ข้ามไปเนื้อหา

พรรคแรงงาน (เนเธอร์แลนด์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคแรงงาน
Partij van de Arbeid
ชื่อย่อPvdA
หัวหน้าโลเดอไวก์ อัชเชอร์
ประธานเน็ลเลอเกอ เฟเดอลาร์
ผู้นำในวุฒิสภาไม ลี โฟส
ผู้นำในสภาผู้แทนราษฏรโลเดอไวก์ อัชเชอร์
ผู้นำในรัฐสภายุโรปเปาล์ ตัง
ก่อตั้ง9 February 1946; 78 ปีก่อน (9 February 1946)
รวมตัวกับพรรคกรรมกรประชาธิปไตยสังคมนิยม
สันนิบาตประชาธิปไตยเพื่อเสรีภาพทางความคิด
สหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน
ที่ทำการPartijbureau PvdA
Leeghwaterplein 45 เดอะเฮก
ฝ่ายเยาวชนเยาวชนสังคมนิยม
สมาชิกภาพ  (ปี 2020)ลดลง 41,078 คน[1]
อุดมการณ์ประชาธิปไตยสังคมนิยม[2]
อดีต:
ทางเลือกที่สาม
คริสเตียนฝ่ายซ้าย[3]
จุดยืนกลางซ้าย[4][5]
สีแดง
วุฒิสภา
6 / 75
สภาผู้แทนราษฎร
9 / 150
ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์
3 / 12
สภาจังหวัด
53 / 570
รัฐสภายุโรป
6 / 26
เว็บไซต์
www.pvda.nl
การเมืองเนเธอร์แลนด์
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคแรงงาน (ดัตช์: Partij van de Arbeid หรือย่อเป็น PvdA) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม[6] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1946 จากการรวมตัวกันของพรรคกรรมกรประชาธิปไตยสังคมนิยม สันนิบาตประชาธิปไตยเพื่อเสรีภาพทางความคิด และสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน มีนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคแรงงานมาแล้ว 3 คน ได้แก่ วิลเลิม ดรีส (ค.ศ. 1948-1958) โยป เดน เอาล์ (ค.ศ. 1973-1977) และวิม โกก (ค.ศ. 1994-2002)

ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2012 ถึง 2017 พรรคแรงงานเป็นพรรคที่ได้ที่นั่งในสภามากที่สุดเป็นอันดับที่สอง และได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ทว่าในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2017 ได้มาเพียง 9 ที่นั่งและไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาล

อุดมการณ์

[แก้]

พรรคแรงงานเป็นพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม มีส่วนสำคัญในการสร้างผลักดันระบบรัฐสวัสดิการขึ้นในเนเธอร์แลนด์  ได้ออกมาสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของสตรี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาโลกที่สามโดยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ราวสองทศวรรษต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างระบบโดยทำให้เศรษฐกิจและสังคมมีความเป็นกลางมากขึ้น มีการปรับระบรัฐสวัสดิการและส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจแปรรูปเป็นเอกชน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 พรรคได้ประกาศว่าจะใช้นโยบายกลางซ้าย โดยเน้นเรื่องการจ้างงาน ประกันสังคม สวัสดิการ และการลงทุนในการศึกษา ความปลอดภัย และสาธารณสุข

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Forum voor Democratie qua ledental de grootste partij van Nederland" (PDF). Documentatiecentrum Nederlandse Politieke Partijen (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  2. Nordsieck, Wolfram (2017). "Netherlands". Parties and Elections in Europe. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2018.
  3. Notermans, Ton (2001). Social Democracy and Monetary Union. ISBN 9781571818065.
  4. Josep M. Colomer (24 July 2008). Comparative European Politics. Taylor & Francis. p. 221f. ISBN 978-0-203-94609-1. สืบค้นเมื่อ 13 July 2013.
  5. Score 4.0/10 in 2003 Chapel Hill expert survey, see Hooghe et al. (2003) Chapel Hill Survey เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. พรรคแรงงานเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นพรรคฝักใฝ่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม: