ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตรวจพิจารณาในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ลืมเอาป้ายแก้ภาษาออก
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
+ วิกิซรอ์ซ
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{wikisource|ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง พ.ศ. 2520}}
{{วิกิซอร์ซ|ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง พ.ศ. 2520}}
{{wikisource| 1 = หนังสือศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่ กห ๐๔๐๗.๔๕/๑ | 2 = หนังสือศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่ กห 0407.45/1 เรื่อง การปิดกั้นเว็บไซต์ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน}}
* [http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/03/WW06_0602_news.php?newsid=67222 ข่าวการต่อต้านการเซ็นเซอร์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ]
* [http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/03/WW06_0602_news.php?newsid=67222 ข่าวการต่อต้านการเซ็นเซอร์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:03, 14 มีนาคม 2555

ตัวอย่างการเซ็นเซอร์ในการ์ตูนเรื่องวันพีซ ที่ฉายในเมืองไทย
ประกาศจากไอซีที สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ส่วนหนึ่งในการปิดกั้นข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45-48 บัญญัติเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกไว้[1] แต่ประเทศไทยยังคงการตรวจพิจารณา (ภาษาปาก: การเซ็นเซอร์) ไว้ในระดับหนึ่ง เพื่อปกป้องภัยคุกคามต่อความปลอดภัย ความมั่นคง และศีลธรรมของประเทศ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปยังชาวต่างชาติ[ต้องการอ้างอิง]

การตรวจพิจารณาในประเทศไทยมีมายาวนานแล้ว เหตุหนึ่งเนื่องมาจากการปกครองของรัฐบาลทหารหลายสมัย แม้กระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนก็ลดระดับดัชนีเสรีภาพสื่อของไทยจากอันดับที่ 59 (พ.ศ. 2547) เป็นอันดับที่ 107 (พ.ศ. 2548) จากทั้งหมด 167 ประเทศ[2] และยิ่งเข้มงวดมากขึ้นไปอีกในสมัยรัฐบาลทหารหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549[3]

รูปแบบ

มีหลายกลไกของการตรวจพิจารณา เช่น การตรวจสอบสื่อและลบข้อความที่ไม่เหมาะสม การใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง และการดำเนินคดีต่อผู้ที่ทำผิดกฎหมาย[4] ซึ่งแบ่งตามประเภทของสื่อได้ ดังนี้

  • หนังสือ - หนังสือที่มีการวิจารณ์ทางการเมือง รูปแบบการปกครอง หรือวิเคราะห์พระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น The King Never Smiles
  • เว็บไซต์ - การตรวจพิจารณาเว็บไซต์กระทำโดย โครงการเครือข่ายยุติธรรมของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงเว็บที่รวมภาพโป๊ เปลือย ซึ่งหลายครั้งมีการพ่วงรวมถึงเว็บไซต์ที่มีความเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับรัฐบาล ในช่วงรัฐบาลทักษิณ [5] ปัจจุบัน เว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นในประเทศไทย เช่น "แถลงการณ์แดงสยาม" ของใจ อึ๊งภากรณ์ จะถูกรีไดเร็กไปที่ http://w3.mict.go.th/
  • ภาพยนตร์ ละคร การ์ตูน - ในภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ มีการตรวจพิจารณาฉากที่มีภาพโป๊ เปลือย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การเสพยาเสพติด การใช้อาวุธ ซึ่งหากไม่ตัดฉากเหล่านี้ก่อนนำออกฉาย ก็จะทำภาพพร่าในส่วนที่ต้องไม่ผ่านการตรวจพิจารณา เพื่อไม่ให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นภาพอะไร เช่นฉากตัวละครชิสุกะเปลือยกายอาบน้ำ จากการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น