ที่ตั้งของโลกในเอกภพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่ตั้งของโลกในเอกภพ (อังกฤษ: Earth's location in the Universe) นับตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มสร้างและสมมุติตำแหน่งที่ตั้งของโลกขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้วจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกล ซึ่งเริ่มมีความแพร่หลายมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตนานมาแล้วนั้นมนุษย์เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หมุนรอบโลก[1] ต่อมามีการยอมรับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในศตวรรษที่ 17 และจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์นามว่าวิลเลียม เฮอร์เชลได้อธิบายต่ออีกว่าดวงอาทิตย์และระบบสุริยะอยู่ในดาราจักรที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ขนาดใหญ่[2] ในศตวรรษที่ 20 มีข้อสังเกตจากการสำรวจดาราจักรชนิดก้นหอย ซึ่งเผยให้เห็นว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นหนึ่งในพันล้านดาราจักรในจักรวาลที่กำลังขยายตัว[3][4] จึงมีการจัดกลุ่มกระจุกดาราจักรขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 จากนั้นก็มีการกำหนดเอกภพที่สังเกตได้ซึ่งเกิดจากกลุ่มกระจุกดาราจักรและช่องว่างขนาดใหญ่ (Cosmic voids) รวมกันเป็นใยเอกภพ (Galaxy filament) [5] กลุ่มกระจุกดาราจักร, ช่องว่างและใยเอกภพนั้นเป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่สามารถพบและสังเกตได้ในเอกภพ[6] โครงสร้างเหล่ามีขนาดใหญ่มาก อาจมีขนาดมากกว่า 1000 เมกะพาร์เซก[a] เอกภพนั้นจะรวมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งหมายความว่าทุกส่วนของเอกภพนั้นมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นขององค์ประกอบและโครงสร้างเดียวกัน[7]

ปัจจุบันนี้มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดหรือขอบของเอกภพนั้นอยู่ที่ใด เนื่องจากโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเอกภพจึงไม่สามารถหาขอบของเอกภพได้จากโลก[8] เอกภพที่สังเกตได้เป็นเขตที่กำหนดขึ้นและเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเอกภพเท่านั้น เอกภพที่สังเกตได้สามารถมองเห็นได้จากโลกเพราะเป็นอาณาเขตที่เป็นผลมาจากการสังเกตการณ์บนพื้นโลก ทำให้เอกภพที่สังเกตได้มีโลกเป็นศูนย์กลาง[9]

การอ้างอิงตำแหน่งของโลกนี้เป็นเพียงการสมุติขึ้นเนื่องจากยังไม่ทราบขนาด, จุดสิ้นสุดและรูปร่างของเอกภพอย่างแน่ชัด นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานมากมายที่บอกว่าเอกภพนี้เป็นเพียง 1 ในหลาย ๆ พหุภพ ซึ่งสมมุติฐานนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนและเชื้อถือได้[10][11]

แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถานที่ต่าง ๆ ของเอกภพ
A diagram of our location in the observable universe.
ชื่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง หมายเหตุ อ้างอิง
โลก 12,756.2 ก.ม.
(แถบเส้นศูนย์สูตร)
วัดตามแถบเส้นศูนย์สูตรไม่นับรวมกับชั้นบรรยากาศ [12][13][14][15]
วงโคจรดวงจันทร์ 768,210 ก.ม.[b] เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ย [16]
สนามแม่เหล็กของโลก 6,363,000 -12,663,000 ก.ม. พื้นที่สนามแม่เหล็กโลกที่สามารถป้องกันลมสุริยะ [17]
วงโคจรโลก 299.2 ล้านก.ม.[b]
หน่วยดาราศาสตร์[c]
เส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ [18]
แถบดาวเคราะห์ชั้นใน ~6.54 หน่วยดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์ถึงแถบดาวเคราะห์น้อย [19][20][21]
แถบดาวเคราะห์ชั้นนอก 60.14 หน่วยดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์ถึงดาวเนปจูน [22]
