ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถถัง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 63: บรรทัด 63:


=== การหลบหลีก ===
=== การหลบหลีก ===
เป็นการซ่อนแอบตามมุมตึก พุ่งไม้ หรือบ้านต่างๆ ในเมืองใหญ่ หรือ นอกเมืองใหญ่ เช่น เมือง Pochinki หรือเมือง rozhok เมือง pickado
รถถังทำการหลบหลีกด้วยการใช้การพรางตัว (ทำให้ดูเหมือนสิ่งรอบตัว) การปกปิด (ทำให้ไม่ถูกมองเห็น) และการหลอกล่อ (ทำให้เหมือนสิ่งอื่นแทน)


Boatcamp Paradrie resort
มันเป็นเรื่องยากที่รถถังจะหลบหลีกอะไรได้ด้วยความจริงที่ว่ารถถังเป็นเหล็กชิ้นโตที่มีสะดุดตา ย้อนแสงได้ง่าย ปล่อยความร้อน และเสียงดัง ผลที่ตามมาคือมันเป็นการยากที่จะอำพรางลำตัวส่วนล่างของรถถังให้ได้ประสิทธิภาพ รถถังจะถูกพบเห็นได้ง่ายมากเมื่อมันเคลื่อนที่เพราะขนาดที่ใหญ่ เสียงดังที่เป็นเอกลักษณ์ แรงสั่นสะเทือน และความร้อนจากเครื่องยนต์ สายพานหรือตีนตะขาบและกลุ่มฝุ่นเองก็เป็นภัยต่อรถถังเพราะมันจะถูกตามรอยได้ รถถังที่ไม่ได้ติดเครื่องยนต์ก็ตกเป็นเป้าของการตรวจจับโดย[[อินฟราเรด]]ได้เพราะความแตกต่างระหว่างคุณสมบัตินำความร้อนและความร้อนจากเหล็กของรถถังและสิ่งที่อยู่รอบๆ มัน ในระยะใกล้รถถังเองก็สามารถถูกตรวจจับได้แม้ว่ามันจะเบาเครื่องยนต์และปกปิดอย่างดีเพราะว่ากลุ่มอากาศร้อนเหนือรถถังและกลิ่นของน้ำมันดีเซลจากเครื่องยนต์


ผ้าห่มความร้อนจะลดอัตราการกระจายของความร้อนและตาข่ายพรางตัวจะใช้การผสมวัสดุต่างๆ ที่ให้ความร้อนแตกต่างกันเพื่อหลอกอินฟราเรด การอำพรางจะทำเพื่อขจัดเอกลักษณ์และการย้อนแสงของรถถัง การปรับตำแหน่งของป้อมปืนหรือตัวรถจะลดการย้อนแสงของรถถังและเป็นการเพิ่มการป้องกันไปในตัว
ผ้าห่มความร้อนจะลดอัตราการกระจายของความร้อนและตาข่ายพรางตัวจะใช้การผสมวัสดุต่างๆ ที่ให้ความร้อนแตกต่างกันเพื่อหลอกอินฟราเรด การอำพรางจะทำเพื่อขจัดเอกลักษณ์และการย้อนแสงของรถถัง การปรับตำแหน่งของป้อมปืนหรือตัวรถจะลดการย้อนแสงของรถถังและเป็นการเพิ่มการป้องกันไปในตัว

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:41, 12 ธันวาคม 2561

รถถัง Mark IV

รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ[1]

รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ

รถถัง A7V

ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน

การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู

ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย

เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่[2] อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>

ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น

โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่

ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน

รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย

โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน

การป้องกัน

รถถังชาลเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษที่มีเกราะดอร์เชสเตอร์อันเป็นแบบที่สองของเกราะช็อบแฮม

สิ่งที่จะวัดการป้องกันของรถถังคือการผสมผสานความสามารถของมันเข้ากับการหลบหลีก เพื่อหลบหลีกการยิงของศัตรู การต้านทานการยิงของศัตรู และความสามารถในการรับมือกับความเสียหายโดยที่ยังสามารถทำภารกิจต่อไปได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยชีวิตของลูกเรือเอาไว้ ส่วนมากแล้วรถถังมักเจออุปสรรคอย่างป้าหรือเมืองซึ่งลดความได้เปรียบเรื่องระยะยิงและการเคลื่อนที่ของมัน เป็นการจำกัดความสามารถในการตรวจหาเป้าหมายของลูกเรือและอาจทำให้ป้อมปืนไม่สามารถทำการหมุนได้ แม้ว่าจะมีข้อด้อยเหล่านั้นรถถังก็ยังคงมีความอยู่รอดสูงเมื่อต้องเจอกับอาร์พีจีในทุกสภาพแวดล้อมเพราะเกราะที่ยอดเยี่ยมของมัน

รถถังประจัญบานหลักแทบทุกคันจะติดตั้งเกราะช็อบแฮมที่ออกแบบโดยอังกฤษ ตัวอย่างเช่น รถถังเอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐและรถถังลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมนี มันเป็นแผ่นเกราะที่ก้าวหน้าที่สุดที่รถถังจะใช้ได้ (ยกเว้นชาเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษ) และได้ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าให้การป้องกันจากเครื่องยิงจรวดและระเบิดแรงสูงได้ดี

