ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิซ่งเหรินจง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YFdyh-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: sh:Car Renzong od Songa
Minsbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: fa:امپراتور رنزونگ
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
[[en:Emperor Renzong of Song]]
[[en:Emperor Renzong of Song]]
[[es:Song Renzong]]
[[es:Song Renzong]]
[[fa:امپراتور رنزونگ]]
[[fr:Song Renzong]]
[[fr:Song Renzong]]
[[it:Ren Zong (imperatore Song)]]
[[it:Ren Zong (imperatore Song)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:54, 25 พฤศจิกายน 2555

จักรพรรดิซ่งเหรินจง

สมเด็จพระจักรพรรดิที่เทียนฟ่าเต้าจี่กงฉวนเต๋อเชินเวินเชิ้งหวู่รุ้ยเจ๋อหมิงเสี้ยว
พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิจีน
ครองราชย์24 มีนาคม พ.ศ. 156530 เมษายน พ.ศ. 1606
รัชสมัย41 ปี
รัชกาลก่อนหน้าซ่งเจินจง
รัชกาลถัดไปซ่งอิงจง
ประสูติ30 พฤษภาคม พ.ศ. 1553
สวรรคต30 เมษายน พ.ศ. 1606
(สิริพระชนม์ 53 พรรษา)
วัดประจำรัชกาล
พระอารามเหรินจง
ราชวงศ์ซ่ง
พระราชบิดาจักรพรรดิซ่งเจินจง
พระราชมารดาสมเด็จพระพันปีหลวงหลี่

สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจง (จีน: 仁宗; พินอิน: Rénzōng) เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือของจีน ประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1553 โดยทรงเป็นโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิเจินจง เสวยราชย์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 1565 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 1606 สิริพระชนม์ห้าสิบสามพรรษา และเสวยราชย์ได้สี่สิบเอ็ดปี

พระนามแต่ประสูติว่า "เจ้าโช้วอี้" (จีน: 趙受益; พินอิน: Zhào Shòu Yì) ต่อมาได้รับพระราชทานใหม่เป็น "เจ้าเจิน" (จีน: 趙禎; พินอิน: Zhào Zhēn) ชื่อ "เจ้า" (จีน: ; พินอิน: Zhào) นั้นเป็นชื่อพระสกุล

ถึงแม้สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจะทรงราชย์เป็นเวลากว่าสี่สิบปี แต่ก็ไม่ทรงเป็นที่รู้จักมากนัก นอกจากนี้ ถึงแม้รัชกาลนี้จะเป็นช่วงที่จีนมีอิทธิพล อำนาจ และความมั่นคงยอดเยี่ยม กับทั้งมีขุนนางโดดเด่นหลายคน เช่น เปา เจิ่ง แต่ก็เป็นช่วงที่บรรดาประเทศราชเริ่มเอาใจออกห่างซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของราชวงศ์นี้ในอีกร้อยกว่าปีข้างหน้า ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากนโยบายด้านการต่างประเทศของรัชกาลก่อนหน้าที่เป็นไปในทางสันตินิยมค่อนข้างมาก ทำให้ด้านการทหารด้อยคุณภาพลงตามลำดับ และราชวงศ์เซี่ยตะวันตกซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชหนึ่งได้ฉกฉวยโอกาสนี้รุกรานชายแดนจีนเป็นระยะ ๆ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเสวยราชย์จึงมีพระราชกฤษฎีกาให้ปรับปรุงด้านการทหารขนานใหญ่ และรัฐบาลจีนยังได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลผูกมิตรกับราชวงศ์เหลียว เจ้าประเทศราชอีกหนึ่งเจ้าซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อราชวงศ์เซี่ยตะวันตก เพื่อประกันความมั่นคงของจักรวรรดิ[1] นโยบายดังกล่าวของรัฐบาลจีนมีค่าใช้จ่ายมากมาย ยังให้เกิดการขึ้นภาษีอย่างสูงลิ่ว กลายเป็นยุคที่เรียกว่า "ข้าวยากหมากแพง" อย่างแท้จริง โดยเฉพาะชนชั้นล่างนั้นต้องอดอยากปากแห้งตลอดปีตลอดชาติ อนึ่ง ยังส่งผลให้เกิดการต่อต้านรัฐบาลเป็นระยะ ๆ และรัฐบาลเองก็มีสภาพเหมือนคนป่วยหนักในกาลต่อมาด้วย

ในท้ายรัชกาล สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงทรงพระประชวรหนักโดยยังมิได้มีการแต่งตั้งรัชทายาทเอาไว้ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อราชบัลลงก์ได้ ด้วยคำแนะนำของราชสำนัก จึงทรงชุบเลี้ยงพระราชวงศ์น้อยสองพระองค์เป็นพระราชโอรสบุญธรรม หนึ่งในนั้นคือ เจ้าอิงจง ผู้เสวยราชย์ต่อมาหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเสด็จดับขันธ์แล้ว

ส่วนพระนามที่ทรงได้รับการเฉลิมเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิที่เทียนฟ่าเต้าจี่กงฉวนเต๋อเชินเวินเชิ้งหวู่รุ้ยเจ๋อหมิงเสี้ยว" (จีน: 體天法道極功全德神文聖武睿哲明孝; พินอิน: Tǐ Tiān Fǎ Dào Jí Gōng Quán Dé Shén Wén Shèng Wǔ Ruì Zhé Míng Xiào)

สำหรับพระบรมนามาภิไธยนั้น บางทีในไทยก็เขียนว่า "เหยินจง" หรือ "เหญินจง" และเพื่อมิให้สับสนกับสมเด็จพระจักรพรรดิจีนพระองค์อื่นซึ่งมีพระบรมนามาภิไธยเดียวกัน เติมชื่อราชวงศ์ไปหน้าพระบรมนามาภิไธยเป็น "ซ่งเหรินจง" "ซ่งเหยินจง" หรือ "ซ่งเหญินจง" ก็มี

อ้างอิง

  1. Zhenoao Xu, W. Pankenier, Yaotiao Jiang, David W. Pankenier. (2000). East-Asian Archaeoastronomy: Historical Records of Astronomical Observations of China, Japan and Korea. n.p. : CRC Press. ISBN 90-5699-302-X.
ก่อนหน้า จักรพรรดิซ่งเหรินจง ถัดไป
จักรพรรดิซ่งเจินจง จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1565 - พ.ศ. 1606)
จักรพรรดิซ่งอิงจง|}