แถบไคเปอร์ ~96 หน่วยดาราศาสตร์ แถบวัตถุน้ำแข็งที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ระยะทางที่เป็นจุดสิ้นสุดคือจุดที่มีการสะท้อนเสียง 2: 1 กับดาวเนปจูน [23]
เฮลิโอสเฟียร์ 160 หน่วยดาราศาสตร์ ขอบเขตสิ้นสุดของลมสุริยะและสสารระหว่างดาวเคราะห์ [24][25]
แถบหินกระจาย 195.3 หน่วยดาราศาสตร์ บริเวณที่มีแสงน้อยกระจัดกระจายอยู่รอบ ๆ แถบไคเปอร์ ครอบคลุมดาวเอริส [26]
เมฆออร์ต 100,000–200,000 หน่วยดาราศาสตร์
0.613–1.23 พาร์เซก[a]
เป็นจุดวงโคจรของดาวหางและก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วยน้ำแข็งคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และหินซึ่งเป็นเศษเหลือจาการสร้างดาวเคราะห์ [27]
ระบบสุริยะ 1.23 พาร์เซก นับตามเส้นผ่านศูนย์กลางระบบสุริยะโดยจุดสิ้นสุดคือจุดที่อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์สิ้นสุดลง [28]
กลุ่มเมฆระหว่างดาวท้องถิ่น 9.2 พาร์เซก เมฆระหว่างดวงดาวเป็นก๊าซที่อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ [29]
ฟองท้องถิ่น 2.82–250 พาร์เซก ห้วงอวกาศที่ค่อนข้างโปร่งระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ ซึ่งน่าจะเกิดจากมหานวดารา [30][31]
แถบกูลด์ 1,000 พาร์เซก วงโคจรที่ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ กำลังโคจรอยู่ [32]
แขนนายพราน 3000 พาร์เซก
(ความยาว)
แขนเกลียวของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก [33]
วงโครงของระบบสุริยะ 17,200 พาร์เซก จุดที่ระบบสุริยะโคจรรอบศูนย์กลางทางช้างเผือก
ระยะเวลาโคจรอยู่ที่ระหว่าง 225 ถึง 250 ล้านปีแสง
[34][35]
ทางช้างเผือก 30,000 พาร์เซก ดาราจักรที่ดวงอาทิตย์อาศัยอยู่ [36][37]
กลุ่มย่อยทางช้างเผือก 840,500 พาร์เซก จุดที่ทางช้างเผือก และดาราจักรแคระคนยินธนู, ดาราจักรแคระหมีเล็ก เหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วง [38]
กลุ่มท้องถิ่น 3 เมกะพาร์เซก กลุ่มที่มีดาราจักร 47 ดาราจักรรวมอยู่ด้วยกันโดยมีดาราจักรใหญ่ ๆ คือดาราจักรแอนดรอเมดา, ดาราจักรสามเหลี่ยมและทางช้างเผือกที่เป็นดาราจักรแคระ [39]
Local Sheet 7 เมกะพาร์เซก กลุ่มของดาราจักรกลุ่มอื่น ๆ และกลุ่มท้องถิ่นที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสัมพัทธ์เดียวกันกับกลุ่มดาวหญิงสาว [40][41]
กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว 30 เมกะพาร์เซก กลุ่มใหญ่ซึ่งมีกลุ่มท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกลุ่มดาราจักรประมาณ 100 กลุ่มและกระจุกดาวรวมมาอยู่ในกลุ่มราศีกันย์ [42][43]
ลาเนียเคอา 160 เมกะพาร์เซก ประกอบด้วยกลุ่มกลุ่มท้องถิ่นและกลุ่มดาราจักรประมาณ 300 ถึง 500 กลุ่มโดยเน้นที่กลุ่มใหญ่ซึ่งก็คือกลุ่มไฮดรา - เซ็นทอรัส [44][45][46][47]
เอกภพที่สังเกตได้ 28,000 เมกะพาร์เซก ดาราจักรมากกว่า 100พันล้านดาราจักรจัดอยู่ในกระจุกดาวหลายล้านดาวที่รวมตัวเป็นเส้นใยดาราจักรที่มีช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างโครงสร้างและมีรูปร่างพื้นฐานคล้ายโฟม [48][49]
เอกภพ ขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 28,000 เมกะพาร์เซก อาณาเขตที่เลยออกไปจากเอกภพที่สังเกตได้อยู่ในบริเวณที่มองไม่เห็นเนื่องจากไม่มีแสงที่สามารถส่องมายังโลก [50]

หมายหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 A parsec (pc) is the distance at which a star's parallax as viewed from Earth is equal to one second of arc, equal to roughly 206,000 AU or 3.0857×1013 km. One megaparsec (Mpc) is equivalent to one million parsecs.
  2. 2.0 2.1 Semi-major and semi-minor axes.
  3. 1 AU or astronomical unit is the distance between the Earth and the Sun, or 150 million km. Earth's orbital diameter is twice its orbital radius, or 2 AU.

