ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ

Heydər Əliyev adına Beynəlxalq Hava Limanı
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลอาร์เซอร์ไบจาน
ผู้ดำเนินงานอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
พื้นที่บริการบากู
ที่ตั้งบากู อาร์เซอร์ไบจาน
เปิดใช้งานค.ศ. 1933[1]
ฐานการบิน
เหนือระดับน้ำทะเล10 ฟุต / 3 เมตร
พิกัด40°28′03″N 050°02′48″E / 40.46750°N 50.04667°E / 40.46750; 50.04667
เว็บไซต์airport.az
แผนที่
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในบากู
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในบากู
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
16/34 13,107 3,995[2] แอสฟอลต์คอนกรีต
17/35 10,499 3,200 แอสฟอลต์คอนกรีต
สถิติ (2019)
ผู้โดยสาร4,730,000
การเคลื่อนที่อากาศยานเพิ่มขึ้น7.0%
อ้างอิง: [1] www.airportbaku.com, ไอพีไออาเซอร์ไบจานที่ยูโรคอนโทรล[3] รายงานการจราจรทางอากาศโลก ค.ศ. 2014 ของเอซีไอ

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ (อาเซอร์ไบจาน: Heydər Əliyev adına Beynəlxalq Hava Limanı) (IATA: GYDICAO: UBBB) เป็นหนึ่งในเจ็ดท่าอากาศยานนานาชาติพาณิชย์ในประเทศอาเซอร์ไบจาน ตั้งอยู่ในบากู เมืองหลวงของประเทศ โดยดำเนินการเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ ท่าอากาศยานเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในปี 1933 ด้วยชื่อเดิม ท่าอากาศยานนานาติบิลา[1] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2004 ตั้งชื่อตามอดีตประธานาธิบดีเฮย์แดร์ แอลีเยฟ ท่าอากาศยานเป็นฐานการบินหลักของเอซาล สายการบินประจำชาติ รวมถึงเอซาลเอวิเอคาร์โก และซิลค์เวย์เวสต์แอร์ไลน์ โดยได้เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดและท่าอากาศยานที่มีสายการบินให้บริการมากที่สุดในประเทศ

รายละเอียดท่าอากาศยาน

[แก้]
ภาพมุมสูงของท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟมีอาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง และอาคารคลังสินค้า 2 แห่ง

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1

[แก้]

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เปิดให้บริการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 65,000 ตารางเมตร (700,000 ตารางฟุต) อาคารผู้โดยสารแห่งนี้ได้รับการออกแบบสำหรับรองรับผู้โดยสาร 6 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันให้บริการผู้โดยสารได้มากถึง 3 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสาร 1 มีหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรับเครื่องบินได้ 12 ลำพร้อมกัน โดยมีสองหลุมที่สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแอร์บัส เอ380 ได้

ในปี 2010 Arup Group ได้รับมอบหมายในการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังนี้ โดยได้ออกแบบให้มีรูปทรงสามเหลี่ยมและหลังคากึ่งโปร่งใส การตกแต่งภายใน ซึ่งออกแบบโดยบริษัท AUTOBAN สัญชาติตุรกีนั้น มีลักษณะเป็นชุด "รังไหม" ที่ทำจากแผ่นไม้อัดโอ๊ก ภายในอาคารมีการใช้ระบบขนสัมภาระ Vanderlande และอุปกรณ์ L-3 เครื่องสแกนสำหรับการตรวจสอบสัมภาระ และได้มีการติดตั้งบันไดเลื่อนชินด์เลอร์ 30 ตัว และลิฟต์ 21 ตัวในอาคารผู้โดยสาร[ต้องการอ้างอิง] อาคารผู้โดยสาร 1 ติดตั้งระบบการจัดการอาคาร (BMS) ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้กระบวนการและการดำเนินการที่สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คล้ายอาคารอัจฉริยะ นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสาร 1 ยังติดตั้งระบบสนับสนุนไฟฟ้า แสงสว่าง การระบายอากาศ การทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ ประปา และท่อน้ำทิ้งเพิ่มเติมอีกด้วย

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2

[แก้]

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก Viktor Denisov ปัจจุบันอาคารนี้ให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินราคาประหยัด โครงการนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันในปี 1981 และเปิดให้บริการในปี 1989

อาคารคลังสินค้า

[แก้]

อาคารขนส่งสินค้าเปิดทำการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2004 โดยเป็นจุดดำเนินงานของสายการบินขนส่งสินค้าหลายสาย เช่น ซิลค์เวย์เวสต์แอร์ไลน์, อิแมร์แอร์คอมปะนี, ยูโรเอเชียนแอร์เซอร์วิส, ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โก และปานัลปีนา อาคารคลังสินค้าสามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 747 ได้เก้าลำ, อานโตนอฟ อาน-124 หรืออิลยูชิน อิล-76 จำนวน 15 ลำพร้อมกันได้

