ซานฝ่านอู๋ฝ่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซานฝ่านอู๋ฝ่าน
อักษรจีนตัวย่อ三反五反
อักษรจีนตัวเต็ม三反五反
ความหมายตามตัวอักษรต้านสามต้านห้า

ซานฝ่านอู๋ฝ่าน (จีน: 三反五反; "ต้านสามต้านห้า") เป็นขบวนการปฏิรูปที่เหมา เจ๋อตง ริเริ่มในไม่กี่ปีหลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมุ่งขจัดการทุจริตและเสี้ยนหนามแผ่นดินให้สิ้นไปจากนครต่าง ๆ ของจีน มีเป้าหมายเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนายทุน โดยเฉพาะนายทุนที่ร่ำรวย นำมาสู่การรณรงค์อย่างต่อเนื่องซึ่งหลอมรวมฐานอำนาจของเหมา เจ๋อตง ให้เป็นหนึ่งเดียว[1] การรณรงค์นี้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในนครใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง มีผลให้นักธุรกิจหลายคนจำต้องฆ่าตัวตาย[2][3][4][5] ในเซี่ยงไฮ้แห่งเดียวมีผู้คนอย่างน้อย 876 คนจบชีวิตตนเองในช่วงวันที่ 25 มกราคม ถึง 1 เมษายน ค.ศ. 1952[3][4][5]

ซานฝ่าน[แก้]

การรณรงค์ที่เรียกว่า "ซานฝ่าน" ("ต้านสาม") เปิดฉากขึ้นในแมนจูเรียเมื่อปลาย ค.ศ. 1951 โดยมีเป้าหมายเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน อดีตสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง และข้าราชการประจำที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง[6]

สามสิ่งที่ต่อต้าน คือ

  • ต้านทุจริต (反贪污)
  • ต้านความสิ้นเปลือง (反浪费)
  • ต้านระบบราชการประจำ (反官僚主义)[7]

อู๋ฝ่าน[แก้]

การรณรงค์ที่เรียกว่า "อู๋ฝ่าน" ("ต้านห้า") เปิดฉากขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1952 โดยกำหนดเป้าหมายเป็นชนชั้นนายทุน พรรคคอมมิวนิสต์จีนวางแนวทางอย่างค่อนข้างคลุมเครือในเรื่องการดำเนินคดีกับบุคคลต่าง ๆ จนกลายเป็นการเปิดศึกอย่างเต็มรูปแบบกับชนชั้นกระฎุมพีในประเทศจีน[6] เติ้ง เสี่ยวผิง เตือนประชาชนว่า "อย่าถูกความคิดแบบทุนนิยมแปดเปื้อน"[7]

ห้าสิ่งที่ต่อต้าน คือ

  • ต้านสินบน (反行贿)
  • ต้านการลักทรัพย์สินบ้านเมือง (反盗骗国家财产)
  • ต้านการเลี่ยงหลีกภาษี (反偷税漏税)
  • ต้านการโกงแรงงานหรือใช้วัสดุคุณภาพต่ำ (反偷工减料)
  • ต้านการขโมยข้อมูลทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง (反盗窃国家经济情报)[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dillon, Michael. [1998] (1998). China: A Historical and Cultural Dictionary. Routledge publishing. ISBN 0-7007-0439-6
  2. Chen, Theodore Hsi-En; Chen, Wen-Hui C. (March 1953). "The 'Three-Anti' and 'Five-Anti' Movements in Communist China". Pacific Affairs. 26 (1): 3–23. doi:10.2307/2752900. JSTOR 2752900.
  3. 3.0 3.1 Zhang, Ming. "执政的道德困境与突围之道——"三反五反"运动解析" (PDF) (ภาษาจีน). Chinese University of Hong Kong.
  4. 4.0 4.1 Liu, Yongfeng (2013-07-26). "那一年,中国商贾千人跳楼 全家共赴黄泉(图)". Sohu (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-22.
  5. 5.0 5.1 Yang, Kuisong (2012-09-28). "三反五反:资产阶级命运的终结". Phoenix New Media (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2019-11-22.
  6. 6.0 6.1 6.2 Spence, Jonathan D. [1991] (1991). The Search for Modern China. WW Norton & Company publishing. ISBN 0-393-30780-8
  7. 7.0 7.1 Lawrence, Alan. [2003] (2003). China since 1919: Revolution and Reform: a Sourcebook. Routledge. ISBN 0-415-25142-7