ข้ามไปเนื้อหา

ตะพาบม่านลายอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตะพาบม่านลายอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: เต่า
Testudines
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
Cryptodira
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
Trionychidae
สกุล: Chitra
Chitra
(Gray, 1831)
สปีชีส์: Chitra indica
ชื่อทวินาม
Chitra indica
(Gray, 1831)
ชื่อพ้อง[2]
  • Trionyx indicus Gray, 1831
  • Gymnopus lineatus Duméril & Bibron, 1835
  • Chitra indica Gray, 1844
  • Gymnopus indicus Cantor, 1847
  • Testudo chitra Buchanan-Hamilton, 1831 (nomen nudum)
  • Trionyx lineatus Martens, 1876
  • Aspidonectes indicus Hay, 1904

ตะพาบม่านลายอินเดีย (อังกฤษ: Indian narrow-headed softshell turtle, Small-headed softshell turtle; ฮินดี: चित्रा इन्डिका; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitra indica) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ตะพาบ (Trionychidae)

ตะพาบม่านลายอินเดีย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตะพาบม่านลายไทย (C. chitra) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ที่พบในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกัน จนกระทั่งใน ค.ศ. 1986 นาวาอากาศเอก (พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างละเอียด และพบว่ามีความแตกต่างกันมากทั้งขนาดลำตัว, ลวดลาย และสีสัน โดยใช้การแยกแยะสัดส่วนของกะโหลก และสัดส่วนของกระดองหลัง โดยรวมแล้วตะพาบม่านลายอินเดียมีขนาดเล็กกว่าตะพาบม่านลายไทย และมีสีคล้ำอมเขียวกว่า [3]

ตะพาบม่านลายอินเดีย กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักหลายประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล อาทิ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำสินธุ, แม่น้ำมหานที เป็นต้น เป็นตะพาบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง มีราคาซื้อขายที่สูง ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในที่เลี้ยง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  2. Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 312. ISSN 1864-5755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  3. 3.0 3.1 "ธรรมชาติวิทยาและการเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลาย Chitra chitra Nutphand". จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
  • Asian Turtle Trade Working Group (2000). "Chitra indica". IUCN Red List of Threatened Species. 2000: e.T4696A97399400. doi:10.2305/IUCN.UK.2000.RLTS.T4696A11088615.en.{{cite iucn}}: error: |doi= / |page= mismatch (help) Database entry includes a brief justification of why this species is endangered and the criteria used
  • Boulenger, G.A. 1889 Catalogue of the Chelonians, Rhynchocephalians, and Crocodiles in the British Museum (Natural History). British Museum, London, 311 pp.
  • Engstrom, Tag N., H. Bradley Shaffer, and William P. McCord. 2002 Phylogenetic Diversity of Endangered and Critically Endangered Southeast Asian Softshell Turtles (TrionychidaChitra). Biological Conservation 104 (2):173-179
  • Gray, J. E. 1831 A synopsis of the species of Class Reptilia. In: Griffith, E & E. Pidgeon: The animal kingdom arranged in conformity with its organisation by the Baron Cuvier with additional descriptions of all the species hither named, and of many before noticed [Vol. 9]. Whittaker, Treacher and Co., London: 481 + 110 pp.
  • Gray, J. E. 1831 Synopsis Reptilium or short descriptions of the species of reptiles. Part I: Cataphracta, tortoises, crocodiles, and enaliosaurians. Treuttel, Wurz & Co., London, 85 pp.
  • Gray, J.E. 1844 Catalogue of Tortoises, Crocodilians, and Amphisbaenians in the Collection of the British Museum. British Museum (Natural History), London. viii + 80 p.
  • Gray, J. E. 1864 Revision of the species of Trionychidae found in Asia and Africa, with descriptions of some new species. Proc. Zool. Soc. London 1864: 76-98
  • Webb, R.G. 1980 Gray, Hardwicke, Buchanan-Hamilton, and drawings of Indian softshell turtles (Family Trionychidae). Amphibia-Reptilia 1: 61–74.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]