ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ามิลินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมนันเดอร์ ที่ 1
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้ามิลินท์ในเหรียญ
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอินโด-กรีก
ครองราชย์165/155–130 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าอันติมาคัส ที่ 2
ถัดไปสตราโตที่ 1 (Agathoclea ทำหน้าที่อุปราช)
พระราชสมภพป. 180 ปีก่อน ค.ศ.
กาลิสี (ปัจจุบันอยู่ที่แบกรอม ประเทศอัฟกานิสถาน)[1][2] หรือสาคละ (ปัจจุบันอยู่ที่ซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน)[3]
สวรรคต130 ปีก่อน ค.ศ.
สาคละ (ปัจจุบันอยู่ที่ซิอัลโกต)
ฝังพระศพสถูปทั่วอาณาจักรอินโด-กรีก
มเหสีอะกาทอคลีอา
พระราชบุตรสตราโตที่ 1
ราชวงศ์Euthydemid
ศาสนาพุทธแบบกรีก

พระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 (อังกฤษ: Menander I Soter; กรีกโบราณ: Μένανδρος Σωτήρ, อักษรโรมัน: Ménandros Sōtḗr) เป็นที่รู้จักกันในวรรณกรรมภาษาบาลีว่า พระเจ้ามิลินท์ (บาลี: Milinda) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรกรีก-แบกเตรีย และภายหลังกลายเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอินโด-กรีก (ครองราชย์ ป. 165/155[4] –130 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครองจักรวรรดิขนาดใหญ่ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงหนือของอนุทวีปอินเดียจากเมืองหลวงของพระองค์คือ เมืองสาคละ และพระองค์ถูกบันทึกว่าเป็นผู้อุปถัมภ์และเข้ารีตศาสนาพุทธแบบกรีก และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นกษัตริย์อินโด-กรีกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[5]

พระเจ้าเมนันเดอร์อาจเคยดำรงตำแหน่งกษัตริย์แบกเตรีย หลังจากพิชิตแคว้นปัญจาบได้อีกครั้ง[2] พระองค์สถาปนาจักรวรรดิขึ้นในเอเชียใต้ ขยายออกจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำคาบูลจากทางทิศตะวันตก ไปจรดถึงแม่น้ำราวีทางทิศตะวันออก และจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำสวัตทางตอนเหนือ ไปจรดถึงอะราโคเซีย (จังหวัดเฮลมันด์) เหล่านักบันทึกชาวอินเดียโบราณชี้ว่า พระองค์ได้ขยายอาณาจักรไปทางทิศใต้เข้ามาในรัฐราชสถานและขยายไปทางทิศตะวันออกไกลถึงแม่น้ำคงคาตอนล่างที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) และสตราโบ นักภูมิศาสตร์กรีก เขียนไว้ว่า "(พระองค์) พิชิต (รัฐในอินเดีย) ได้มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช"

เหรียญของพระองค์จำนวนมากที่ถูกขุดพบ ยืนยันถึงทั้งการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงระยะเวลาของจักรวรรดิของพระองค์ พระเจ้าเมนันเดอร์ยังได้เป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา และบทสนทนาของพระองค์กับพระนาคเสน พระเถระนักปราชญ์ชาวพุทธ ก็ถูกบันทึกไว้เป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาชื่อว่า "มิลินทปัญหา" (ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์) หลังจากที่พระองค์สวรรคตใน 130 xuก่อน ค.ศ. พระมเหสีของพระองค์พระนามว่า อะกาทอคลีอา (Agathokleia) ก็รับช่วงต่อโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระโอรสของพระองค์พระนามว่า สตราโต ที่ 1 (Strato I)[6] ธรรมเนียมพุทธระบุว่าพระองค์ส่งมอบอาณาจักรไปสู่พระโอรสและปลีกตัวเองจากโลก แต่พลูทาร์กบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในค่ายในขณะที่มีการออกรบทางทหาร และยังบอกว่า พระอัฏฐิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันเพื่อเมืองต่าง ๆ เพื่อนำไปประดิษฐานในอนุสรณ์สถานอาจจะเป็นสถูปทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์

ครองราชย์

[แก้]
สาคละตั้งอยู่ในเอเชียใต้
สาคละ
สาคละ
ที่ตั้งของ Euthymedia (สาคละ) เมืองหลวงของพระเจ้ามิลินท์

พระเจ้ามิลินท์พระราชสมภพในครอบครัวชาวกรีก[7]ในหมู่บ้านที่เรียกกันว่า กาลาสิ (kalasi) ติดกับเมืองอะเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส (Alexandria of the caucasus; ปัจจุบันคือเมืองแบกรอม ประเทศอัฟกานิสถาน)[2] บันทึกบางฉบับบอกว่าพระองค์พระราชสมภพใกล้เมืองสาคละ (ซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน)[3] ดินแดนของพระองค์ครอบคลุมพื้นที่จากแบกเตรีย (ปัจจุบันคือจังหวัดบัลข์) และขยายไปยังอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควาและภูมิภาคปัญจาบ)

เมืองหลวงคาดกันว่าเป็นเมืองสาคละ (sagala) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในภาคเหนือของรัฐปัญจาบ (เชื่อกันว่า ปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน) ต่อมาพระองค์เดินทางไปทั่งภาคเหนือของอินเดีย และเยี่ยมชมเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของจักรวรรดิราชวงศ์เมารยะ แผนการบางอย่างในการพิชิตเมืองปัฏนะถูกเสนอพระเจ้ายูคราติทส์ (eucratides) ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีก – อาณาจักรบักเตรีย เริ่มทำสงครามอินเดีย – กรีกในทางชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ พระองค์เป็นหนึ่งในไม่กี่คน ของกษัตริย์บักเตรียที่ถูกกล่าวถึงโดยนักเขียนชาวกรีก ในสมาคมนักประวัติศาสตร์แห่งเมืองอาร์เตมิต้า (apolodorus of artemita) ถูกกล่าวถึงโดยสตราโบ เขาอ้างว่า กษัตริย์ชาวกรีกจากแคว้นบักเตรียเป็นผู้พิชิตที่ยิ่งใหญ่กว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และบอกว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นกษัตริย์บักเตรียหนึ่งในสองพระองค์ อีกพระองค์คือ พระเจ้าเดเมตริอุสพระองค์ขยายอำนาจเข้าไปในอินเดียไกลมากที่สุด

