ซอลต์เบ
ซอลต์เบ | |
---|---|
ซอลต์เบใน ค.ศ. 2018 | |
เกิด | นุสเรต เกิกเช ค.ศ. 1983 (อายุ 40–41 ปี) พาชาลือ จังหวัดแอร์ซูรุม ประเทศตุรกี |
อาชีพการทำอาหาร | |
สไตล์การทำอาหาร | ตุรกี |
ร้านอาหารในปัจจุบัน
| |
เว็บไซต์ | www |
นุสเรต เกิกเช (ตุรกี: Nusret Gökçe, ภาษาตุรกี: [nusˈɾet ɟœcˈtʃe]; เกิด 9 สิงหาคม ค.ศ. 1983) หรือที่รู้จักในนาม ซอลต์เบ (Salt Bae) เป็นคนขายเนื้อ พ่อครัว ผู้ให้ความบันเทิงด้านอาหาร และเจ้าของภัตตาคารชาวตุรกีที่มีเทคนิคในการเตรียมและปรุงรสเนื้อ กลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในเดือนมกราคม ค.ศ. 2017
เขาถือครองเครือร้านสเต็กสุดหรูชื่อ Nusr-Et ข้อมูลเมื่อ 2021[update] เขามีสาขาของร้านนี้ในประเทศตุรกี กรีซ สหรัฐ สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย โดยชื่อของเครือร้านมาจากชื่อของเขากับ "Et" ที่หมายถึง "เนื้อ" ในภาษาตุรกี
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]นุสเรต เกิกเชเกิดที่พาชาลือ[1] ซึ่งเป็นหมู่บ้านในอำเภอเชนกายา จังหวัดแอร์ซูรุม จากครอบครัวชาวเคิร์ด[2][3] Faik พ่อของเขา เป็นคนงานเหมือง เนื่องด้วยฐานะทางการเงินของครอบครัวทำให้เขาต้องออกจากโรงเรียนตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 11–12 ปี) เพื่อไปทำงานเป็นเด็กฝึกงานร้านขายเนื้อในอำเภอคาดือเคิย อิสตันบูล[4]
อาชีพ
[แก้]เกิกเชเดินทางไปยังหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินาและสหรัฐในช่วง ค.ศ. 2007 ถึง 2010 เพื่อทำงานในภัตตาคารท้องถิ่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในฐานะคนทำอาหารและเจ้าของภัตตาคาร[4] หลังกลับไปยังประเทศตุรกี เกิกเชจึงเปิดภัตตาคารแห่งแรกที่อิสตันบูลใน ค.ศ. 2010[5] ภายหลังเปิดภัตตาคารที่ดูไบใน ค.ศ. 2014[6]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2017 เขากลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นภายใต้ชื่อ Salt Bae ผ่านชุดวิดีโอไวรัลทางอินเทอร์เน็ตและมีมที่แสดงตัวเขาหั่นเนื้ออย่าง "ละมุนละไม" และโรยเกลือ[7]บนอาหารอย่าง "ออตโตมันสเต็ก" ที่โพสต์ลงในบัญชีภัตตาคารในทวิตเตอร์[8] โพสต์นี้มีผู้เข้าชม 10 ล้านครั้งในอินสตาแกรม หลังจากเขาได้รับฉายา "Salt Bae" เนื่องจากวิธีการโรยเกลือที่แปลกประหลาด คือ โปรยจากปลายนิ้วมือไปที่ปลายแขน แล้วลงบนจาน[7] เนื่องจากมีการเปิดเผยกระแสที่ได้รับจากโพสต์นี้ โปรไฟล์ของเกิกเชจึงขยายตัวอย่างมาก และเขาได้บริการแก่คนดังและนักการเมืองมากมายจากทั่วโลก[9][10]
คำตอบรับ
[แก้]แม้ว่าจะมีชื่อเสียงในรัดับนานาชาติ คำวิจารณ์ระดับมืออาชีพช่วงแรกเกี่ยวกับร้านสเต็กในนครนิวยอร์กของเขาใน ค.ศ. 2018 มักเป็นไปในทางลบ[11][12] Steve Cuozzo จากนิวยอร์กโพสต์เรียกภัตตาคารของเขาเป็น "ขูดเลือดขูดเนื้อต่อสาธารณรชนอันดับ 1" (Public Rip-off No. 1) และ Joshua David Stein ที่เขียนใน GQ กล่าวถึงสเต็กว่าธรรมดาและแฮมเบอร์เกอร์สุกเกินไป[11] นักวิจารณ์คนอื่นกล่าวถึงอาหารของเขาว่า "ใส่เกลือเยอะเกินไปเพราะราคาแพงเกิน"[13] "เนื้อแข็งมีก้อนไขมันกับกระดูกอ่อน และขาดรสชาติอย่างมาก"[14] และ "การรับประทานอาหารที่นั่นถือเป็นการเอาชนะร่างกายและสัญชาตญาณและปากของคุณเองเป็นการส่วนตัว"[15] ผู้วิจารณ์อธิบายประสบการณ์การรับประทานอาหารว่า "ราคาแพงเกิน"[10][16]
อย่างไรก็ตาม สำหรับด้านการบันเทิง ผู้วิจารณ์มีความเห็นเชิงบวกมากกว่า[17] 's Robert Sietsema จาก Eater ระบุว่า "หากคุณตั้งใจที่จะตัดสินว่า Nusr-Et สาขาใหม่ในนิวยอร์กเป็นเพียงร้านสเต็กเท่านั้น คุณอาจจะผิดหวัง . . แต่หากคุณประเมินสถานที่นี้เป็นโรงละครสำหรับอาหารค่ำ คุณจะพบว่ามันน่าพอใจ—แต่เฉพาะในกรณีที่ Salt Bae อยู่ในบ้าน"[17]
ข้อโต้แย้ง
[แก้]ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 เกิกเชถูกวิจารณ์จากภาพถ่ายใน ค.ศ. 2016 ที่เขาได้โพสท่าเลียนแบบรูปถ่ายของอดีตประธานาธิบดี ฟิเดล กัสโตร ของคิวบา[18] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 Týnuš Třešničková คนดังในอินเทอร์เน็ตชาวเช็ก กลายเป็นเหยื่อของการแสดงไฟที่ล้มเหลวในร้านสเต็ก Nusr-Et ที่อิสตันบูล ทำให้เกิดรอยไหม้บนพื้นที่ร่างกายทั้งหมด 35% แขกคนอื่น ๆ อีกหลายคนก็เผชิญกับการถูกไฟไหม้ตามร่างกายที่ไม่ร้ายแรงเช่นกัน[19] ในเดือนเดียวกัน เกิดเชถูกมาร์โก รูบิโอ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ และสภานครไมแอมี วิจารณ์ตัวเขาหลังประธานาธิบดี นิโกลัส มาดูโร แห่งเวเนซุเอลา มาทานอาหารที่ร้านอาหารของเขาในอิสตันบูล[20][21]
ในช่วงปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสั่งปิดภัตตาคารของเขาที่บอสตันหลายวันหลังจากเปิดไป เนื่องจากละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยจากโควิด-19[22] โดยกลับมาเปิดใหม่ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020[23] จากนั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 เกิกเชถูกสื่ออังกฤษตรวจสอบเรื่องเงินค่าอาหาร 37,000 ปอนด์ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งของเขาในสหราชอาณาจักร[24][25]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 หลังการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศระหว่างอาร์เจนตินากับฝรั่งเศส เกิกเชกลายเป็นจุดสนใจต่อการวิจารณ์ทางออนไลน์อีกครั้งหลังจากเข้าร่วมกับผู้เล่นชาวอาร์เจนตินาในสนามหลังการแข่งขัน รบกวนผู้เล่น กัดเหรียญของผู้เล่น และแม้แต่จับถ้วยรางวัล ซึ่งเป็นท่าทางที่สงวนไว้สำหรับผู้ชนะและประมุขแห่งรัฐ[26] นั่นทำให้ทางฟีฟ่าเริ่มการสอบสวนการกระทำของเกิกเชในรอบชิงชนะเลิศ[27][28]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เกิกเชมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานการกุศล เช่น สร้างโรงเรียนในบ้านเกิดที่แอร์ซูรุม[29] ตามโพสต์โซเชียลมีเดียที่แชร์บนอินสตาแกรมโดยเกิกเชรายงานว่า เขาได้สร้างห้องสมุด เกสต์เฮาส์ มัสยิด ศูนย์การศึกษาภาษาอังกฤษ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในบ้านเกิดของเขา[30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nusret memleketine bakın ne yaptırdı!". www.cumhuriyet.com.tr (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
- ↑ Kurdê Erzîromê Nûsret di cîhanê de deng vedaye (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-11-30
- ↑ "Rudaw, Nusret'in ailesiyle röportaj yaptı". Ensonhaber.com. 12 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ 4.0 4.1 "Nusret hayat hikayesi". Aksam.com.tr. 7 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "Nusret Gökçe kimdir?". Hurriyet.com.tr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "Nusret restaurant to open at Four Seasons Dubai - What's On". What's On Dubai. 11 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2018. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "Nusr-Et Home". Nusr-Et. 6 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Instagram post by Nusr_et#Saltbae • Jan 7, 2017 at 10:44am UTC". Instagram. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
- ↑ Tsuji, Alysha (14 February 2017). "Simone Biles happily had food seasoned by 'the one and only' Salt Bae at Laureus Awards". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 December 2018.
- ↑ 10.0 10.1 Del Valle, Gaby (20 September 2018). "Why is Marco Rubio tweeting about Salt Bae?". Vox. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- ↑ 11.0 11.1 Salt Bae Officially Goes Too Far เก็บถาวร 30 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Clint Rainey, 25 January 2018
- ↑ "Reviews Trash Salt Bae's New Restaurant, Calls His Food 'Bland and Boring'" เก็บถาวร 28 มกราคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Complex, Sajae Elder, 26 January 2018
- ↑ "You created Salt Bae, and now you have to eat his nasty food". Time Out. February 6, 2018.
- ↑ "My Disappointing Meal at Salt Bae's NYC Restaurant Cost $1,400". www.observer.com. January 26, 2018.
- ↑ "The Salt Bae Guy Has A New Restaurant In New York. It's Not Good". www.buzzfeednews.com. March 2, 2020.
- ↑ Salt Bae Could Be Planting His Second NYC Restaurant Near Union Square เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Carla Vianna, Eater, 18 December 2018
- ↑ 17.0 17.1 Burton, Monica (6 February 2018). "What the Critics Are Saying About Salt Bae's NYC Restaurant". Eater. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- ↑ Frias, Carlos (3 December 2017). "'Salt Bae' caught posing as Fidel Castro — and he just opened a Miami restaurant". The Miami Herald (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 December 2018.
- ↑ "Five injured during a fire show in restaurant of 'Salt Bae' in Istanbul". Ahval. Istanbul. 28 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-22. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
- ↑ Haag, Matthew (18 September 2018). "Salt Bae Serves Maduro as Venezuela Suffers". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.
- ↑ "'It's a disgrace:' Miami lawmakers condemn 'Salt Bae' over serving Venezuela's Maduro". The Miami Herald (ภาษาอังกฤษ). 27 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
- ↑ "Restaurant opened by 'Salt Bae' in Boston closed for virus violations". Boston.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
- ↑ Kuschner, Erin (1 October 2020). "Salt Bae's restaurant has reopened. Here's what to know about its first two weeks in business". Boston.com. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
- ↑ Cooper, Leonie (15 October 2021). "Salt Bae scandal: £37k bills & (allegedly!) deleting bad reviews". Time Out London. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
- ↑ Gregory, Ruby; Tesia, Ria; Ford, Gregory (2021-10-15). "Eye-watering £37k bill for steak and chips at posh restaurant". HullLive. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
- ↑ King, Kieran (19 December 2022). "Salt Bae slammed for breaking FIFA World Cup trophy rules and pulling Rihanna stunt". Daily Mirror.
- ↑ "World Cup 2022: Fifa investigating Salt Bae's 'undue access' to pitch after final". BBC. 22 December 2022.
- ↑ "FIFA investigating how celebrity chef got onto World Cup final pitch". CNN. 23 December 2022.
- ↑ "Nusret Gökçe, külliyeden sonra şimdi de okul yaptırıyor köyüne". Posta.com.tr. 8 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2019. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
- ↑ "Nusret doğduğu köyü paylaştı: Nereden geldiğini unutma!". hthayat.haberturk.com (ภาษาตุรกี). 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- It’s All About the Elbow story by Nimrod Kamer, October 2, 2021 Air Mail (magazine)