อ้างอิง[แก้]

  1. Kuhn, Thomas S. (1957). The Copernican Revolution. Harvard University Press. pp. 5–20. ISBN 0-674-17103-9.
  2. "1781: William Herschel Reveals the Shape of our Galaxy". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
  3. "The Spiral Nebulae and the Great Debate". Eberly College of Science. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
  4. "1929: Edwin Hubble Discovers the Universe is Expanding". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
  5. "1989: Margaret Geller and John Huchra Map the Universe". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
  6. John Carl Villanueva (2009). "Structure of the Universe". Universe Today. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
  7. Robert P Kirshner (2002). The Extravagant Universe: Exploding Stars, Dark Energy and the Accelerating Cosmos. Princeton University Press. p. 71. ISBN 0-691-05862-8.
  8. Klaus Mainzer; J Eisinger (2002). The Little Book of Time. Springer. ISBN 0-387-95288-8.. P. 55.
  9. Andrew R. Liddle; David Hilary Lyth (13 April 2000). Cosmological inflation and large-scale structure. Cambridge University Press. pp. 24–. ISBN 978-0-521-57598-0. สืบค้นเมื่อ 1 May 2011.
  10. Clara Moskowitz (2012). "5 Reasons We May Live in a Multiverse". space.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
  11. Kragh, H. (2009). "Contemporary History of Cosmology and the Controversy over the Multiverse". Annals of Science. 66 (4): 529–551. doi:10.1080/00033790903047725.
  12. "Selected Astronomical Constants, 2011". The Astronomical Almanac. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2013. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  13. World Geodetic System (WGS-84). Available online เก็บถาวร 2020-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from National Geospatial-Intelligence Agency Retrieved 27 April 2015.
  14. "Exosphere — overview". University Corporation for Atmospheric Research. 2011. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
  15. S. Sanz Fernández de Córdoba (2004-06-24). "The 100 km Boundary for Astronautics". Fédération Aéronautique Internationale. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-07.
  16. NASA Moon Factsheet and NASA Solar System Exploration Moon Factsheet เก็บถาวร 2015-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
  17. Koskinen, Hannu (2010), Physics of Space Storms: From the Surface of the Sun to the Earth, Environmental Sciences Series, Springer, ISBN 3-642-00310-9
  18. NASA Earth factsheet and NASA Solar System Exploration Earth Factsheet เก็บถาวร 2009-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
  19. Petit, J.-M.; Morbidelli, A.; Chambers, J. (2001). "The Primordial Excitation and Clearing of the Asteroid Belt" (PDF). Icarus. 153 (2): 338–347. Bibcode:2001Icar..153..338P. doi:10.1006/icar.2001.6702. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 March 2007.
  20. Roig, F.; Nesvorný, D. & Ferraz-Mello, S. (2002). "Asteroids in the 2 : 1 resonance with Jupiter: dynamics and size distribution". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 335 (2): 417–431. Bibcode:2002MNRAS.335..417R. doi:10.1046/j.1365-8711.2002.05635.x.
  21. M. Brož; D. Vokrouhlický; F. Roig; D. Nesvornýy; W. F. Bottke; A. Morbidelli (2005). "Yarkovsky origin of the unstable asteroids in the 2/1 mean motionresonance with Jupiter". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 359: 1437–1455. Bibcode:2005MNRAS.359.1437B. doi:10.1111/j.1365-2966.2005.08995.x.
  22. NASA Neptune factsheet and NASA Solar System Exploration Neptune Factsheet เก็บถาวร 2015-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
  23. M. C. De Sanctis; M. T. Capria; A. Coradini (2001). "Thermal Evolution and Differentiation of Edgeworth–Kuiper Belt Objects". The Astronomical Journal. 121 (5): 2792–2799. Bibcode:2001AJ....121.2792D. doi:10.1086/320385. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
  24. NASA/JPL (2009). "Cassini's Big Sky: The View from the Center of Our Solar System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 20 December 2009.
  25. Fahr, H. J.; Kausch, T.; Scherer, H.; Kausch; Scherer (2000). "A 5-fluid hydrodynamic approach to model the Solar System-interstellar medium interaction". Astronomy & Astrophysics. 357: 268. Bibcode:2000A&A...357..268F. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) See Figures 1 and 2.
  26. "JPL Small-Body Database Browser: 136199 Eris (2003 UB313)" (2008-10-04 last obs). สืบค้นเมื่อ 21 January 2009.
  27. Alessandro Morbidelli (2005). "Origin and dynamical evolution of comets and their reservoir". arXiv:astro-ph/0512256.
  28. Littmann, Mark (2004). Planets Beyond: Discovering the Outer Solar System. Courier Dover Publications. pp. 162–163. ISBN 978-0-486-43602-9.
