ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัณฑูร ล่ำซำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 127: บรรทัด 127:
{{อายุขัย|2496}}
{{อายุขัย|2496}}
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:มหาเศรษฐีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายจีน]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายจีน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:52, 29 มีนาคม 2560

บัณฑูร ล่ำซำ
ไฟล์:Buntoon01.jpg
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสอุษา จิรพงศ์
(2531-ปัจจุบัน)[1]
บุตรสงกานดา ล่ำซำ
กรพัฒน์ ล่ำซำ
นาถพิชญ์ ล่ำซำ
บิดามารดาบัญชา ล่ำซำ
ท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ

บัณฑูร ล่ำซำ ชื่อเล่น ปั้น[2] เกิดวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2496 เป็นทายาทธุรกิจตระกูลล่ำซำ ผู้เป็นบุตรของบัญชา ล่ำซำ และท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ (สกุลเดิม เทวกุล; เป็นพี่สาวต่างมารดาของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)

ประวัติ

บัณฑูร ล่ำซำ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของบัญชา และท่านผู้หญิงสำอางวรรณ ล่ำซำ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์สำอางวรรณ เทวกุล; ธิดาของหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล กับหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช) มีน้องสาวสองคนคือ สุภวรรณ ปันยารชุน และวรางคณา เดอเลออน[3]

บัณฑูร ล่ำซำ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ก่อนสำเร็จปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (BA in Chemical Engineering) จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา และสำเร็จปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) จาก Harvard Business School (HBS) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

เขาเป็นที่กล่าวอ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มนำคำว่ารื้อปรับระบบองค์กร (reengineering) มาใช้ในประเทศไทยด้วย ภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ ตระกูลล่ำซำกลายเป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของธนาคารกสิกรไทย เช่นเดียวกับตระกูลเจ้าของธนาคารไทยอื่นๆ และนายบัณฑูรกับตระกูลล่ำซำเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของพรรคประชาธิปัตย์

บัณฑูรเคยปะทะคารมกับ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และเคยมีข่าวคราวว่าได้รับการทาบทามจากพรรคประชาธิปัตย์ ให้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในปี พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ปรับเปลี่ยนโลโก้ธนาคารกสิกรไทยเป็นแบบที่ 3 จากที่เคยมีมาในรอบ 66 ปี โดยใช้อักษรจีนนำหน้าอักษรภาษาอังกฤษที่มีอยู่เดิม[2]

บัณฑูร รักและหลงใหลในมนต์เสน่ห์ของจังหวัดน่าน ได้ย้ายสำมะโนครัวมาเป็นพลเมืองของจังหวัดน่านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 บัณฑูรได้เปิดตัวผลงานนิยายของตนเองชื่อ สิเนหามนตราแห่งลานนา เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และตำนานจังหวัดน่าน ซึ่งเขาใช้เวลาว่างในการเขียนและศึกษาเป็นระยะเวลาร่วม 1 ปี 1 เดือน โดยทำยอดจัดพิมพ์ 3 ครั้งในช่วง 2 เดือนแรกที่ 20,000 เล่ม[4]

บัณฑูร ล่ำซำ มีกิจกรรมยามว่างคือ พายเรือแคนูที่แม่น้ำเจ้าพระยาในยามเย็น ที่บริเวณข้างสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย

หน้าที่การงานในปัจจุบัน[5]

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2520-2522  รับราชการทหารประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2522-2530  ฝ่ายกิจการต่างประเทศ ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2530-2533  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริการธนาคาร

พ.ศ. 2533-2534  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2534-2535  รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2535-2544  กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2541-2543  ประธานสมาคมธนาคารไทย

พ.ศ. 2545-2546  กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2546-2553  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2553-2556  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

พ.ศ. 2556        ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2504-2510  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

พ.ศ. 2510-2514  Phillips Exeter Academy (New Hampshire, U.S.A.)

พ.ศ. 2514-2518  ปริญญาตรี ทางวิศวกรรมเคมี (B.S.E.) (เกียรตินิยม) Princeton University, U.S.A.

พ.ศ. 2518-2520  ปริญญาโท ทางบริหารธุรกิจ (M.B.A) Harvard University, U.S.A.

พ.ศ. 2538       ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ. 2544       ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                  ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

                  ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พ.ศ. 2546       ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                  ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

รางวัลที่ได้รับ

พ.ศ. 2537 นายธนาคารแห่งปี 2537 จากวารสารการเงินการธนาคาร

พ.ศ. 2541 นักธนาคารแห่งปี 2541 จากนิตยสารดอกเบี้ย

พ.ศ. 2542 นักธนาคารแห่งปี 2542 จากนิตยสารดอกเบี้ย

           นักการเงินแห่งปี 2542 จากวารสารการเงินการธนาคาร

พ.ศ. 2543 สตาร์ ออฟ เอเชีย สาขานักการเงิน จากนิตยสารบิสซิเนส วีค

พ.ศ. 2546 Best CEO 2003 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินการธนาคาร

พ.ศ. 2552 นักการเงินแห่งปี 2552 จากวารสารการเงินการธนาคาร

พ.ศ. 2553 นักการธนาคารที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศไทย จากนิตยสาร ดิ เอเชี่ยน แบงก์เกอร์

พ.ศ. 2554 ผู้บริหารยอดเยี่ยมของเอเชีย จากวารสารคอร์เปอเรท กัฟเวอร์แนนซ์ เอเชีย

พ.ศ. 2555 ผู้นำองค์กรดีเด่น จากหนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ

อ้างอิง

  1. ไทยรัฐ. บัณฑูร ล่ำซำ. เรียกดูเมื่อ 1 กันยายน 2556
  2. 2.0 2.1 โลโก้ใหม่. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12444. วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2555. ISSN 1686-8188. หน้า 17
  3. สกุลไทย. ชีวิตและงานของ บัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย. เรียกดูเมื่อ 1 กันยายน 2556
  4. รายงานพิเศษ. มติชนสุดสัปดาห์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1716. วันที่ 5-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. ISSN 1686-8196. หน้า 86
  5. ผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย นายบัณฑูร ล่ำซ. เรียกดูเมื่อ 13 มกราคม 2557
  6. สมุดบันทึกภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเทพรัตนฯ ในร่มเงาวังสระปทุม
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/034/36.PDF
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๑๒๒ ราย), เล่ม ๑๒๔, ตอน ๖ ข, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