ชาวกรีกเป็นสาเหตุทำการปฏิวัติแคว้นบัคเตรียให้มีอำนาจเติบโต และมีจำนวนประชากรกรีกเติบโตมากในบัญชีสำมโนครัวของประเทศ พวกเขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นหัวหน้าของประเทศ ไม่ใช่ใน Ariana อย่างเดียว แต่ทั้งในอินเดียด้วย ดังที่ สมาคมนักประวัติศาสตร์แห่งเมือง อาร์เตมิต้า (apollorus of artemita) กล่าวไว้ว่า และชนเผ่าถูกปราบปรามโดยพวกเขา(เมนันเดอร์)มากกว่าโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยพระเจ้าเมนันเดอร์ (อย่างน้อยที่สุด ถ้าพระองค์ทรงข้ามไฮพานิส(hypanis)มุ่งหน้าไปทางตะวันออกและอย่างไกลสุดถึงเทือกเขาหิมาลัย) สำหรับบางรัฐถูกปราบปรามโดยพระองค์เองและโดยคนอื่นคือพระเจ้าเดเมตริอุส (demetrius)ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ายูไทเดมัส กษัตริย์แห่งแคว้นบัคเตรีย และพวกเขาทำการครอบครอง ไม่ใช่แค่พื้นที่ของ พาตาเลน้า (patalena) เท่านั้น พื้นที่ที่เหลือของชายฝั่งซึ่งเรียกว่าราชอาณาจักรสราวสเตอัส (saraostus) และ อาณาจักรไซเจอดิส (sigerdis)ซึ่งเป็นเวลาในระยะสั้น สมาคมนักประวัติศาสตร์กล่าวว่า บัคเตรียเป็นยอดมงกุฎของอาริอานาทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาขยายอาณาจักรไปไกลถึง ซีเรส (seres) และ ฟรีนี (phyni)

ทั้งสตราโบยังได้บอกว่า พวกชาวกรีกพิชิตได้กระทั่งเมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนะ) ในภาคเหนือของอินเดีย:

พวกเขามาถึง หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ไปถึงแม่น้ำคงคาและปาฏลีบุตร

— สตราโบ, 15.698

นักบันทึกชาวอินเดียยังได้บรรยายว่า กษัตริย์ชาวกรีกโจมตี เมือง มถุรา (mathura) ปัญจาละ (panchala) สาเกต (saketa) และ ปาฏลีบุตร (pataliputra) นี้เป็นกรณีเฉพาะของบางส่วนแห่งการกล่าวถึงการบุกรุกในบท ปตัญชลี (patanjali) ราว 150 ปีก่อน ค.ศ. และในวรรณกรรม ยุคะ ปุราณะ (yuga purana) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อินเดีย ในลักษณะคำทำนาย:

หลังจากการพิชิตเมืองสาเกตได้แล้ว รัฐกรีก คือ ปัญจาละ มถุรา ยะวะนะ ที่ชั่วร้ายและกล้าหาญจะถึงเมืองกุสุมาเทวาชา เริ่มประชิดป้อมปราการอันหนาที่เมืองปาฏลีบุตร ทุกรัฐจะอยู่ในความอลหม่าน โดยไม่ต้องสงสัย ในท้ายที่สุด จะมีการสู้รบครั้งยิ่งใหญ่ด้วยเครื่องยุทโธปกรณ์คล้ายต้นไม้ (เครื่องยุทโธปกรณ์ล้อมเมือง)

— การ์จี สัมหิตา, ยุคะ ปุราณะ, ฉบับที่ 5

มิลินทปัญหาบอกให้รู้ถึงวิธีการรบ ทางทหารของพระองค์:[9]

– มหาบพิตร พระองค์เคยถูกราชศัตรูยกพลมาเพื่อจะชิงเอาพระนครบ้างหรือไม่
– เคยถูกอยู่บ้าง
– ในทันทีนั้น พระองค์ตรัสสั่งให้ลงมือขุดคู สร้างป้อมปราการ และฝึกหัดทหารซ้อมเพลงอาวุธ กระนั้นหรือ
– หามิได้ กิจการเหล่านั้นต้องจัดทำเตรียมไว้ก่อน
– นั่นพระองค์มีพระประสงค์อย่างไร จึงต้องทำเตรียมล่วงหน้าไว้เล่า
– ประสงค์ว่าเมื่อเกิดสงครามขึ้นจะได้ทาการต่อสู้ข้าศึกได้ทันท่วงที

— มิลินทปัญหา, เล่มที่ 3, บทที่ 7

สมัยรัชกาลของพระองค์ยาวนานและประสบความสำเร็จ การค้นพบเหรียญในหลากหลายสถานที่เป็นผลมาจากความเจริญรุ่งเรืองและการขยายอาณาจักรของพระองค์ (พบได้กระทั่งถึงอังกฤษ): การค้นพบเหรียญของเขาเป็นจำนวนมากที่สุดและในสถานที่หลากหลายก้างไกลที่สุดของบรรดากษัตริย์อินโด – กรีกทั้งหมด ความถูกต้องของวันที่ของการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ตลอดจนมาตุภูมิของพระองค์ยังคงคลุมเครือ อย่างไรก็ตาม หมู่นักประวัติศาสตร์คาดเดาว่า พระเจ้าเมนันเดอร์เป็นหลายชายหรือเป็นอดีตในพลของเดเมตริอุส (Demetrius I) กษัตริย์กรีก – บัคเตรีย แต่ ทั้งสองกษัตริย์แยกออกจากกันอย่างน้อยสามปี บรรพบุรุษของพระเจ้าเมนันเดอร์อยู่ในปัญจาบคาดว่าน่าจะเป็นกษัตริย์อะพอลโลโดตัส ที่ 1 (apollodotus I)

จักรวรรดิของพระเจ้าเมนันเดอร์หมดสมัยของพระองค์ก็กระจัดกระจายจนกระทั่งถึงสมัยของกษัตริย์กรีกพระองค์สุดท้ายคือ สตราโต ที่ 2 จักรวรรดิก็สลายไปหมด

บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน (periplus of the erythraean sea) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 2 ยังได้มีข้อความพิสูจน์เพิ่มเติมถึงการครองราชย์ของพระองค์และอิทธิพลแห่งกษัตริย์อินโด – กรีกในอินเดีย:

ทุกวันนี้เหรียญเงินโบราณวัตถุถูกพบแพร่หลายในบารีกาซา (barygaza) ณ ปัจจุบันในบารีกาซานี้ ในเหรียญมีจารึกอักษรกรีก และอุปกรณ์ของผู้ครองราชย์หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ คือพระเจ้าเมนันเดอร์และพระเจ้าอะพอลโลอรัส

— บันทึกเส้นทางฯ, บทที่ 47.[10]

พระเจ้าเมนันเดอร์เป็นกษัตริย์อินโด –กรีกพระองค์แรกที่นำเอาประติมากรรมเทวรูป อธีนา อัลไคเดมอส (Athena alkidemos) (อธีนาผู้ช่วยผู้คนให้รอด) บนเหรียญของพระองค์ อาจจะนำเอาการปฏิบัติอย่างที่ทำกันในมาซีโดเนียคือเทวรูปอธีนาในเมืองเพลล่า (pella) เมืองหลวงของมาซีโดเนีย

พระเจ้าเมนันเดอร์กับพระพุทธศาสนา

[แก้]

มิลินทปัญหา

[แก้]
พระเจ้ามิลินท์ถามคำถาม

ตามที่ได้มีการนำสืบๆมา พระเจ้าเมนันเดอร์ยึดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีบรรยายในมิลินทปัญหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธบาลีคลาสสิก (ข้อความภาษาสันสฤตฉบับเดิมสูญหายแล้ว) การสนทนาระหว่างพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนนักบวชพุทธ พระองค์ถูกบรรยายตลอดว่าอยู่พร้อมกับทหารองครักษ์ ๕๐๐ คน และอำมาตย์ที่ปรึกษาของพระองค์ชื่อ เดเมตริอัส กับ อันทิคัส (Demetrius and Antiochus) ในมิลินทปัญหา พระองค์ถูกบรรยายประวัติว่า

กษัตริย์แห่งเมืองสาคละในชมพูทวีปพระนามว่ามิลินท์เป็นผู้คงแก่เรียนมีไหวพริบปฏิภาณฉลาดสามารถและเป็นผู้สังเกตการณ์ที่มีศรัทธาและในเวลาที่สมควร การกระทำความจงรักภักดีและพิธีกรรมต่างๆทั้งหมดสั่งการโดยพระองค์เองด้วยบทสวดอันศักดิ์ที่เป็นเรื่องเกียวกับอดีตปัจจุบันและอนาคต เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ

ไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ ๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น ๒. รู้จักกำเนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่าชื่อนั้นๆ ๓. คัมภีร์เลข ๔. คัมภีร์ช่าง ๕. คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง ๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล ๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตาราดวงดาว ๘. คัมธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี ๙. เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์ ๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู ๑๑. ประวัติศาสตร์ ๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน ๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น ๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุ รู้จักผลจะบังเกิด ๑๕. ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล ๑๖. ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม ๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร ๑๘. ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง พระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก และเป็นบุคคลผู้เอาชนะได้ยาก เป็นผู้ยอดเยี่ยมที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าสำนักนักคิดนักปรัชญาต่างๆทั้งหมด และเป็นผู้มีกำลังแห่งปัญญา มีกำลังกาย มีเชาวน์อันเร็ว และไม่มีคู่โต้วาทีที่สมน้ำสมเนื้อกับพระเจ้ามิลินท์ในชมพูทวีป ทั้งพระองค์ยังเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติและความรุ่งเรื่องมาก และจำนวนทหารของพระองค์นับไม่ถ้วน

[11]

ข้อความที่นำสืบมาของศาสนพุทธบอกเล่าว่า การสนทนาของพระองค์ตามที่กล่าวมานั้นกับพระนาคเสน พระยามิลินท์ก็เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา:

ขอให้พระคุณเจ้านาคเสนยอมรับเราว่าเป็นพุทธมามกะและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงจริงๆนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตลอดชั่วชีวิต[12]

จากนั้นพระองค์ก็ส่งมอบอาณาจักรของพระองค์ให้กับพระโอรสและปลีกพระองค์ออกจากโลกียวาส:

และหลังจากนั้น พระองค์ก็พอพระทัยในปัญญาของผู้อาวุโส พระองค์ส่งมอบอาณาจักรให้แก่พระโอรสของพระองค์ และสละการใช้ชีวิตในพระราชวังเพื่ออยู่แบบไม่มีเรือน เจริญก้าวหน้าในโพธิธรรม และพระองค์เองได้บรรลุพระอรหันต์[13]

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากพินัยกรรมที่บงชี้ว่าพระองค์สละราชบัลลังก์เพื่อพระโอรสของพระองค์ตามความพอพระทัยแล้ว ยังมีหลักฐานบนเหรียญที่เซอร์ วิลเลี่ยม ตาร์น (Sir William Tarn) เชื่อว่า พระองค์สวรรคตจริงทิ้งให้พระอัครมเหสีของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งพระโอรสของพระองค์ สตราโบ สามารถที่จะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง[14] แม้ว่ารัชสมัยของพระองค์จะประสบความสำเร็จ เป็นที่ชัดเจนว่าหลังจากพระองค์สวรรคต จักรวรรดิก็ระส่ำระส่ายได้แตกแยกออกจากอาณาจักรที่มีรัชทายาทเป็นกษัตริย์อินโด-กรีกที่หลากหลาย จากขนาดที่หลากหลายและความมีเสถียรภาพ

เอกสารอื่น ๆ ของชาวอินเดีย

[แก้]
Bharhut Yavana รูปปั้นนูนของอินเดียที่มีแถบคาดศีรษะของกษัตริย์กรีก สวมเสื้อคลุมทางตอนเหนือที่มีจีบแบบกรีก และสัญลักษณ์ไตรรัตน์ของพุทธบนดาบ ภารหุต 200 ปีก่อนคริสตกาล พิพิธภัณฑ์อินเดีย, โกลกาตา
  • 200 ปีก่อนคริสตกาล รูปสลักนูนต่ำจากสถูปทางพุทธศาสนาในภารหุตทางตะวันออกของรัฐมัธยมประเทศ (ปัจจุบัน รูปสลักนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองโกลกาตา) รูปสลักนั้นเป็นทหารต่างประเทศพร้อมด้วยผมยิกสไตล์กรีกและผ้าพันศีรษะแบบหลวงปลายผ้าพลิวไหวตามลมแบบกษัตริย์กรีก และบางทีอาจจะวาดถึงพระเจ้าเมนันเดอร์ ในมือของรูปสลักถือกิ่งเถาวัลย์ สัญลักษณ์ของเทพเจ้าผู้เก็บเกี่ยวองุ่น ทั้งชายของผ้านุ่งห่มของรูปสลักก็เป็นแถวเป็นแนวพับแบบรูปทรงเรขาคณิต มีลักษณะสไตล์เฮเลนิก บนดาบของรูปสลักปรากฏสัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธคือรัตนากร
  • การค้นพบที่เก็บพระธาตุในเมืองบาจาเออ (Bajaur) มีข้อความจารึกเป็นการบริจาคของมีค่าเพื่ออุทิศ บอกถึง วันที่ 14 ของเดือนกัตติกา (เดือน 12 ตามจันทรคติ ราวเดือนพฤศจิกายน) ของปีที่แน่นอนของการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์:


Minadrasa maharajasa Katiassa divasa 4 4 4 11 pra[na]-[sa]me[da]... (prati)[thavi]ta pranasame[da]... Sakamunisa

ในวันที่ 14 ของเดือนกัตติกา ในรัชสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์มหาราช(ในปี...) (ของที่ระลึก)ของศากยมุนี ซึ่งได้บริจาคอุทิศชีวิต...ได้ถูกก่อสร้าง[15]

  • ตามแหล่งข้อมูลของศรีลังกาโบราณชื่อคัมภีร์มหาวงศ์บันทึกว่า ภิกษุชาวกรีกคาดว่าได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าเมนันเดอร์: พระมหาธรรมรักขิตะ ภิกษุชาวโยนะ (ชาวกรีก)กล่าวว่ามาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) (น่าจะเป็นเมืองอเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส เป็นเมืองที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงก่อตั้งขึ้น ปัจจุบันอยู่ใกล้กรุงคาบูล) ท่านมาพร้อมกับพระภิกษุ ๓๐,๐๐๐ เพื่อมาพิธีวางรากฐานของพระมหาสถูป ณ เมืองอนุราธปุระ(อนุราธบุรี) ในศรีลังกา ในช่วงเวลา ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล:

พระเถระผู้อาวุโส มหาธรรมรักขิตะพร้อมด้วยภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูปมาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) แห่งแคว้นโยนะ

การก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา

[แก้]

เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 ถูกพบในชั้นที่สองของบัตการาสถูป (Butkara stupa) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการก่อสร้างชั้นที่สองของสถูปเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์[17] ซึ่งพระองค์สร้างชั้นที่สองต่อจากการสร้างชั้นที่หนึ่งครั้งแรกในยุคราชวงศ์โมริยะ[18] องค์ประกอบเหล่านี้มีแนวโน้มบ่งบอกถึงความสำคัญทางพระพุทธศาสนาภายชุมชนชาวกรีกในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือและบทบาทที่โดดเด่นของพระสงฆ์กรีก ซึ่งพวกเขาอาจจะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์

เหรียญกษาปณ์

[แก้]
เหรียญเงินของพระเจ้าเมนันเดอร์, เทพีอธีนาอยู่ด้านก้อย. จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช

พระองค์ได้ทิ้งคลังใหญ่ของเหรียญเงินและเหรียญทองไว้เบื้องหลัง มากกว่ากษัตริย์ดินโดกรีกพระองค์อื่นๆ ในยุคที่พระครองราชย์ การผสมผสานระหว่างมาตรฐานเหรียญของชาวอินเดียและชาวกรีกได้ถึงจุดสุดยอด (apogee) บนเหรียญมีประโยคนี้: (กรีกโบราณ: ΒΑΣΙΛΕΩΣ ΣΩΤΗΡΟΣ ΜΕΝΑΝΔΡΟΥ, อักษรโรมัน: BASILEOS SOTEROS MENANDROU / อักษรขโรษฐี: MAHARAJA TRATARASA MENADRASA)