  29. Mark Anderson, "Don't stop till you get to the Fluff", New Scientist no. 2585, 6 January 2007, pp. 26–30
  30. DM Seifr; Lallement; Crifo; Welsh (1999). "Mapping the Countours of the Local Bubble". Astronomy and Astrophysics. 346: 785–797. Bibcode:1999A&A...346..785S.
  31. Tony Phillips (2014). "Evidence for Supernovas Near Earth". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
  32. S. B. Popov; M. Colpi; M. E. Prokhorov; A. Treves; R. Turolla (2003). "Young isolated neutron stars from the Gould Belt". Astronomy and Astrophysics. 406 (1): 111–117. arXiv:astro-ph/0304141. Bibcode:2003A&A...406..111P. doi:10.1051/0004-6361:20030680. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  33. Harold Spencer Jones, T. H. Huxley, Proceedings of the Royal Institution of Great Britain, Royal Institution of Great Britain, v. 38–39
  34. Eisenhauer, F.; Schoedel, R.; Genzel, R.; Ott, T.; Tecza, M.; Abuter, R.; Eckart, A.; Alexander, T. (2003). "A Geometric Determination of the Distance to the Galactic Center". Astrophysical Journal. 597 (2): L121–L124. arXiv:astro-ph/0306220. Bibcode:2003ApJ...597L.121E. doi:10.1086/380188.
  35. Leong, Stacy (2002). "Period of the Sun's Orbit around the Galaxy (Cosmic Year)". The Physics Factbook.
  36. Christian, Eric; Samar, Safi-Harb. "How large is the Milky Way?". สืบค้นเมื่อ 28 November 2007.
  37. Frommert, H.; Kronberg, C. (25 August 2005). "The Milky Way Galaxy". SEDS. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
  38. Irwin, V.; Belokurov, V.; Evans, N. W.; และคณะ (2007). "Discovery of an Unusual Dwarf Galaxy in the Outskirts of the Milky Way". The Astrophysical Journal. 656 (1): L13–L16. arXiv:astro-ph/0701154. Bibcode:2007ApJ...656L..13I. doi:10.1086/512183.
  39. "The Local Group of Galaxies". University of Arizona. Students for the Exploration and Development of Space. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  40. Tully, R. Brent; Shaya, Edward J.; Karachentsev, Igor D.; Courtois, Hélène M.; Kocevski, Dale D.; Rizzi, Luca; Peel, Alan (March 2008). "Our Peculiar Motion Away from the Local Void". The Astrophysical Journal. 676 (1): 184–205. arXiv:0705.4139. Bibcode:2008ApJ...676..184T. doi:10.1086/527428.
  41. Tully, R. Brent (May 2008), "The Local Void is Really Empty", Dark Galaxies and Lost Baryons, Proceedings of the International Astronomical Union, IAU Symposium, vol. 244, pp. 146–151, arXiv:0708.0864, Bibcode:2008IAUS..244..146T, doi:10.1017/S1743921307013932
  42. R. Brent Tully (1982). "The Local Supercluster" (PDF). The Astrophysical Journal. 257: 389–422. Bibcode:1982ApJ...257..389T. doi:10.1086/159999. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
  43. "Galaxies, Clusters, and Superclusters". NOVA Online. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
  44. "Newly identified galactic supercluster is home to the Milky Way". National Radio Astronomy Observatory. ScienceDaily. 3 September 2014.
  45. Irene Klotz (3 September 2014). "New map shows Milky Way lives in Laniakea galaxy complex". Reuters. ScienceDaily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  46. Elizabeth Gibney (3 September 2014). "Earth's new address: 'Solar System, Milky Way, Laniakea'". Nature. doi:10.1038/nature.2014.15819.
  47. Camille M. Carlisle (3 September 2014). "Laniakea: Our Home Supercluster". Sky and Telescope.
  48. Mackie, Glen (1 February 2002). "To see the Universe in a Grain of Taranaki Sand". Swinburne University. สืบค้นเมื่อ 20 December 2006.
  49. Lineweaver, Charles; Tamara M. Davis (2005). "Misconceptions about the Big Bang". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 6 November 2008.
  50. Margalef-Bentabol, Berta; Margalef-Bentabol, Juan; Cepa, Jordi (February 2013). "Evolution of the cosmological horizons in a universe with countably infinitely many state equations". Journal of Cosmology and Astroparticle Physics. 015. 2013 (02): 015. arXiv:1302.2186. Bibcode:2013JCAP...02..015M. doi:10.1088/1475-7516/2013/02/015.