ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน"

พิกัด: 6°13′6.88″S 106°48′9.04″E / 6.2185778°S 106.8025111°E / -6.2185778; 106.8025111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wakorinda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| nickname =
| nickname =
| image = [[ไฟล์:Gelora_Bung_Karno_stadium,_Jakarta.jpg|300px|center]]
| image = [[ไฟล์:Gelora_Bung_Karno_stadium,_Jakarta.jpg|300px|center]]
| caption = {{maplink|frame=yes|plain=yes|type=shape|zoom=14|frame-align=center|frame-width=300}}
| location = [[หมู่บ้านเกอโลรา (ตำบลตานะฮ์อาบัง)|เกอโลรา]], [[จาการ์ตา]], [[อินโดนีเซีย]]
| location = [[หมู่บ้านเกอโลรา (ตำบลตานะฮ์อาบัง)|เกอโลรา]], [[จาการ์ตา]], [[อินโดนีเซีย]]
| coordinates = {{coord|6|13|7|S|106|48|9|E|type:landmark}}
| coordinates = {{coord|6|13|7|S|106|48|9|E|type:landmark}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:45, 30 กันยายน 2561

6°13′6.88″S 106°48′9.04″E / 6.2185778°S 106.8025111°E / -6.2185778; 106.8025111

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน
ไฟล์:Gelora Bung Karno stadium, Jakarta.jpg
แผนที่
แผนที่
ชื่อเดิมสนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน
ที่ตั้งเกอโลรา, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย
พิกัด6°13′7″S 106°48′9″E / 6.21861°S 106.80250°E / -6.21861; 106.80250
เจ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ผู้ดำเนินการศูนย์จัดการศูนย์เกอโลราบุงการ์โน
ความจุ76,127 ที่นั่ง
ขนาดสนาม110 x 60 เมตร (120.3 x 65.6 หลา)
พื้นผิวหญ้ามะนิลา
ป้ายแสดงคะแนนโซนี่
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 1960
เปิดใช้สนาม24 กรกฎาคม ค.ศ. 1962
14 มกราคม, ค.ศ. 2018 (เปิดใหม่)
ปรับปรุงค.ศ. 2016 - ค.ศ. 2017
ปิดค.ศ. 2016 - ค.ศ. 2018
งบประมาณในการก่อสร้าง12,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สถาปนิกเฟรเดริค ซีลาบัน
การใช้งาน
สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย
ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย
ลีกา อินโดนีเซีย
เปอร์ซิจา จาการ์ตา
เอเชียนเกมส์ 1962, 2018

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน (อินโดนีเซีย: Stadion Utama Gelora Bung Karno) เป็นสนามอเนกประสงค์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนในเขตหมู่บ้านเกอโลรา ตำบลตานะฮ์อาบัง ใจกลางกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งชื่อตามซูการ์โนหรือ "บุงการ์โน" ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย[1] ส่วนมากใช้ในการแข่งขันฟุตบอล โดยมีความจุอยู่ที่ประมาณ 76,127 ที่นั่ง

ชื่อ

แม้ว่าสนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาเกอโลราบุงการ์โน ([Stadion Gelora Bung Karno] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือ สนามกีฬาเกเบกา ([Stadion GBK] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) แต่ก็มีชื่อทางการว่า สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน เนื่องจากในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนยังมีสนามกีฬาอื่น ๆ อีก เช่น สนามกีฬาเทนนิส เป็นต้น ในยุคระเบียบใหม่ของอินโดนีเซีย ศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์กีฬาเกอโลราเซอนายัน" ([Gelanggang Olahraga Gelora Senayan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ส่วนสนามกีฬาหลักของศูนย์ฯ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน ([Stadion Utama Gelora Senayan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เมื่อ ค.ศ. 1969 ตามนโยบายเลิกทำให้เป็นซูการ์โน ([de-Soekarnoisasi] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในขณะนั้น หลังจากซูฮาร์โตหมดอำนาจ ศูนย์กีฬาและสนามกีฬาหลักก็ถูกเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมโดยประธานาธิบดีอับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับหนึ่งซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2001

ประวัติ

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 และเสร็จในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1962[2] โดยการก่อสร้างได้รับเงินสนันบสนุนจากการกู้เงินมาจากสหภาพโซเวียตในบางส่วน โดยเมื่อสนามสร้างเสร็จ สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 108,000 คน แต่ในปัจจุบันก็เหลือเพียง 88,083 คน จากการปรับปรุงเพื่อการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007[3] โดยสนามจะแบ่งเป็น 24 ส่วน กับ 12 ทางเข้า เพื่อเข้าไปในพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่าง โดยคุณสมบัติพิเศษของสนามนี้คือการก่อสร้างหลังคาเหล็กขนาดใหญ่เป็นวงแหวนรอบสนาม โดยเรียกว่า "เตอมูเกอลัง" (แปลว่า แหวนที่บรรจบติดกัน) นอกจากการที่ไม่ให้ผู้ชมต้องนั่งชมตากแดดที่ร้อนแล้ว วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทำให้สนามนี้ดูยิ่งใหญ่อีกด้วย[4]

แกลลอรี

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Pour, Julius (2004), Dari Gelora Bung Karno ke Gelora Bung Karno (ภาษาIndonesian), Jakarta: Grasindo, ISBN 978-979-732-444-5.{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น