ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
Amire80 (คุย | ส่วนร่วม)
interwiki + gl
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
[[fa:زبان‌شناسی محاسباتی]]
[[fa:زبان‌شناسی محاسباتی]]
[[fr:Linguistique informatique]]
[[fr:Linguistique informatique]]
[[gl:Linguaxe De Computadora]]
[[gl:Lingüística computacional]]
[[he:בלשנות חישובית]]
[[he:בלשנות חישובית]]
[[hr:Računalna lingvistika]]
[[hr:Računalna lingvistika]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:27, 15 กันยายน 2551

ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (อังกฤษ: computational linguistics) หรือ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ. แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์

เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์เชิงคำนวณมักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์เชิงคำนวณจึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาด้านการรับรู้ (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น ๆ

จุดกำเนิด

ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณนั้นนับเป็นแขนงวิชาแรกเริ่มของปัญญาประดิษฐ์แขนงหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 (พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2503) เพื่อที่จะแปลเอกสารภาษาต่างประเทศไปเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะการแปลวารสารวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ในสมัยนั้นคอมพิวเตอร์ได้พิสูจน์ความสามารถแล้วว่า สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้เร็วกว่าและแม่นยำกว่ามนุษย์มาก แต่ถึงกระนั้น เทคนิคต่าง ๆ ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากพอที่จะประมวลผลภาษาได้

เมื่อการแปลภาษาอัตโนมัติ (machine translation) ที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำได้ล้มเหลว จึงได้มีการกลับมามองปัญหาของการประมวลผลภาษาใหม่ พบว่าปัญหานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่ได้คาดคิดไว้ในตอนแรก ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณจึงได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นศาสตร์ใหม่ ที่อุทิศให้กับการพัฒนาอัลกอริทึม และซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูลทางภาษาอย่างชาญฉลาด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ.​ 2513) ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณจึงได้กลายมาเป็นแขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ โดยเน้นการจัดการกับความเข้าใจในระดับมนุษย์ (human-level comprehension) และการผลิตภาษาธรรมชาติ (production of natural languages)

ในการแปลภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่า คนจะต้องเข้าใจวากยสัมพันธ์ (syntax) ของภาษาทั้งสอง และอย่างน้อยก็ต้องในระดับสัณฐานวิทยา (morphology - วากยสัมพันธ์ของรูปคำ) และทั้งประโยค ในการเข้าใจวากยสัมพันธ์ คนจะต้องเข้าใจอรรถศาสตร์ (semantics - ความหมาย) ของคำศัพท์ และรวมถึงความเข้าใจในวจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics - การสื่อความหมายที่แท้จริงของภาษา) ว่าภาษานั้นได้ใช้อย่างไร เช่น เพื่อบอกเล่า (declarative) หรือเพื่อการประชดประชัน (ironic) ดังนั้นการที่จะแปลความระหว่างภาษาได้นั้น จะต้องใช้องก์ความรู้ทั้งหลายที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับ การประมวลผลและการสังเคราะห์ประโยคของภาษาธรรมชาติแต่ละภาษาโดยใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง

สาขาย่อย

ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณสามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงหลัก ตามสื่อกลางของภาษาที่ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นทางการพูดหรือการเขียน และตามวิธีการใช้ภาษา ทั้งการวิเคราะห์และสังเคราะห์

  • การรู้จำเสียง (en:speech recognition) และการสังเคราะห์เสียง (en:speech synthesis) เป็นการศึกษาวิธีการเข้าใจหรือสร้างภาษาพูด
  • การแจกแจงโครงสร้าง (en:parsing) และการสังเคราะห์ภาษา (generation) เน้นไปที่การแยกภาษาเป็นส่วน ๆ และการประกอบรวมภาษาให้สื่อความได้ ตามลำดับ
  • การแปลภาษาด้วยเครื่อง ยังคงเป็นแขนงสำคัญอันหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ โดยมีหลายแนวคิด เช่น การแปลจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยตรง หรือการแปลจากภาษาต้นทางไปเป็นภาษากลาง (ภาษาสากล - inter lingua) ก่อน จากนั้นค่อยแปลจากภาษากลางไปเป็นภาษาปลายทาง

ในการวิจัยด้านภาษาศาสตร์เชิงคำนวณส่วนใหญ่ จะมีแนวทางดังต่อไปนี้

สมาคมเพื่อภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ ​(Association for Computational Linguistics หรือ ACL) ได้นิยามภาษาศาสตร์เชิงคำนวณไว้ว่า "เป็นการศึกษาภาษาตามแนวทางวิทยาศาสตร์จากมุมมองเชิงคำนวณ นักภาษาศาสตร์เชิงคำนวณจะสนใจที่การสร้างแบบจำลองเชิงคำนวณ (en:computational model) ของปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์ทั้งหลาย"

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น