล พุทธภาวนา (โต ซิลลี่ ฟูลส์)[2]

ประวัติ[แก้]

เบนจามิน จุง ทัฟเนล เกิดที่เมืองโอซาน ประเทศเกาหลีใต้ (เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) ได้รับการอุปการะจากเกลนและโจแอน ทัฟฟ์เนล (Glenn and JoAnne Tuffnell) และได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองเบิร์กลีย์ ไฮทส์ (Berkley Heights) ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เบนจามินเติบโตที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน โดยมีสตีฟและจอห์นซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามินเป็นคนแนะนำเกี่ยวกับดนตรี[3]

ครอบครัวของเบนจามินได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองบาร์กิ้ง ริจช์ (Basking Ridge) รัฐนิวเจอร์ซีย์ เบนจามินเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนริจช์ (Ridge) ต่อมาเบนจามินก็ได้ย้ายไปเรียนที่แบลร์ อะคาเดมี (Blair Academy) จนจบการศึกษา เบนจามินได้เข้าศึกษาต่อด้าน Creative Writing และ History (สาขาการเขียนเชิงสร้างสรรค์และประวัติศาสตร์)ที่มหาลัยโลโยลา แมรี่แลนด์ (Loyola University Maryland) เมื่อ พ.ศ. 2538 และได้รับทุนการศึกษาในฐานะนักกีฬา รวมทั้งยังได้รับจดหมายเชิญให้ไปเล่นฟุตบอลดิวิชั่น 1

หลังจากจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เบนจามินได้ตกลงที่จะรับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง หลังจากได้มาอยู่เมืองไทย เบนจามินมีโอกาสได้รู้จักกับโกมุต อัตตเกษม (ต๊อก) และ นพพร อิ่มทรัพย์ (หรั่ง)

เบนจามินได้เริ่มปรากฏตัวในวง Shadow ซึ่งเล่นอยู่ตามสถานบันเทิงต่างๆ ใน พ.ศ. 2543 เบนจามินได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และได้ร่วมงานกับต๊อกและหรั่งที่ผับ T29 ซึ่งเจ้าของคือ วิยดา โกมารกุล ณ นคร

ผลงาน[แก้]

ในนามของซิลลี่ ฟูลส์[แก้]

EP
สตูดิโออัลบั้ม
ซิงเกิล

ผลงานเดี่ยว[แก้]

ผลงานการแต่งเพลง[แก้]

  • "Spotlight" ขับร้องโดย เอด้า ชุณหวชิร (เพลงพิเศษขอบคุณให้ทีมแพทย์ทั่วโลก จากสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563)
  • "Thank you my Silent Heroes" ขับร้องโดย วชิรวิชญ์ ชีวอารี ,เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร และเอด้า ชุณหวชิร (เพลงพิเศษขอบคุณให้ทีมแพทย์ทั่วโลก จากสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563)
  • "ขอเป็นคนหนึ่ง" (ต้นฉบับเดิมปี พ.ศ. 2535 แต่งเฉพาะท่อนแร็ปเพิ่มเติม) ขับร้องโดย พีรวัส แสงโพธิรัตน์ ,ปราชญา เรืองโรจน์ และเอด้า ชุณหวชิร (เพลงพิเศษขอบคุณให้ทีมแพทย์ทั่วโลก จากสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563)
  • "IT’S ME" ขับร้องโดย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (เพลงประกอบภาพยนตร์สารคดี BNK48 Documentary : One Take ปีพ.ศ. 2563)
  • "IT'S LIFE" ขับร้องโดย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (เพลงประกอบภาพยนตร์สารคดี BNK48 Documentary : One Take ปีพ.ศ. 2563)

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉลามสายร็อก! บลูเวฟเปิดตัว 'เบน ซิลลี่ฟูลส์' นั่งแท่น ผอ.สโมสร
  2. "เปิดใจ "เบนจามิน" บนเส้นทาง "ซิลลี่ฟูลส์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-13.
  3. "คุ้ยประวัตินักร้องคนใหม่ ซิลลี่ฟูลส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-13.
  4. "เบน อดีตนักร้อง SILLY FOOLS หวนคืนจับไมค์ พร้อมซิงเกิลเปิดตัว "INSOMNIA"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.