ดอยคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
ชื่อโรมัน
Doi Kham Food Products Co.,Ltd.
ก่อตั้ง8 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 117/1 ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
เว็บไซต์www.doikham.co.th

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Business เพื่อสร้างตลาดรองรับผลิตผลทางการเกษตรและส่งเสริมเกษตรกรจากโครงการในพระราชดำริ

ประวัติ[แก้]

จากการเสด็จประพาสภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2512 พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากลำบากของราษฎร และปัญหาการปลูกฝิ่น อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น โดยโครงการส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขา ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดตั้งนิติบุคคลชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (Doi Kham Food Products Co.,Ltd.)[1] เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยรองรับผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ทั้ง 3 แห่ง เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพภายใต้ชื่อตราผลิตภัณฑ์ ดอยคำ

การดำเนินธุรกิจ[แก้]

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด มีวัตถุประสงค์หลักตามกระแสพระราชดำริ การดำเนินกิจการจึงเน้นการตลาดเฉพาะผลิตภัณฑ์และผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าที่อยู่อาศัยบนที่สูงเป็นอันดับแรก ปกติพื้นที่สูงมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการปลูกพืชเมืองหนาวโดยเฉพาะพืชประเภทผัก ผลไม้และดอกไม้เมืองหนาว

ผลิตภัณฑ์ของดอยคำ ได้แก่ น้ำผักและน้ำผลไม้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ และสินค้าแปรรูปต่าง ๆ จากโครงการหลวงมากมาย ทั้งผลไม้อบแห้ง, น้ำผึ้ง, นมถั่วเหลือง, สมุนไพรแห้ง, ผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง, น้ำผลไม้เข้มข้น ข้าวกล้อง และผลไม้ในน้ำเชื่อม[2] ผลิตภัณฑ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดคือ เครื่องดื่มน้ำมะเขือเทศ[3]

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป[แก้]

  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ตั้งอยู่ที่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2515
  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าห้า ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2517
  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) ตั้งอยู่ที่บ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524

สาขา[แก้]

ปัจจุบันร้านดอยคำมีสาขาทั้งหมดดังนี้

  • สาขาราชเทวี (สำนักงานใหญ่)
  • สาขาฝาง จ.เชียงใหม่
  • สาขาแม่จัน จ.เชียงราย
  • สาขาเต่างอย จ.สกลนคร
  • สาขามอเตอร์เวย์ขาเข้า
  • สาขามอเตอร์เวย์ขาออก
  • สาขาโรงพยาบาลศิริราช
  • สาขาโลตัส ศรีนครินทร์
  • สาขาโลตัส พระราม 2
  • สาขาพาราไดซ์ พาร์ค
  • สาขาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • สาขาโลตัส ลำลูกกา คลอง 2
  • สาขาโลตัส บางนา
  • สาขาเอสซีบี ปาร์ค พลาซา
  • สาขาสัมมากรเพลส รามคำแหง
  • สาขาทองหล่อ (อาคารฟิฟตี้ฟิฟธ์)
  • สาขาโลตัส หางดง จ.เชียงใหม่
  • สาขาโลตัส จรัญสนิทวงศ์
  • สาขาโลตัส รังสิต
  • สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (อาคาร สธ.)
  • สาขาโรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สาขาโลตัส ลาดพร้าว
  • สาขาเทเวศร์ (ถนนกรุงเกษม)
  • สาขาโลตัส รังสิต-นครนายก คลอง 4
  • สาขาโลตัส หลักสี่
  • สาขาอาคารสินธร ถนนวิทยุ
  • สาขาโรบินสัน บางรัก
  • สาขาโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • สาขาคริสตัล พีทีที ชัยพฤกษ์
  • สาขาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • สาขาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  • สาขาพระบรมมหาราชวัง (ถนนหน้าพระลาน)
  • สาขา ปตท. หาดจอมเทียน
  • สาขาพระนครศรีอยุธยา (แฟรนไชส์)
  • สาขาระยอง (แฟรนไชส์)
  • สาขานครราชสีมา (แฟรนไชส์)
  • สาขาโนนสูง (แฟรนไชส์)
  • สาขาสีคิ้ว (แฟรนไชส์)
  • สาขาอุดรธานี (แฟรนไชส์)
  • สาขาพิษณุโลก (แฟรนไชส์)
  • สาขาสกลนคร (แฟรนไชส์)
  • สาขานครศรีธรรมราช (แฟรนไชส์)
  • สาขาสุราษฏร์ธานี (แฟรนไชส์)
  • สาขาหาดใหญ่ (แฟรนไชส์)
  • สาขาสงขลา (แฟรนไชส์)
  • สาขาตรัง (แฟรนไชส์)

อ้างอิง[แก้]

  1. ""ดอยคำ" ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากโครงการหลวง เพื่อคนไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 11 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "โครงการหลวงดอยคำ เกษตรเพื่อชุมชนที่พ่อสร้างเพื่อคนไทย". ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. 25 มิถุนายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
  3. "ภาษีความหวานฉุด "ดอยคำ" ปรับแผนฟื้นยอด-กำลังซื้อ". ประชาชาติธุรกิจ. 25 มิถุนายน 2561.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]