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเป็นเกราะที่มีประสิทธิภาพและก้าวหน้า ความอยู่รอดของรถถังเมื่อต่อเจอกับขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบใหม่ก็ยังคงเป็นที่กังวลของเหล่ากองทัพในปัจจุบัน[3]

การหลบหลีก

เป็นการซ่อนแอบตามมุมตึก พุ่งไม้ หรือบ้านต่างๆ ในเมืองใหญ่ หรือ นอกเมืองใหญ่ เช่น เมือง Pochinki หรือเมือง rozhok เมือง pickado

Boatcamp Paradrie resort

ผ้าห่มความร้อนจะลดอัตราการกระจายของความร้อนและตาข่ายพรางตัวจะใช้การผสมวัสดุต่างๆ ที่ให้ความร้อนแตกต่างกันเพื่อหลอกอินฟราเรด การอำพรางจะทำเพื่อขจัดเอกลักษณ์และการย้อนแสงของรถถัง การปรับตำแหน่งของป้อมปืนหรือตัวรถจะลดการย้อนแสงของรถถังและเป็นการเพิ่มการป้องกันไปในตัว

เกราะ

รถถังเอ็ม4 เชอร์แมนของกองทัพสหรัฐที่ถูกเผาบนถนนในเยอรมนีเมื่อปีพ.ศ. 2488

เพื่อให้การป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อรถถังและลูกเรือ เกราะรถถังต้องรับมือกับอาวุธได้แทบทุกชนิด การป้องกันกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์และระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่เกราะของรถถังยังสามารถป้องกันขีปนาวุธต่อต้านรถถังจากทหารราบ กับระเบิด ระเบิด ปืนใหญ่ และภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี

แผ่นเกราะเหล็กนั้นเป็นเกราะแบบแรกสุดของรถถัง เยอรมนีนั้นใช้เกราะเหล็กผิวแข็งในสงครามโลกครั้งที่ 2 และโซเวียตก็ใช้เกราะลาดเอียง การพัฒนาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังทำให้หมดยุคของเกราะเหล็กด้วยการมาของกระสุนหัวรบอย่างแพนเซอร์ฟอสท์และบาซูก้าซึ่งให้การทำลายที่ร้ายกาจ กับระเบิดแม่เหล็กได้นำไปสู่การพัฒนาของสีและผิวต้านทานแรงแม่เหล็ก

นักวิจัยรถถังของอังกฤษได้ก้าวหน้าไปด้วยการพัฒนาเกราะช็อบแฮมหรือรู้จักกันทั่วไปว่าเกราะผสม มันเป็นการผสมผสานของเซรามิกและพลาสติกโดยมีเรซินอยู่ระหว่างแผ่นเหล็ก ซึ่งให้การป้องกันที่ดีจากระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง กระสุนหัวบดทำให้เกิดเกราะต้านสะเก็ดระเบิด และกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ก็ทำให้เกิดวัสดุผสมที่แปลกใหม่อย่างกากยูเรเนียมที่ใส่เข้าไปในเกราะผสม เกราะปฏิกิริยาประกอบด้วยกล่องขนาดเล็กที่มีวัตถุระเบิดบรรจุอยู่ภายในซึ่งจะจุดชนวนเมื่อถูกยิงโดยกระสุนจรวดที่ยิงออกมาจากระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง ทำให้แผ่นเหล็กของมันเข้าทำลายกระสุน หัวรบซ้อนได้เอาชนะเกราะปฏิกิริยาด้วยการทำให้เกราะจุดชนวนก่อนเวลาอันควร เครื่องยิงลูกระเบิดซึ่งสามารถสร้างม่านควันและระบบตอบโต้ยังสร้างการป้องกันเสริมให้กับรถถัง

ความคล่องตัว

ความคล่องตัวของรถถังนั้นขึ้นอยู่กับสมรภูมิหรือการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี ความคล่องตัวในการปฏิบัติการ และความคล่องตัวในด้านยุทธศาสตร์ ความคล่องตัวด้านยุทธวิธีอย่างแรกคือความรวดเร็ว อัตราการเร่งของรถถัง เบรก ความเร็ว และอัตราการในการปรับตัวตามภูมิประเทศ และอย่างที่สองคือการฝ่าเครื่องกีดขวาง ความคล่องตัวในการปฏิบัติการเป็นการทำงานของพิสัยการเคลื่อนที่ แต่ก็ยังเกี่ยวกับขนาดและน้ำหนัก และการจำกัดการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ที-80 ที่รวมตัวกันเป็นขบวนจะมีความสามารถในการรุกมากกว่าเอ็ม-1 เอบรามส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพราะว่าถนนและสะพานเข้ามาเป็นตัวจำกัด ความคล่องตัวในทางยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกันกองทัพฝ่ายใดจะเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ รวดเร็วกว่ากัน ตัวอย่างเช่น รถถังที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถเดินทางผ่านอุโมงค์รถไฟ ทำให้มันมีความคล่องตัวทางด้านยุทธศาสตร์มากกว่าคันที่ใหญ่กว่า