ทางวิ่ง

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟมีทางวิ่งสองเส้นวางตัวในทิศทางใกล้เคียงกัน ทางวิ่งที่ 16/34 มีขนาด 3,995 x 60 ม. (13,106 ฟุต 11 นิ้ว x 196 ฟุต 10 นิ้ว) ในขณะที่ทางวิ่งที่ 17/35 มีขนาด 3,200 x 50 ม. (10,498 ฟุต 8 นิ้ว x 164 ฟุต 1 นิ้ว)

โรงแรม

[แก้]

ท่าอากาศยานมีโรงแรมฟลานอินน์ (อังกฤษ: FlyInn) ซึ่งเป็นโรงแรมขนาด 205 ห้องพักตั้งอยู่ในพื้นที่ของท่าอากาศยาน

การบริการผู้โดยสาร

[แก้]

ในพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 จะมีพื้นที่จอดรถทั้งหมดประมาณ 20,000 ตารางเมตร (220,000 ตารางฟุต) สำหรับรถยนต์ 600 คัน และมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านค้าปลอดภาษีมากมายทั้งในบริเวณขาออกและขาเข้าของอาคาร และมีห้องรับรอง 5 ห้องและสปา 1 แห่ง

อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมีห้องดูแลเด็ก โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม และพื้นที่เด็กเล่นสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมากับเด็กให้ได้ใช้บริการ

ท่าอากาศยานให้ความช่วยเหลือสำหรับบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษเช่นผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยได้จัดทำพื้นที่จอดรถพิเศษ โต๊ะประชาสัมพันธ์และเคาน์เตอร์เช็กอินพิเศษแยกจากพื้นที่ของผู้โดยสารทั่วไป และมีบริการศูนย์การแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรถพยาบาลสำหรับรับบนเครื่องบินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และจะมีเจ้าหน้าที่สนามบินพาผู้โดยสารที่ลงทะเบียนไปที่ห้องรับรองแล้วไปที่ประตูขึ้นเครื่อง

สถิติ

[แก้]
ปี ผู้โดยสาร (คน)
2016[4] 3,260,000
2017[5] 4,060,000
2018[6] 4,430,000
2019[7] 4,730,000
2020[8] 1,030,700
2021[9] 3,000,000
2022[10] 4,400,000

การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน

[แก้]

รถยนต์

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ เชื่อมต่อกับทางหลวงโบยุก ชอร์ในเมืองบากู เริ่มต้นที่สถานีรถไฟใต้ดินโคโรกลู โดยมีสี่แยกถนนเฮย์แดร์ แอลีเยฟกับทางหลวงดาร์นากุล ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกไปยังท่าอากาศยานและมาร์ดากัน ในท่าอากาศยานมีที่จอดรถในอาคารผู้โดยสารแต่ละแห่ง สามารถรองรับรถได้รวม 1,600 คัน

รถประจำทางและรถแท็กซี่

[แก้]

ท่าอากาศยานมีรถบัส BakuBus H1 วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงจากสถานีรถไฟใต้ดิน 28 พฤษภาคมไปยังท่าอากาศยานบากู โดยมีช่วงเวลาการเดินรถทุกๆ 30 นาทีในช่วงบ่ายและทุกๆ ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน และยังสามารถโดยสารรถแท็กซี่ส่วนตัวในเวลาประมาณ 20 นาทีได้เช่นกัน

รถไฟ

[แก้]

ท่าอากาศยานบากูเชื่อมต่อกับตัวเมืองทางรถไฟ โดยมีทางรถไฟสายชานเมืองบากูที่ให้บริการโดยการรถไฟอาเซอร์ไบจาน และสามารถเดินทางด้วยระบบรถไฟใต้ดินบากูเข้าสู่ท่าอากาศยานได้ โดยในฝั่งตะวันตกสามารถเชื่อมต่อรถไฟจากสถานี 28 พฤษภาคม      และสถานีจาฟาร์ จับบาร์ลี      ในฝั่งตะวันออกสามารถเชื่อมต่อรถไฟจากสถานีโคโรกลู      และสถานีบากิคานอฟ     รวมถึงรถไฟเอ็ม-11  

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 История авиации Азербайджана. Баку. 2012 с. 13 ISBN 978-9952-27-343-4
  2. maps.google.com
  3. "EAD Basic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-29.
  4. "Passenger traffic of Heydar Aliyev International Airport reached a record high in 2016". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  5. "Heydar Aliyev International Airport hits new record - 4 million passengers a year". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  6. "Heydar Aliyev International Airport set a new record for passenger traffic". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  7. "Azerbaijan's airports set new record in 2019". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  8. "Azerbaijan's airports set new record in 2020". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  9. "Azerbaijan's airports set new record in 2021". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  10. "Azerbaijan's airports set new record in 2022". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2024. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.