ฝูงแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุดวงกลมสีแดงแสดงตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากเรียกว่า "ฝูงแผ่นดินไหว"

ฝูงแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ (ญี่ปุ่น: 能登群発地震)[1] เป็นฝูงแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่กระจุกตัวกันในพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 จนถึงปัจจุบัน

กลไกเปลือกโลก[แก้]

ในคาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ มีจำนวนแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 2018 และจำนวนแผ่นดินไหวได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 [2] จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวได้มากถึง 150 ครั้ง (มีความรุนแรงของแผ่นดินไหว 1 ขึ้นไปในมาตราชินโดะ) [3] ในฝูงแผ่นดินไหวครั้งนี้มีแผ่นดินไหวที่สุดแรงที่สุดคือขนาด 7.6 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 7 ในเมืองชิกะ [4] นอกจากนี้ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ชินโดะ 6+ ในเมืองซูซุ

แผ่นดินไหวเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นชุด ๆ ในรัศมีประมาณ 15 กม. ไปทางตะวันออก ตะวันตก ทางเหนือ และทางใต้ แต่แผ่นดินไหวจะเกิดชุกเป็นพิเศษบริเวณจากทางเหนือไปทางตะวันออก[5] พื้นที่เกิดแผ่นดินไหวมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ บริเวณปลายคาบสมุทร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 แผ่นดินไหวเริ่มแผ่ขยายไปตามชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ด้วย [6]

โดยสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่แน่ชัดยังไม่เป็นที่รู้จัก[7] แต่ข้อมูลของศาสตราจารย์โยชิฮิโระ ฮิรามัตสึ (教授の平松良浩) จากมหาวิทยาลัยคานาซาวะระบุว่าเปลือกโลกกำลังขยายดันตัวเนื่องจากมีของไหลผุดดันขึ้นมาจากใต้ดิน [3] มีการสังเกตว่าการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในจุดนี้ทำให้พื้นดินสูงขึ้น จนถึงตอนนี้พื้นดินได้ยกตัวสูงขึ้น 4 ซม. ในเมืองซูซุ [8] ค่อนข้างยากที่จะสังเกตการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกในภูมิภาคโนโตะซึ่งไม่มีภูเขาไฟอยู่รอบ [9] ศาสตราจารย์จุนอิจิ นากาจิมะ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวได้คาดการณ์ว่าอาจมีปริมาณน้ำจำนวนมากใต้คาบสมุทรจากข้อมูลผลการวิเคราะห์การแพร่กระจายของแผ่นดินไหวในอดีตในภูมิภาคแห่งนี้ นอกจากนี้เราสามารถคาดการณ์จำนวนที่จะเกิดและเส้นทางที่จะเกิดในอนาคตก็อาจทำนายการเกิดแผ่นดินไหวได้ [10]

รายการ[แก้]

วันที่ท้องถิ่น เวลาท้องถิ่น (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) มาตราริกเตอร์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
(Mj, JMA)
ความรุนแรงสุงสุด หมายเหตุ
16 กันยายน 2021 18:42 5.1 5-
19 มิถุนายน 2022 15:08 5.4 6-
20 มิถุนายน 2022 10:31 5.0 5+
5 พฤษภาคม 2023 14:42 6.5 6+
5 พฤษภาคม 2023 21:58 5.9 5+
1 มกราคม 2024 16:10 7.6 7
6 มกราคม 2024 23:20 4.3 6-

อ้างอิง[แก้]

  1. "令和6年1月1日16時10分頃の石川県能登地方の地震について(第2報)" (PDF). 気象庁 地震火山部. 2024-01-01. สืบค้นเมื่อ 2024-01-01.
  2. "第235回地震予知連絡会 議事概要". cais.gsi.go.jp. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
  3. 3.0 3.1 "能登半島、直近1年半で地震150回以上 昨年9月に震度5弱も:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 19 June 2022. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  4. "6人ケガ…能登地方で最大震度6弱の地震 タンスが倒れた住宅も「普通の地震じゃないぞと思った」(石川テレビ) - Yahoo!ニュース". web.archive.org. 24 June 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "2022 年6月 19 日石川県能登地方の地震の評価" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  6. "能登半島で地震の頻発エリア拡大、地下の「水」が要因か…政府調査委「注視したい」". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 17 December 2022. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  7. "能登半島、地震1年半で約150回 地殻変動が継続 - 日本経済新聞". www.nikkei.com. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  8. "石川県 能登地方で震度5強の地震 津波なし | NHK". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  9. "<再掲>火山のない能登、観測されていた異例の地殻変動と群発地震". 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  10. "能登半島で地震の頻発エリア拡大、地下の「水」が要因か…政府調査委「注視したい」". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 17 December 2022. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.