ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาดุกทะเลลาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: ca:Peix gat llistat
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: af:Streep-baberpaling
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[หมวดหมู่:ปลาตู้]]
[[หมวดหมู่:ปลาตู้]]


[[af:Streep-baberpaling]]
[[ca:Peix gat llistat]]
[[ca:Peix gat llistat]]
[[de:Gestreifter Korallenwels]]
[[de:Gestreifter Korallenwels]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:32, 3 กุมภาพันธ์ 2555

ปลาดุกทะเลลาย
ปลาดุกทะเลลายในตู้เลี้ยง
ลูกปลาวัยอ่อนที่รวมตัวกันเป็นวงกลมคล้ายลูกบอลในทะเล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Plotosidae
สกุล: Plotosus
สปีชีส์: P.  lineatus
ชื่อทวินาม
Plotosus lineatus
(Thunberg, 1787)
ชื่อพ้อง

ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)

มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทน

โดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว[1][2]

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน

โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง[3]

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และนิยมนำมาบริโภคกันโดยปรุงสุด แต่เนื้อมีกลิ่นคาวจึงมักจะนำไปปรุงประเภทรสจัดเช่น ผัดฉ่า[4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น