ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:국제 물리 올림피아드
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: et:Rahvusvaheline füüsikaolümpiaad
บรรทัด 203: บรรทัด 203:
[[en:International Physics Olympiad]]
[[en:International Physics Olympiad]]
[[es:Olimpiada Internacional de Física]]
[[es:Olimpiada Internacional de Física]]
[[et:Rahvusvaheline füüsikaolümpiaad]]
[[fa:المپیاد جهانی فیزیک]]
[[fa:المپیاد جهانی فیزیک]]
[[fi:Kansainväliset fysiikkaolympialaiset]]
[[fi:Kansainväliset fysiikkaolympialaiset]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:48, 30 กรกฎาคม 2555

การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Physics Olympiad - IPhO) เป็นการแข่งขันเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ประจำปี เป็นหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา

ผู้เข้าแข่งขันแบ่งเป็นทีมตามประเทศ ประเทศละไม่เกินห้าคน การแข่งขันจะเป็นการแข่งขันประเภทบุคคล การคัดเลือกนักเรียนจากประเทศไทยไปแข่งขันนั้นทำโดยคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศที่นายกสมาคมฟิสิกส์แห่งประเทศไทยเสนอให้สสวท.แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการฯจะจัดสอบแข่งขันเป็นรอบ ๆ นำมาเข้าค่ายติวโดยอาจารย์ที่คณะอนุกรรมการฯเสนอ และสอบแข่งขันเป็นรอบ ๆ จนเหลือแปดคนสุดท้าย เพื่อนำไปแข่งขัน ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย (APhO) ประมาณเดือนเมษายน และหลังจากนั้นจะคัดเหลือ 5 คนเพื่อนำไปแข่งขัน International Physics Olympiad ประมาณเดือนกรกฎาคม

การแข่งขันประกอบด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฏีจะมีเวลาให้ห้าชั่วโมงในการทำข้อสอบ 3 ข้อใหญ่ โดยอาจแบ่งเป็นข้อย่อยๆอีกได้ ส่วนภาคปฏิบัตินั้นผู้แข่งขันจะต้องออกแบบการทดลอง ทำการทดลองด้วยอุปกรณ์ที่กำหนดให้มา บันทึกผลการทดลอง และวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อตอบคำถามในข้อสอบภายในเวลาห้าชั่วโมงเช่นเดียวกัน สัดส่วนคะแนนระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัติคือ 30:20

นักเรียนที่สนใจเป็นตัวแทนประเทศไทยสามารถดูข้อสอบคัดเลือกเก่า ๆ รวมทั้งข้อสอบแข่งขัน ฝึกทำโจทย์ปัญหา และคุยปรึกษากับผู้แทนนักเรียนฟิสิกส์โอลิมปิกประเทศไทยได้ที่นี่

รางวัลที่ประเทศไทยได้รับ

 
ปี พ.ศ. จัดแข่งขัน ณ เมือง/ประเทศ จำนวนประเทศ/นักเรียน
ที่เข้าร่วมแข่งขัน
รางวัลที่ผู้แทนประเทศไทยได้รับ
เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง

เกียรติคุณประกาศ

2533 โครนิงเงิน/เนเธอร์แลนด์ 32/159 - - -  
2534 ฮาบานา/คิวบา 31/150 - - 1 -
2535 เอสปู/ฟินด์แลนด์ 37/178 - - 1 -
2536 วิลเลียมสเบริร์ก เวอร์จิเนีย/
สหรัฐอเมริกา
41/200 - - - 1
2537 ปักกิ่ง/จีน 47/229 - - - -
2538 แคนเบอร์รา/ออสเตรเลีย 51/247 - - - -
2539 ออสโล/นอร์เวย์ 56/267 - - - 2
2540 ชัคเบอรี่/แคนาดา 56/256 - - - 3
2541 เรท์จาวิก/ไอซ์แลนด์ 55/266 - - - 1
2542 ปาดัว/อิตาลี 62/310 - - 1 2
2543 เลสเตอร์/อังกฤษ 62/296 - - - 1
2544 อันตาลิยา/ตุรกี 67/306 - - 1 3
2545 บาหลี/อินโดนีเซีย 69/297 1 2 1 1
2546 ไทเป/ไต้หวัน 54/568 1
Best Experiment
1 - 3
2547 โปฮาง/เกาหลีใต้ 71/337 1 1 3 -
2548 ซัลลาแมนกา/สเปน 73/352 2 2 1 -
2549 สิงคโปร์ 86/383 1 4 - -
2550 อิสฟาฮาน/อิหร่าน 73/327 1 2 2 -

อ้างอิง