ถู่ซือ
ถู่ซือ | |||||||||
วังของลี่เจียงถู่ซือ | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 土司 | ||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | tǔsī | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | Thổ ty | ||||||||
จื๋อฮ้าน | 土司 | ||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||
อักษรแมนจู | ᠠᡳᠮᠠᠨ ᡳ ᡥᠠᡶᠠᠨ | ||||||||
เมิลเลินดอร์ฟ | aiman i hafan |
ถู่ซือ (จีน: 土司; พินอิน: tǔsī; เวด-ไจลส์: t'u3szu1; แมนจู: ᠠᡳᠮᠠᠨ ᡳ ᡥᠠᡶᠠᠨ;[1] เวียดนาม: Thổ ty) หรือที่มักแปลว่า "หัวหน้าชุมชน" หรือ "หัวหน้าเผ่า" เป็นตำแหน่งของผู้นำชนเผ่าสืบตระกูลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของทางการในราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน และจากราชวงศ์เหงียนและราชวงศ์เลของเวียดนาม โดยได้รับสิทธิ์ปกครองชนกลุ่มน้อยทางจีนตะวันตกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนในนามของรัฐบาลกลาง การจัดการเช่นนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ระบบถู่ซือ หรือ ระบบผู้นำพื้นเมือง (จีน: 土司制度; พินอิน: Tǔsī Zhìdù) ซึ่งไม่เหมือนกับระบบบรรณาการของจีนหรือระบบจี้หมี
ถู่ซือส่วนมากแล้วตั้งอยู่ในมณฑลยูนนานและในพื้นที่ของกุ้ยโจว ทิเบต เสฉวนและฉงชิ่ง ซ่างซีในหูหนานและเอินชือในหูเป่ย์ นอกจากนี้ยังพบถู่ซือในพื้นที่ที่เป็นเมืองขึ้นของจีนในทางตอนเหนือของพม่า[2] ลาว[3]และตอนเหนือของไทย[4] ในเวียดนามมีการใช้ระบบถู่ซือเช่นกัน โดยอยู่ภายใต้ราชวงศ์เหงียน (ค.ศ. 1802–1945)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Möllendorff: aiman i hafan
- ↑ 缅甸土司制度的兴衰(1287—1959年): cnki.com.cn เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Ming Shilu - 《明实录》 หรือ History of Ming 《明史·老挝传》
- ↑ 傣族的土司制度与傣族文化: mzb.com.cn เก็บถาวร 2017-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน or cnki.com.cn เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Journal of Guangxi Teachers Education University (Philosophy and Social Sciences Edition) Vol.37 No.1 (Jan. 2016) - 《越南阮朝土司制度探析》, see docin.com