ข้ามไปเนื้อหา

ปลากริม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากริม
ปลากริมมุก (T. pumila)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anabantiformes
วงศ์: Osphronemidae
วงศ์ย่อย: Macropodusinae
สกุล: Trichopsis
Canestrini, 1860
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Ctenops McClelland, 1845

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodusinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae

มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า[1] ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน [2]

พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม[3] เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก

ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

  • ปลากริมทับทิม (Trichopsis pumila) เป็นปลากริมที่มีสีสันสดใสที่สุด และมีขนาดเล็กที่สุด

ซึ่งปลากริม มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "หมัด" และมีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลากัดป่า" เป็นต้น[5] [1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ความหมายของคำว่า กริม ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2547. 257 หน้า. หน้า 213. ISBN 974-00-8738-8
  3. ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์, ปลากริม ในประเทศไทย คอลัมน์ Mini Fishes หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 19 ปีที่ 2: มกราคม 2012
  4. วันนี้ที่ดีขึ้น...ของ กุดทิง และบึงโขงหลง
  5. กระแสปลากริมกำลังมาแรงมีบทความมาให้อ่าน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trichopsis ที่วิกิสปีชีส์