  • อ้างอิงจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านเหรียญ ออสมุนด์ โบเพรัคจิ (Bopearachchi) เหรียญเงินของออสมุนด์ โบเพรัคจิ เริ่มต้นด้วยชุดหายากของเหรียญกรีกโบราณ ด้านหัวแสดงรูปเทพีอธีนาและด้านตรงข้ามแสดงลักษณะลีลาของเทพีอธีนาและนกฮูก
  • น้ำหนักและปรมาภิไธยย่อของชุดเหรียญนี้ตรงกับชุดเหรียญของกษัตริย์อันติมาคัส ที่ 2 (Antimachus II) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าเมนันเดอร์ครองราชย์ต่อจากกษัตริย์อันติมาคัส ที่ 2
  • ในชุดซีรีส์ถัดไปพระเจ้าเมนันเดอร์ให้แสดงภาพของพระองค์เองซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ไม่เคยมีในหมู่ผู้ปกครองอินเดีย ด้านตรงข้ามมีลักษณ์เป็นเครื่องหมายการค้าทางราชวงศ์ของพระองค์: ซึ่งเรียกว่า อธีนา อัลคิเดมอส (Athena Alkidemos) กำลังขว้างสายฟ้า สัญลักษณ์ถูกใช้อย่างมากโดยผู้สืบทอดการครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอันติกอนิด (Antigonid)กษัตริย์แห่งมาซีโดเนีย
  • ในการปรับปรุงเพิ่ม พระองค์ทรงเปลี่ยนธรรมเนียมจากการจัดเรียงอักษรแบบวงกลมรอบหมด มาเป็นจัดเรียงแบบหันหัวอักษรให้ถูกต้อง[โปรดขยายความ] การปรับเปลี่ยนนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถอ่านเหรียญได้โดยไม่ต้องหมุนและการปรับแบบนั้นกษัตริย์อินโดกรีกพระองค์ต่อๆมาก็ทำตามโดยไม่ยกเว้น

การปรับเปลี่ยนแก้ไขเหล่านี้อาจเป็นการปรับตัวของพระเจ้าเมนันเดอร์ต่อเหรียญของกษัตริย์บัคเตรียพระเจ้ายูคราติส ที่ 1 (Eucratides I) ผู้ที่มาชิงเอาเนื้อที่ภาคตะวันตกของอาณาจักรอินโดกรีก และออสมุนด์ โบเพรัคจิ (Bopearachchi) ได้บรรยายไว้ว่า เป็นการบ่งชี้ว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ยึดเนื้อที่ภาคตะวันตกเหล่านั้นกลับคืนมาหลังจากที่พระเจ้ายูคราติส ที่ 1 สวรรคต

  • นอกจากนี้พระเจ้าเมนันเดอร์ยังให้ปั้มเหรียญมาตรฐานแบบกดแม่พิมพ์ลงลึกมาก[โปรดขยายความ] ซึ่งอาจจะเป็นตั้งใจสำหรับการใช้ในบัคเตรีย (เป็นสถานที่ที่พบเหรียญ) บางทีพระองค์อาจคิดแสดงชัยชนะต่อกษัตริย์บัคเตรีย รวมทั้งการอ้างของพระองค์เองต่ออาณาจักรบัคเตรีย
  • เหรียญสัมฤทธิ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์มีรูปแบบหลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆของโอลิมปิก ของชาวอินเดียและสัญลักษณ์อื่นๆ ทำให้รู้สึกที่จะคิดว่าพระองค์แนะนำมาตรฐานทางน้ำหนักใหม่ของเหรียญสัมฤทธิ์

เมนันเดอร์ผู้ทรงธรรม

[แก้]
เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 2 "ธรรมิกราชา พระราชาผู้ทรงธรรม" (the just).
การเปรียบเทียบรูปของพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 (ซ้าย) และ พระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 2 (ขวา).

กษัตริย์พระองค์ที่สองพระนามว่า เมนันเดอร์ พร้อมด้วยพระนามฉายาว่าผู้ทรงธรรม(the just) ผู้ปกครองรัฐปัญจาบหลัง 100 ปีก่อนค.ศ. นักวิชาการในอดีตเช่น คันนิ่งแฮม (A.Cunningham ) และ ตาร์น (W.W.Tarn) เชื่อว่านั้นเป็นเมนันเดอร์เพียงพระองค์เดียวและสันนิษฐานว่าพระองค์เปลี่ยนพระนามฉายาของพระองค์หรือพระองค์ถูกขับออกจากการปกครองภาคตะวันตกของพระองค์ จำนวนเรื่องของความบังเอิญนำไปสู่การสันนิษฐานของพวกเขาดังต่อไปนี้

  • รูปในเหรียญเหมือนกันอย่างมีความสัมพันธ์ และรูปในเหรียญ เมนันเดอร์ที่ 2 มองดูมักจะแก่กว่า เมนันเดอร์ที่ 1
  • เหรียญของเมนันเดอร์ที่ 2 มีลักษณะสัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธหลายอย่าง จึงถูกตีความว่าเป็นหลักฐานแห่งบทสนทนาที่กล่าวถึงในมิลินทปัญหา
  • พระนามฉายาว่าผู้ทรงธรรม (Dikaios) ของเมนันเดอร์ที่ 2 ถูกแปลไปสู่อักษรขโรษฐี (Kharosthi) ว่า ธรรมิกะ (Dharmikasa) บนเหรียญด้านก้อย ซึ่งหมายความว่า ผู้ทรงธรรม ซึ่งเป็นการตีความในแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ออสมุนด์ โบเพรัคจิ (Bopearachchi) และ ซีเนียร์ (R.C. Senior) ผู้เชี่ยวชาญด้านเหรียญได้แสดงถึงการค้นพบถึงความแตกต่างในเหรียญ คือสไตล์และพระปรมาภิไธยอักษรย่อว่าเป็นกษัตริย์สองพระองค์ที่เป็นคนละคนกันแน่นอน พระเจ้าเมนันเดอร์พระองค์ที่ 2 น่าจะเป็นลูกหลานของพระเจ้าเมนันเดอร์พระองค์แรก และเครื่องหมายทางศาสนาพุทธของพระองค์หมายถึงการท้าวความถึงการการเปลี่ยนแปลงเป็นพุทธมามกะของบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของพระองค์ ด้วยความแตกต่างทางหลักฐานนี้ หลักฐานของผู้เชี่ยวชาญทางเหรียญสำหรับมิลินทปัญหาจึงหายไป พระเจ้าเมนันเดอร์พระองค์แรกชุดเหรียญบรอนซ์แบบมีกงล้อธรรมจักรทางศาสนาพุทธชุดเดียวที่หายาก

