ตำบลเกาะพระทอง

พิกัด: 9°08′59.7″N 98°17′45.5″E / 9.149917°N 98.295972°E / 9.149917; 98.295972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเกาะพระทอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Phra Thong
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ประเทศไทย
จังหวัดพังงา
อำเภอคุระบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด159.53 ตร.กม. (61.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด1,001 คน
 • ความหนาแน่น6.27 คน/ตร.กม. (16.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82150
รหัสภูมิศาสตร์820603
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง
อบต.เกาะพระทองตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา
อบต.เกาะพระทอง
อบต.เกาะพระทอง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง
พิกัด: 9°08′59.7″N 98°17′45.5″E / 9.149917°N 98.295972°E / 9.149917; 98.295972
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
อำเภอคุระบุรี
จัดตั้ง • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลเกาะพระทอง)
 • 2540 (อบต.เกาะพระทอง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด159.53 ตร.กม. (61.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด1,001 คน
 • ความหนาแน่น6.27 คน/ตร.กม. (16.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06820603
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 67 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82150
เว็บไซต์kohprathong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะพระทอง เป็นหนึ่งในสี่ตำบลของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติ 3 อุทยาน และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 เขต ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน[2][3] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์[4][5] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง (เตรียมการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ) และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง

นักท่องเที่ยวดำน้ำที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเกาะพระทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

โค้งอ่าวไม้งามในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

ประวัติ[แก้]

ตำบลเกาะพระทองตั้งอยู่ในอำเภอคุระบุรี มีเกาะพระทองเป็นเกาะหลักซึ่งมีพื้นที่ 96.608 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพังงา มีชุมชน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมาอย่างยาวนานล้านปี จนกระทั่งกลายเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศที่แปลกตาที่มีลักษณะค่อนข้างแบนราบเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเกาะแห่งนี้ ทิศตะวันออกเป็นแนวป่าโกงกาง ทิศตะวันตกเป็นหาดทราย ตั้งขึ้นเป็นตำบลเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2465[6] ขณะนั้นขึ้นการปกครองกับอำเภอเกาะคอเขา จังหวัดตะกั่วป่า ต่อมาได้ยุบจังหวัดตะกั่วป่าเข้ากับจังหวัดพังงา[7] ทำให้ท้องที่ตำบลเกาะพระทองย้ายขึ้นกับจังหวัดพังงา

ใน พ.ศ. 2481 จังหวัดพังงาได้สั่งยุบอำเภอเกาะคอเขาลงเป็นกิ่งอำเภอ[8] และย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไปอยู่บนแผ่นดินใหญ่ในเขตตำบลคุระ[9] และเปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอคุระบุรี"[10] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอคุระบุรีในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518[11] ท้องที่ตำบลเกาะพระทองจึงมีฐานะเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของอำเภอคุระบุรีจนถึงปัจจุบัน นอกจากเกาะพระทอง ในพื้นที่ตำบลยังเป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน จนชาวโลกยกย่องให้หมู่เกาะแห่งนี้มีความงดงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก

ประการังหมู่เกาะสุรินทร์

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเกาะพระทองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งดาบ (Ban Thung Dap)
หมู่ที่ 2 บ้านท่าแป๊ะโย้ย (Ban Tha Pae Yoi)
หมู่ที่ 3 บ้านเกาะระ (Ban Ko Ra)
หมู่ที่ 4 บ้านปากจก (Ban Pak Chok)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเกาะพระทองมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทองทั้งหมด เดิมเป็นสภาตำบลเกาะพระทองที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[12] และมีประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทองในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[13] โดยมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2540 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศไทย

หินเรือใบในหมู่เกาะสิมิลัน
โดนัลด์ ดั๊ก เบย์ (Donald Duck Bay) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะสิมิลัน (สิมิลัน เกาะ 8) และได้ตั้งชื่อจากกองหินทางด้านตะวันออกของอ่าวที่มีลักษณะเหมือนหัวเป็ดโดนัลด์ ดั๊ก (ทิวทัศน์ที่ดีที่สุดมองจากด้านนอกอ่าว บนฝั่งตะวันออก เข้ามาข้างใน)

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเกาะพระทองประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 1,001 คน แบ่งเป็นชาย 521 คน หญิง 480 คน (เดือนธันวาคม 2564)[14] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอคุระบุรี

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[15] พ.ศ. 2563 [16] พ.ศ. 2562[17] พ.ศ. 2561[18] พ.ศ. 2560[19] พ.ศ. 2559[20] พ.ศ. 2558[21]
ปากจก 423 417 403 394 386 375 391
ท่าแป๊ะโย้ย 300 308 311 307 319 312 311
ทุ่งดาบ 181 183 187 195 197 182 183
เกาะระ 97 101 100 106 108 106 92
รวม 1,001 1,009 1,001 1,002 1,010 975 977

อุทยานแห่งชาติ[แก้]

  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี) ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน เป็นหมู่เกาะแรกแห่งน่านน้ำทะเลอันดามันของไทยที่ไม่อยู่ติดกับชายทะเลฝั่งไทย อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า ทางเหนือติดกับหมู่เกาะคริสตีของประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ เกาะกลาง เกาะรีและ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือ กองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[4][5] เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ หรือ 128 [ตารางกิโลเมตร ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525[2][3] และคำว่า สิมิลัน เป็นภาษามลายูแปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเรย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ
เรือยอตบนอ่าวสิมิลัน

รายชื่อเกาะในเขตตำบล[แก้]

ตำบลเกาะพระทองมีเกาะหลักคือเกาะพระทอง ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 96.608 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 31 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง (เตรียมการ) ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 159.537 ตารางกิโลเมตร[22]

ที่ ชื่อเกาะ ตำบล พื้นที่

(ตร.กม.)[23]

หน่วยงานรับผิดชอบ[23]
1 ลูกตุ้ม เกาะพระทอง 0.007 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
2 ห้างสูง เกาะพระทอง 0.009 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง
3 พ่อตา เกาะพระทอง 0.032 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
4 ไชยา เกาะพระทอง 0.033 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง
5 กลาง เกาะพระทอง 0.034 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
6 ปาหยัน เกาะพระทอง 0.043 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
7 กลาง เกาะพระทอง 0.045 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
8 รังนก เกาะพระทอง 0.055 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
9 หอย เกาะพระทอง 0.058 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
10 กลอย เกาะพระทอง 0.066 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
11 อำพัน เกาะพระทอง 0.080 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
12 ห้า เกาะพระทอง 0.097 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
13 กลาง เกาะพระทอง 0.132 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
14 ถ้วย เกาะพระทอง 0.157 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
15 สต๊อร์ค เกาะพระทอง 0.163 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
16 บอน เกาะพระทอง 0.202 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
17 ปาจุมบา เกาะพระทอง 0.323 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
18 ชาด เกาะพระทอง 0.407 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
19 ปายู เกาะพระทอง 0.416 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
20 บางปิหลัง เกาะพระทอง 0.490 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง
21 ตอรินลา เกาะพระทอง 0.598 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
22 บางู เกาะพระทอง 0.672 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
23 ปายัง เกาะพระทอง 0.708 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
24 เมียง เกาะพระทอง 0.712 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
25 หูยง เกาะพระทอง 0.977 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
26 ตาชัย เกาะพระทอง 1.400 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
27 สิมิลัน เกาะพระทอง 3.789 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
28 สุรินทร์ใต้ เกาะพระทอง 8.761 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
29 ทุ่งทุ เกาะพระทอง 9.134 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
30 สุรินทร์เหนือ เกาะพระทอง 14.190 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
31 ระ เกาะพระทอง 19.139 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
32 พระทอง เกาะพระทอง 96.608 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (123 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-21. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา พ.ศ. ๒๕๔๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (65 ก): 21–23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (112 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
  5. 5.0 5.1 "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (31 ก): 36–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
  6. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 521. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2465
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1840–1842. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะคอเขา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (116 ง): 2935. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
  11. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (166 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  20. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  21. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  22. "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดพังงา". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)