ความคล่องตัวของรถถังนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถถังเพราะว่าความเฉื่อยของมันในขณะเคลื่อนที่และแรงที่มันกระทำต่อพื้นดิน พลังที่ส่งออกมาจากเครื่องยนต์และการส่งสัญญาณและการออกแบบตีนตะขาบ นอกจากนี้แล้วสภาพพื้นที่ขรุขระยังเป็นอุปสรรคต่อความเร็วของรถถัง การฝ่าพื้นที่เหล่านี้ประสบความสำเร็จในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบบดูดซับแรงการกระเทือนถูกพัฒนาขึ้น ทำให้มันสามารถเดินทางข้ามประเทศและยิงขณะเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น ระบบอย่างระบบคริสตี้ในรุ่นแรกหรือทอร์ชั่น-บาร์ในรุ่นต่อมาถูกพัฒนาขึ้นโดยเฟอร์ดินานด์ พอร์เชเป็นระบบที่ช่วยให้การเดินทางข้ามประเทศเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น[4]

รถถังประจัญบานหลักนั้นเคลื่อนที่รวดเร็วและสามารถเดินทางข้ามพื้นที่ได้แทบทุกรูปแบบเพราะตีนตะขาบต่อเนื่องและการลดแรงกระเทือนที่ก้าวหน้า ตีนตะขาบจะกระจายน้ำหนักของรถถังไปทั่วพื้นที่ ทำให้มันมีแรงกดพอๆ กับคนเดิน[5] รถถังสามารถเดินทางได้ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นที่ราบและ 070 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนถนน แต่เนื่องมาจากความตึงด้านกลไลของพาหนะและการผลาญเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษารถถัง ความเร็วดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านกลไกของเครื่องยนต์และระบบส่งสัญญาณ ผลที่ตามมาคือรถเคลื่อนย้ายรถถังและทางรถไฟเพื่อทำการขนย้ายรถถังในระยะทางที่ไกล การจำกัดการเคลื่อนที่ระยะไกลของรถถังจะเห็นความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะ การปฏิบัติการส่วนใหญ่ของการโจมตีสายฟ้าแลบเป็นอัตราการเคลื่อนที่ให้ได้ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นแค่เพียงบนถนนในฝรั่งเศส[6]

การปฏิบัติการในน้ำ

เมื่อไม่มีมีทหารช่าง รถถังส่วนใหญ่นั้นจะเกิดปัญหาเมื่อต้องทำการข้ามแม่น้ำ รถถังประจัญบานหลักส่วนใหญ่จะข้ามน้ำที่ลึกไม่เกิน 1 เมตรเพราะว่าตำแหน่งของเครื่องยนต์และพลขับที่อยู่ต่ำ รถถังที-80 ของโซเวียตและลีโอพาร์ด 1 และลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมนีสามารถเดินทางในน้ำที่ลึกได้ถึง 3-4 เมตร เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อม ลูกเรือของรถถังมักจะมีความสามารถที่จำกัดเมื่อดำน้ำลึกขนาดนั้นแต่ด้วยการเพิ่มกล้องเข้าไปมันก็ทำให้เกิดหนทางใหม่ในการเข้าโจมตี

รถถังสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นการออกแบบพิเศษสำหรับการปฏิบัติการในน้ำโดยเฉพาะ แต่พวกมันมีจำนวนมากในกองทัพยุคใหม่ โดยเข้ามาแทนที่ยานพาหนะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกและรถสายพานลำเลียงพลในการจู่โจมแบบสะเทินน้ำสะเทินบก รถสะพานอีเอฟเอและเอ็มที-55 ได้ลดสิ่งกีดขวางของรถถังอย่างแม่น้ำออกลง[7]

ขุมกำลัง

เครื่องยนต์ของรถถังจะคอยให้พลังงานจลน์เพื่อเคลื่อนที่ และพลังไฟฟ้าผ่านทางเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้กับป้อมปืนที่ต้องใช้มอเตอร์และระบบอิเลคทรอนิกอื่นๆ ของรถถัง ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขุมกำลังของรถถังนั้นต้องพึ่งน้ำมันและเครื่องยนต์อัตโนมัติ จนเครื่องยนต์ดีเซลได้พัฒนาไปอย่างมาก และมีเครื่องยนต์เทอร์ไบน์ที่ทรงพลังแต่กินน้ำมันอย่างของที-80 และเอ็ม-1 เอบรามส์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. von Senger and Etterlin (1960), The World's Armored Fighting Vehicles, p.9.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ House1984
  3. BBC News (2006) Tough lessons for Israeli armour
  4. Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, pp. 154
  5. Thompson and Sorvig (2000), Sustainable Landscape Construction: A Guide to Green Building Outdoors, p.51
  6. Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, p.180
  7. Deighton (1979), Blitzkrieg, From the rise of Hitler to the fall of Dunkirk, pp.234-252

แหล่งข้อมูลอื่น