ธฤต จรุงวัฒน์
ธฤต จรุงวัฒน์ | |
---|---|
เลขาธิการมูลนิธิไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง ธันวาคม 2562 | |
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง มกราคม 2563 | |
คณะกรรมการร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง กันยายน 2560 | |
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงการต่างประเทศ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พฤศจิกายน 2561 | |
คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พฤศจิกายน 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | วิธู จรุงวัฒน์ |
บุตร | บุตรี 1 คน |
ธฤต จรุงวัฒน์ (Tharit Charungvat) เลขาธิการมูลนิธิไทย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562) เป็นนักการทูตกว่า 30 ปี ตำแหน่งสำคัญในกระทรวงการต่างประเทศ เช่น อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสาธารณรัฐตุรกี ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่งกรรมการในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงการต่างประเทศ กรรมการยกร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power
ประวัติ
[แก้]ธฤต จรุงวัฒน์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ระดับปริญญาตรี แผนกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 27) ระดับปริญญาโท ด้านการระหว่างประเทศ (เอเชียศึกษาและการพัฒนาระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) พ.ศ. 2547
ประวัติการทำงาน
[แก้]ธฤต จรุงวัฒน์ เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ 2523 ที่กองคมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย ต่อมา ย้ายไปสังกัดกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวง ออกประจำการครั้งแรกในตำแหน่งเลขานุการเอกที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - 2537 และกลับมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กรมสารนิเทศ และผู้อำนวยการ กองเอเชียตะวันออก 3 กรมเอเชียตะวันออก ก่อนจะออกประจำการอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ในปี พ.ศ. 2542 และดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2546
ในปี พ.ศ. 2547 กลับมารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ในช่วงดังกล่าว ได้วางรากฐานระบบบริหารจัดการข้อมูลและสร้างระบบการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระทรวง ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาในปี พ.ศ. 2549 และอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2550 [1]
ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นกรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย [2] เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลียในปี พ.ศ. 2554 [3] เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ในปี พ.ศ. 2556 [4] และเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2559 โดยตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศข้างต้นในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทยในทุกมิติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนภายใต้นโยบายการทูตสาธารณะ (public diplomacy) ของไทย [5][6][7]
ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังคงได้รับมอบหมายภารกิจจากกระทรวงการต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่ปรึกษากระทรวงด้านการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมิติต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านการปฏิรูปกระทรวง และหัวหน้าคณะทำงานจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนปี พ.ศ. 2562 [8]
ปัจจุบัน ธฤตดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิไทย (2562) [9] [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- บราซิล : พ.ศ. 2556 - Order of Rio Branco, Class Grand Cross (Ordem de Rio Branco Gra Cruz)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศักดิ์ศรีท่านทูต (2)". www.thairath.co.th. 2013-10-17.
- ↑ "รายชื่อเอกอัคราราชทูต". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย.
- ↑ "สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย". web.archive.org. 2012-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "สาธารณรัฐตุรกี". กระทรวงการต่างประเทศ.
- ↑ "Ambassador of Thailand gives donation to support the work of the Nelson Mandela Centre of Memory – Nelson Mandela Foundation". www.nelsonmandela.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Thailand wants partnership with Petrobras in gas | Royal Thai Embassy". www.thaiembassy.sg.
- ↑ "ทูตไทยในตุรกีลั่นอนาคตไทยเพิ่มการค้าไปอาเซอร์ไบจาน". www.sanook.com/news.
- ↑ "สัมภาษณ์ คุยกับ ธฤต จรุงวัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูต หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอาเซียน 2019 | THE MOMENTUM" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-30.
- ↑ "สัมภาษณ์พิเศษ : ธฤต จรุงวัฒน์ เลขาธิการมูลนิธิไทย". มติชนออนไลน์. 2020-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Raksaseri, Kornchanok. "Exercising Thailand's 'soft power'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๙๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญตั้งแต่มิถุนายน 2564
- เอกอัครราชทูตไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา