พันธ์เลิศ ใบหยก
พันธ์เลิศ ใบหยก | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กันยายน พ.ศ. 2495 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ปริยะดา ใบหยก |
พันธ์เลิศ ใบหยก (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2495) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย เป็นประธานกรรมการเครือโรงแรมใบหยก เป็นเจ้าของตึกใบหยก 2 เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคธรรมาธิปัตย์ และเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทยคนแรก[1]
ประวัติ
[แก้]พันธ์เลิศ ใบหยก เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2495เป็นบุตรของนายเล็งเลิศ และนางวันเพ็ญ ใบหยก เป็นบุตรชายคนแรกและเป็นบุตรคนที่ 4 จากบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางปริยะดา ใบหยก (สกุลเดิม: ปัญญาวัฒโน) มีบุตรธิดารวม 4 คน คือ
- นายปิยะเลิศ ใบหยก (ชื่อเล่น: เบียร์)
- นางสาวสะธี ใบหยก (ชื่อเล่น: บุ้ง)
- นางสาวจารุจิต ใบหยก (ชื่อเล่น: บุ๋ม)
- นางสาวพิมพ์เลิศ ใบหยก (ชื่อเล่น: บุ๊ค)
การทำงาน
[แก้]พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานกรรมการเครือโรงแรมใบหยก มีกิจการที่เป็นที่รู้จักคือ ตึกใบหยก 1 และ ตึกใบหยก 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมใบหยกสวีท และใบหยกสกาย นอกจากนี้ยังมีกิจการอื่น ๆ ในแวดวงธุรกิจครอบครัว เช่น กิจการโรงน้ำแข็งที่จังหวัดระนอง กิจการโกดังเก็บของที่ถนนตก
พันธ์เลิศ ใบหยก เคยร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค แต่ได้ลาออกก่อนจะมีคำสั่งยุบพรรค จึงทำให้ไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง นอกจากนั้นแล้วยังเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคธรรมาธิปัตย์ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้กลับเข้าสู่งานการเมืองอีกครั้ง โดยเข้าร่วมงานกับพรรครักษ์สันติ ซึ่งมีร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นที่ปรึกษาพรรค[2] และลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3[3]
พันธ์เลิศ ใบหยก เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ปี 2546
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ "เปิดตัวพรรครักษ์สันติอย่างเป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ "เปิด64รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์"พรรครักษ์สันติ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