ข้ามไปเนื้อหา

ปลากัด (สกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลากัด
Betta albimarginata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Anabantiformes
Anabantiformes
วงศ์: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
Osphronemidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยปลากัด
Macropodusinae
สกุล: ปลากัด (สกุล)
Betta
Bleeker, 1850
ชนิดต้นแบบ
Betta trifasciata
Bleeker, 1850
ชื่อพ้อง
  • Anostoma van Hasselt, 1859
  • Micracanthus Sauvage, 1879
  • Parophiocephalus Popta, 1905
  • Oshimia D. S. Jordan, 1919
  • Pseudobetta Richter, 1981

ปลากัด เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta ในวงศ์ย่อย Macropodusinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae[1][2] ซึ่งคำว่า Betta เป็นภาษาละตินมาจากคำว่า "Bettah" มาจากเทพปกรณัมกรีก มีความหมายถึง "ชนชาติของผู้ที่เป็นนักรบ" [2]

ลักษณะรูปร่างและพฤติกรรม

[แก้]
Betta splendens (ปลากัด)

มีรูปร่างโดยทั่วไปลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก แต่ริมฝีปากหนาและมีขนาดใหญ่ ดวงตามีขนาดใหญ่ ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัสและเห็นได้ชัดเจนในปลาตัวผู้ เป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6 เซนติเมตร โดยที่เป็นปลาที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว แต่ในบางชนิดกลับมีเส้นข้างลำตัวแต่ไม่สมบูรณ์[2] เป็นปลาที่มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียอย่างมาก โดยที่ปลาตัวผู้จะมีสีสันที่สดสวยกว่า และมีลำตัวใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและมีสีสันไม่สวยเท่า ที่สำคัญที่ใต้ท้องจะมีจุดสีขาวเด่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ไข่นำ" เป็นอวัยวะที่ปล่อยไข่ออกมาจากช่องท้องเวลาผสมพันธุ์

เป็นปลาที่มีพฤติกรรมดุร้ายก้าวร้าว ในบางชนิดอาจจะมีการกัดกันถึงตายได้ เมื่อพบกัน พฤติกรรมเวลาผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเกี้ยวพาปลาตัวเมีย และจะใช้ลำตัวพันรัดปลาตัวเมียให้ปล่อยไข่ออกมา พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อออกมาเพื่อปฏิสนธิ โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ โดยจะสร้างน้ำลายผสมกับอากาศเป็นฟองก่อเป็นกอบริเวณผิวน้ำ เรียกว่า "หวอด" เพื่อนำไข่ไปเกาะไว้กับหวอด เพื่อรอฟักเป็นตัว[3]

แต่ก็มีปลาในอีกหลายชนิดในสกุลนี้ ที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากปลาที่ก่อหวอดนี้ โดยปลากัดจำพวกนี้ มักมีสีสันไม่สดสวยเท่า และมีพฤติกรรมไม่ดุร้ายก้าวร้าว ซ้ำยังชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีส่วนหัวที่โต แต่มีครีบต่าง ๆ เล็ก เมื่อผสมพันธุ์และวางไข่จะไม่สร้างหวอด แต่จะใช้วิธีการฟักไข่ในปาก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลากัดอมไข่"[4]

พบแพรกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแหล่งน้ำจืดหลากหลายประเภท ไปจนถึง แหล่งน้ำที่เป็นลำธารจากน้ำตกบนภูเขาที่กระแสน้ำไหลเชี่ยว ไปจนถึงพรุที่มีสภาพความเป็นกรดของน้ำ (pH) ค่อนข้างสูงอีกด้วย

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงไว้เป็นปลาสวยงามในหลายชนิด ทั้งประเภทก่อหวอดและอมไข่ ในบางชนิดเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของปลานักสู้ที่กัดกันจนตัวตาย จนเป็นการละเล่นการพนันในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้ออกมาสวยงามมากมาย คือ ชนิด B. spendens

การจำแนก

[แก้]

ปลากัดที่พบในประเทศไทย

[แก้]
กลุ่ม/สกุล ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ การค้นพบ
B. picta ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
B. pugnax ปลากัดอมไข่ปีนัง Betta pugnax Cantor, 1849
ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี Betta prima Kottelat, 1994
ปลากัดอมไข่ภาคใต้ 1 Betta pallida I. Schindler & J. Schmidt, 2004
ปลากัดอมไข่ภาคใต้ 2 Betta apollon I. Schindler & J. Schmidt, 2006
ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2006
B. splendens ปลากัดภาคกลาง Betta splendens Regan, 1910
ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
B. waseri ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998

ปลากัดที่พบทั่วโลก

[แก้]
คู่ Betta smaragdina
Betta tussyae เพศผู้

ปัจจุบันมีการค้นพบปลาในสกุลนี้แล้ว 75 ชนิด ซึ่งเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของวงศ์นี้[5] โดยมีการแบ่งชนิดไปเป็นกลุ่มชนิด (species complex) ได้ดังนี้:[1][6][7][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2019). Species of Betta in FishBase. March 2019 version.
  2. 2.0 2.1 2.2 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 190. ISBN 974-00-8738-8
  3. ความหมายของคำว่า หวอด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. ปลากัดอมไข่
  5. หน้า 28, Betta smaragdina Ladiges 1972. "Mini Atlas" โดย สุริศา ซอมาดี. Aquarium Biz ฉบับที่ 47 ปีที่ 4: พฤษภาคม 2014
  6. "Species Complex Management". International Betta Congress Species Maintenance Program. สืบค้นเมื่อ 2006-07-01.
  7. "Betta". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2006.
  8. Tan, H.H.; Ng, P.K.L. (2005). "The fighting fishes (Teleostei: Osphronemidae: genus Betta) of Singapore, Malaysia and Brunei". Raffles Bulletin of Zoology. 13: 43–99.
  9. Tan Heok Hui (2009). "Betta pardalotos, a new species of fighting fish (Teleostei: Osphronemidae) from Sumatra, Indonesia". The Raffles Bulletin of Zoology. 57 (2): 501–504.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]