สวรรคต

[แก้]

พลูทาร์ก (Plutarch) รายงานว่า พระเจ้าเมนันเดอร์สวรรคตในแคมป์ขณะกำลังร่วมการรบ ดังนั้นจึงต่างจากเวอร์ชันของมิลินทปัญหา แยกขาดเขาที่ไม่เห็นด้วยกับทรราชย์ดังเช่นไดโอนิซิอัส (Dionysius) และในการขยายความว่า เรื่องของเมืองที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการสมพระเกียรติให้การฝังพระศพของพระองค์ ท้ายที่สุดกระทั่งการแบ่งปันเถ้าถ่านของพระองค์ในระหว่างพวกเขาและแจกจ่ายแก่กันเพื่อนำไปบรรจุในอนุสรณ์สถาน(น่าจะเป็นสถูป) ในลักษณะการเตือนความจำแบบพิธีถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า[19]

แต่เมื่อพระเจ้าเมนันเดอร์พระองค์ที่ 1 ผู้ได้ขึ้นครองราชย์แคว้นบัคเตรียอย่างมีพระกรุณาธิคุณ หลังจากนั้นก็สวรรคตในค่าย ชาวเมืองทั้งหลายต่างก็เต็มใจร่วมพิธีถวายอาลัยในงานพิธีพระศพของพระองค์อย่างแท้จริง แต่การมาถึงการแข่งขันกันแย่งพระบรมอัฐิของพระองค์ การเป็นตัวเลือกสุดท้ายของพวกเขาเป็นการยากจึงนำไปสู่ข้อตกลงนี้ว่า พระสรีรังคารของพระองค์จะถูกแจกจ่ายสำหรับทุกๆคนและต้องได้รับส่วนละเท่าๆกัน และพวกเขาทั้งหมดต้องอนุสรณ์สถานให้พระองค์

— พลูทาร์ก, โมราเลีย: Praecepta gerendae reipublicae[20]

แม้จะ มีความสำเร็จมากมายของพระองค์ ปีสุดท้ายของพระเจ้าเมนันเดอร์น่าจะเต็มไปด้วยสงครามกลางเมืองอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นการปะทะกับพระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 (Zoilos I) ผู้ซึ่งครองราชย์ในแคว้นคันธาระ (Gandhara) นี้เป็นบงชี้ที่ว่าพระเจ้าเมนันเดอร์อาจปั้มทับเหรียญของพระเจ้าโซอิลอส มิลินทปัญหาอาจยกการสนับสนุนบางอย่างในแนวคิดที่ว่า ตำแหน่งของพระเจ้าเมนันเดอร์มีความเสี่ยงล่อแหลม เพราะมันถูกอธิบายว่าพระองค์ถูกล้อมรอบแบบจนมุมโดยศัตรูจำนวนมากในวงล้อม:

หลังจากการสนทนากันอย่างยาวนานของพวกเขา พระนาคเสนได้ถามตัวเองว่า “แม้กษัตริย์จะทรงพอพระทัย พระองค์ก็ไม่ให้สัญญาณแห่งความพอพระทัย” พระเจ้าเมนันเดอร์ตรัสตอบว่า “เหมือนราชสีห์เจ้าแห่งสัตว์มีเขี้ยวทั้งปวง เมื่อถูกขังให้กรง แม้กรงเป็นกรงทอง ก็ยังคงต้องการออกข้างนอก ฉันนั้นเหมือนกัน เราแม้จะอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าของบ้าน แต่ก็ยังคงมุ่งหมายออกไปข้างนอก แต่ถ้าเราจะออกไปจากบ้านไปเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้าน เราจะออกไปได้ไม่นาน ทั้งศัตรูของเรามีจำนวนมากมาย

— อ้างใน Bopearachchi, มิลินทปัญหา, เล่ม 3, บทที่ 7[21]

ทฤษฎีทายาทผู้สืบทอดของพระเจ้าเมนันเดอร์

[แก้]

พระเจ้าเมนันเดอร์เป็นกษัตริย์อินโดกรีกพระองค์สุดท้ายที่ได้ถูกกล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์โบราณ และการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของรัฐหลังจากพระองค์สวรรคต จึงยากที่จะติดตาม

) ดูในข้อความที่นำสืบมา ซึ่งถูกสนับสนุนโดยตาร์น (W.W. Tarn) และโบเพรัคคิ (Bopearachchi) ข้อความที่ว่าพระเจ้าเมนันเดอร์มีคนสำเร็จราชการแทนคือพระนางอะกาทอคลีอา (Agathokleia) ผู้ทำน่าที่สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสที่พระนามว่าสตาโบ ที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กมากอยู่ จนกระทั่งพระราชโอรสโตเป็นผู้ใหญ่และสมควรขึ้นครองราชย์ สตราโบ ที่ 1 มีภาพของพระองค์อยู่ด้านตรงข้าม(ด้านก้อย)กับพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 เทพีอธีนาขว้างสายฟ้า และมีข้อความหัวข้อว่า โซเตอร์ (Soter) ตามสถานการณ์นี้ พระมเหสีอะกาทอคลีอาและพระโอรสสตาโบที่1 ทำเพียงแค่บริหารการเฝ้าดูแลในภาคตะวันออกของอาณาจักร แคว้นปัญจาบและที่แคว้นคันธาระ ปโรปมิสดี (Paropamisadae) และ ปุสคลวติ (Pushkalavati) ถูกยึดครองโดยพระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 บางทีเพราะมีบางคนในบรรดาข้าราชการของพระนางอะกาทอคลีอาอาจไม่เต็มใจที่จะยอมรับกษัตริย์เด็กและพระราชินีผู้สำเร็จราชการแทน

) ตรงข้ามกับเรื่องนี้ ซีเนียร์ (R.C. Senior) และนักเชียวชาญด้านเหรียญเช่น เดวิด บิวาร์ (David Bivar) ได้แนะนำว่า สตาโบ ที่ 1 ปกครองหลายทศวรรษ(หลายสิบปี)หลังจากพระเจ้าเมนันเดอร์ พวกเขาชี้ให้เห็นว่า พระปรมาภิไธย (Monogram)ของพระเจ้าสตาโบ และของพระนางอะกาทอคลีอามักจะแตกต่างจากของพระเจ้าเมนันเดอร์และการปั้มเหรียญหลุดขอบและรวบรวมการค้นพบยังเชื่อมโยงพวกเขาต่อกษัตริย์องค์ต่อมา ในสถานการณ์นี้ เมนันเดอร์ได้รับการสำเร็จราชการช่วงสั้นๆโดยพระโอรสของพระองค์พระนามว่า ธราสัน (Thrason) ผู้ซึ่งมีเหรียญค้นพบเหรียญเดียวเป็นที่รู้จัก หลังจากพระเจ้าธราสัน (Thrason) ถูกฆาตกรรม กษัตริย์คู่แข่งเช่น พระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 (Zoilos I) หรือ ไลเซียส (Lysias) อาจเป็นผู้เข้ายึดครองอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ ราชวงศ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์จึงพังครืนและไม่ได้กลับมาสู่อำนาจจนกระทั่งต่อมา แม้นิเซียส (Nicias) ผู้เป็นญาติเกี่ยวพันธ์ของพระองค์จะสามารถปกครองอาณาจักรเล็กๆในหุบเขาคาบูล

มรดก

[แก้]

พุทธมามกะ

[แก้]

หลังจากการครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 สตาโบ ที่ 1 และต่อมาผู้ปกครองอินโดกรีกอีกหลายพระองค์ เช่นอมินทาส (Amyntas) ไนเซียส (Nicias) พีกอลาออส (Peukolaos) เฮอแมอัส (Hermaeus) และ ฮิปปอสทราตัส (Hippostratos) ก็ให้ทำภาพของตนเองบ้างและภาพของเทพเจ้ากรีกของพวกตนขึ้นรูปแบบมีพระหัตถ์ขวาท่าทางเป็นสัญลักษณ์เหมือนกับท่าวิตรรกะ มุทรา (vitarka mudra) (ท่าจีบหัวแม่มือและนิ้วชี้คู่กัน ส่วนนิ้วอื่นเหยียดออก) ซึ่งในพุทธศาสนาหมายถึงการถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า(ปางแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร) ในเวลาเดียวกัน หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมนันเดอร์แล้ว ผู้ปกครองชาวอินโดกรีกจำนวนมากก็เริ่มนำไปใช้ในเหรียญของพวกตน หัวข้อธรรมะภาษาบาลีที่ว่า “ธมฺมิก” (Dharmikasa) หมายความว่า ผู้ทรงธรรม(ข้อธรรมะที่พระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ชาวพุทธใช้คือ ธรรมราชา หมายความว่า พระราชาแห่งธรรมะ) การใช้หัวข้อธรรมะนี้ถูกนำไปใช้โดยพระเจ้าสตาโบ ที่ 1 โซอิลอส ที่ 1 เฮลิโอเกลส์ ที่ 2(Heliokles II) ธีโอฟิลอส (Theophilos) พีกอลาออส (Peukolaos) และ อาร์คิบิออส (Archebios)

โดยทั้งหมด การเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาของพระเจ้าเมนันเดอร์ถูกบรรยายไว้ในมิลินทปัญหาดูเหมือนว่าจะมีการเรียกใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการสร้างเหรียญใกล้เคียงกับครึ่งหนึ่งของกษัตริย์ผู้สืบต่อจากพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์ทั้งหลายหลังจากที่พระเจ้าเมนันเดอร์ผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ปกครองแคว้นคันธาระ (นอกเหนือจากพระเจ้าเดมิตริอุส ที่ 3 ซึ่งไม่ค่อยมีคนรู้จัก)แสดงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ทั้งเพราะการเปลี่ยนมานับถือศาสนาของพระองค์ทั้งเพราะการขยายอาณาเขตที่ไร้ขีดจำกัดของพระองค์ อาจมีส่วนช่วยในการขยายตัวของพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง แม้ว่าการแพร่กระจายของพระพุทธศาสนาไปยังเอเชียกลางและเอเชียตอนเหนือมักจะเกี่ยวข้องกับกุษาณะ (Kushans) หนึ่งหรือสองศตวรรษต่อมามีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการนำมาในพื้นที่เหล่านั้นจากแคว้นคันธาระ มีกระทั่งก่อนหน้านี้ ในช่วงเวลาของพระเจ้าเดมิตริอุสและพระเจ้าเมนันเดอร์ (ปูริ (Puri) พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง ในช่วงเวลานั้นหรือไม่นานหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ ลายผ้าสักหลาดที่ สถูปสาญจี(Sanchi) แสดงให้เห็นถึงพุทธสาวกในชุดเครื่องแต่งกายแบบกรีก ผู้ชายเป็นภาพที่มีผมหยิกสั้นมักจะเกล้าขึ้นด้วยแถบคาดศีรษะชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปบนเหรียญกรีก เสื้อผ้าก็เป็นแบบกรีก พร้อมด้วยเสื้อคุมแบบกรีก(tunics) ผ้าคลุมไหล่และรองเท้าแตะ เครื่องดนตรียังมีลักษณะพิเศษ เช่นขลุ่ยคู่ที่เรียกว่า ออลอส (aulos) นอกจากนี้ยังมองเห็นเครื่องเป่ายาวๆคล้ายแตร พวกเขาทั้งหมดฉลองที่ทางเข้าของเจดีย์ คนเหล่านี้อาจจะเป็นชาวอินโดกรีกมาจากอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อเยี่ยมชมสถูปสาญจี[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Menander". Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hazel, John (2013). Who's Who in the Greek World. Routledge. p. 155. ISBN 9781134802241. Menander king in India, known locally as Milinda, born at a village named Kalasi near Alasanda (Alexandria-in-the-Caucasus), and who was himself the son of a king. After conquering the Punjab, where he made Sagala his capital, he made an expedition across northern India and visited Patna, the capital of the Mauraya empire, though he did not succeed in conquering this land as he appears to have been overtaken by wars on the north-west frontier with Eucratides.
  3. 3.0 3.1 Magill, Frank Northen (2003). Dictionary of World Biography, Volume 1. Taylor & Francis. p. 717. ISBN 9781579580407. MENANDER Born: c. 210 B.C.; probably Kalasi, Afghanistan Died: c. 135 B.C.; probably in northwest India Areas of Achievement: Government and religion Contribution: Menander extended the Greco-Bactrian domains in India more than any other ruler. He became a legendary figure as a great patron of Buddhism in the Pali book the Milindapanha. Early Life – Menander (not to be confused with the more famous Greek dramatist of the same name) was born somewhere in the fertile area to the south of the Paropamisadae or the present Hindu Kush Mountains of Afghanistan. The only reference to this location is in the semi-legendary Milindapanha (first or second century A.D.), which says that he was born in a village called Kalasi near Alasanda, some two hundred yojanas (about eighteen miles) from the town of Sagala (probably Sialkot in Punjab). The Alasanda refers to the Alexandria in Afghanistan and not the one in Egypt.
  4. Bopearachchi (1998) and (1991), respectively. The first date is estimated by Osmund Bopearachchi and R. C. Senior, the other Boperachchi
  5. "Menander | Indo-Greek king". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. The Cambridge Ancient History (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. 1970. p. 406. ISBN 978-0-521-23448-1.
  7. Noble, Thomas F. X.; Strauss, Barry; Osheim, Duane; Neuschel, Kristen; Accampo, Elinor (2013). Western Civilization: Beyond Boundaries (ภาษาอังกฤษ). Cengage Learning. p. 97. ISBN 978-1-285-50020-1.
  8. (ในภาษากรีก) Strabo (1877). "11.11.1". ใน Meineke, A. (บ.ก.). Geographica (ภาษากรีก). Leipzig: Teubner.
    Jones, H. L., บ.ก. (1924). "11.11.1". Strabo, Geography, Book 11, chapter 11, section 1. Jones, H. L., บ.ก. (1903). "11.11.1". Strabo, Geography, BOOK XI., CHAPTER XI., section 1. At the Perseus Project.
  9. มิลินทปัญหาฉบับธรรมทาน ไว้ท์ลินินบุ๊คส์ บริษัทซาเร็นการพิมพ์ จากัด กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๕๒ น.๑๘๔ [1] เก็บถาวร 2017-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "Full text, Schoff's 1912 translation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 2017-07-02.
  11. มิลินทปัญหาฉบับธรรมทาน ไว้ท์ลินินบุ๊คส์ บริษัทซาเร็นการพิมพ์ จากัด กรุงเทพฯ พ.ศ. 2552 น.14 [2] เก็บถาวร 2017-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. มิลินทปัญหาฉบับธรรมทาน ไว้ท์ลินินบุ๊คส์ บริษัทซาเร็นการพิมพ์ จากัด กรุงเทพฯ พ.ศ. 2552
  13. มิลินทปัญหาฉบับธรรมทาน ไว้ท์ลินินบุ๊คส์ บริษัทซาเร็นการพิมพ์ จากัด กรุงเทพฯ พ.ศ. 2552
  14. Tarn 1951, p. 226.
  15. Bopearachchi 1991, p. 19, quoting the analysis of N.G. Majumdar, D.C. Sicar, S.Konow
  16. บทที่ 29 ของมหาวงศ์: Text
  17. Handbuch der Orientalistik, Kurt A. Behrendt, BRILL, 2004, p.49 sig. [3]
  18. "King Menander, who built the penultimate layer of the Butkara stupa in the first century BCE, was an Indo-Greek."in Empires of the Indus: The Story of a River, Alice Albinia - 2012
  19. A passage in the "Mahā-parinibbâna sutta" of the "Dighanikaya" relates the dispute of Indian kings over the ashes of the Buddha, which they finally shared between themselves and enshrined in a series of stupas.
  20. (ในภาษากรีก) Bernardakis, Gregorius N., บ.ก. (1893). "821d". Moralia: Praecepta gerendae reipublicae (ภาษากรีก). Leipzig: Teubner.
    Fowler, Harold North, บ.ก. (1936). "28, 6". Plutarch, Praecepta gerendae reipublicae, section 28. Goodwin, William W., บ.ก. (1874). "28, 6". Plutarch, Praecepta gerendae reipublicae, section 28. At the Perseus Project.
  21. Bopearachchi 1991, p. 33.
  22. "A guide to Sanchi" John Marshall. These "Greek-looking foreigners" are also described in Susan Huntington, "The art of ancient India", p. 100

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]